วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วิชา การอ่านแผนที่และการใช้เข็มทิศ

วิชา การอ่านแผนที่และการใช้เข็มทิศ
๑. การอ่านพิกัดกริดทางทหารในระบบยูทีเอ็ม ถ้าอ่านพิกัดเป็นตัวเลข ๖ ตัว จะอ่านได้ใกล้เคียงเท่าใด
ก. ๑๐ เมตร ข. ๑๐๐ เมตร
ค. ๑,๐๐๐ เมตร ง. ๑๐,๐๐๐ เมตร
๒. การแบ่งโซนในระบบยูทีเอ็มจะแบ่งออกได้เป็นเท่าไร
ก. 40 โซน ข. 60 โซน
ค. 80 โซน ง. 120 โซน
๓. แต่ละกริดโซนมีความกว้างและความยาวเท่าใด
ก. 3 องศา x 5 องศา ข. 5 องศา x 15 องศา
ค. 6 องศา x 8 องศา ง. 8 องศา x 10 องศา
๔. การอ่านพิกัดกริดทางทหารในระบบยูทีเอ็มจะอ่านดังนี้
ก. อ่านไปทางขวาแล้วขึ้นบน ข. อ่านไปทางซ้ายแล้วขึ้นบน
ค. อ่านไปทางขวาแล้วลงล่าง ง. อ่านไปทางซ้ายแล้วลงล่าง
๕. เส้นที่ลากรอบโลกจากทางตะวันตกไปทางตะวันออกรอบโลก คือเส้นอะไร
ก. เส้นอีเควเตอร์ ข. เส้นเมอริเดียน
ค. เส้นละติจูดตะวันออก ง. เส้นละติจูดตะวันตก
๖. การตั้งเข็มทิศในเวลากลางคืนเมื่อไม่มีแสงสว่างจะต้องตั้ง 3 อย่างให้ตรงกัน คือ
ก. ดรรชนีสีดำ ลูกศร เส้นเล็ง ข. ดรรชนีสีดำ พรายน้ำ ลูกศร
ค. ดรรชนีสีดำ ช่องเล็ง เส้นเล็ง ง. ดรรชนีสีดำ เส้นเล็ง พรายน้ำ
๗. หากวัดมุมภาคทิศเหนือได้ 135 องศา มุมกลับหรือมุมตรงกันข้าม คือมุมอะไร
ก. 315 องศา ข. 45 องศา
ค. 351 องศา ง. 54 องศา
๘. เครื่องหมายหน่วยทหารขนส่ง คือ
ก. â ข.
ค. ง.
๙. การผสมเครื่องหมาย กองพันทหารม้าที่ 2 กรมทหารม้าที่ 4 เขียนได้ดังนี้
ก. ๒ ๔ ข. ๒ ๔
ค. ๔ ๒ ง. ๒ ๔
๑๐. เครื่องหมายกับระเบิด แสดงได้ดังนี้
ก. ข.
ค. ง.
๑๑. เครื่องหมายต่อไปนี้ คืออะไร
ก. ขบวนรถสายพาน ข. ขบวนรถไฟ
ค. ขบวนรถถัง ง. ขบวนสัมภาระ
๑๒. สัญลักษณ์วัดมีโบสถ์ จะเขียนเป็นรูปอะไร
ก. ข.
ค. ง.

วิชา แบบธรรมเนียมทหาร
๑๓. กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นหน่วยขึ้นตรงกับหน่วยงานใด
ก. กองทัพบก ข. กองทัพเรือ ค. กระทรวงมหาดไทย ง. กระทรวงกลาโหม
๑๔. หน่วยงานสัสดีประจำเขต อำเภอ หรือจังหวัด เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อหน่วยงานใด
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. กระทรวงมหาดไทย ค. หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง ง. กรมกำลังพล
๑๕. ข้อใดคือหน้าที่ของกรมสารบรรณทหารบก
ก. ทำการควบคุมทางด้านการเงินของกองทัพบก
ข. ดำเนินการจัดกำลังพล กฎหมาย การฝึกและการศึกษาวิชาการเหล่าทหารสารบรรณ
ค. เตรียมอาวุธให้กับเหล่าทหารม้า
ง. เตรียมเอกสารให้กับกองบัญชาการทหารสูงสุด
๑๖. สถานการณ์ฉุกเฉินมีความหมายตรงกับข้อใด
ก. สถานการณ์ไม่ปกติ
ข. สถานการณ์ไฟไหม้ป่าสงวน
ค. สถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
ง. สถานการณ์ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
๑๗. ทหารมีอำนาจอะไรบ้างเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก
ก. ตรวจค้นตามมาตรา 9
ข. เกณฑ์พลเมืองและขบวนยานพาหนะตามมาตรา 10
ค. การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ตามมาตรา 14
ง. ถูกทุกข้อ
๑๘. ข้อใดคือข้อควรปฏิบัติของประชาชนในยามสงครามหรือยามฉุกเฉิน
ก. สมัครเข้ารับราชการทหาร
ข. ให้ความร่วมมือกับทางราชการ
ค. เสียสละทรัพย์สินสมบัติส่วนตัวสนับสนุนรัฐบาล
ง. ถูกทุกข้อ

วิชา การกำสังสำรอง
๑๙. กำลังทหารในกองทัพไทย ประกอบด้วยกำลัง ๒ ส่วนคือ
ก. กำลังประจำการ และกำลังกึ่งทหาร ข.กำลังประจำการและกำลังสำรอง
ค.กำลังประจำการและกลุ่มพลังมวลชนที่จัดตั้งแล้ว ง. ไม่มีข้อใดถูก
๒๐. ระบบการฝึกกำลังสำรองในปัจจุบันใช้ระบบใด
ก. ระบบการฝึกกำลังพลสำรอง ข. ระบบ ๑ : ๑ : ๑ : ๓
ค. ระบบ ๓ : ๓ : ๔ ง. ระบบการเรียกพล และระดมพล
๒๑. ระบบการฝึกศึกษากำลังพลสำรองเพื่อเลื่อนยศ และเลื่อนฐานะกำลังพลสำรองผู้มีคุณสมบัติและได้รับอนุมัติให้
เข้ารับการฝึกแล้ว จะไปทำการฝึกที่ใด
ก. ศูนย์ฝึก หรือหน่วยฝึก ข. รร. กสร.ศสร.
ค. รร.รด.ศสร. ง. โรงเรียนของเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพบก
๒๒. ระบบการบรรจุและการใช้กำลังพลสำรอง มีหลักการใช้อย่างไร
ก. ใช้เสริมกำลังกองประจำการ ข. ใช้ทดแทนกำลัง
ค. ใช้ขยายกำลังและจัดตั้งหน่วยใหม่ ง. ถูกทุกข้อ

วิชา ครูทหารผู้นำ
๒๓. ผลลัพธ์ของการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คืออะไร
ก. ผลการเรียนของนักเรียน ข. ระดับความรู้ของนักเรียน
ค. การเรียนในแต่ละบทเรียน ง. ความขยันของนักเรียน
๒๔. ประเภทการเรียนของนักเรียน แบ่งได้ ๓ ประเภทดังนี้
ก. ความรู้ , ความเชี่ยวชาญ , ความขยัน
ข. ความรู้ , ความเข้าใจ , ความเชี่ยวชาญ
ค. ความรู้ , ทักษะ , ทัศนคติ
ง. ความรู้ , ทักษะ , อุดมการณ์
๒๕. กระบวนการสอนแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท อะไรบ้าง
ก. การสอน , การเรียน , การสอบ
ข. การสอน , การวิเคราะห์ , การประมวลผล
ค. การสอน , ผู้สอน , ผู้เรียน
ง. การสอน , การปฏิบัติ , การประเมินผล
๒๖. หลักการสอนมีจำนวนทั้งหมดเท่าใด
ก. ๕ ประการ ข. ๖ ประการ ค. ๗ ประการ ง. ๑๐ ประการ
๒๗. การเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ จำต้องมีการประเมินผล หลักสำคัญในหัวใจของการประเมินผล คือสิ่งใด
ก. การบันทึก ข. การจำ
ค. การให้ความรู้เพิ่มเติม ง. การสังเกตุ
๒๘. กรรมวิธีในการแก้ปัญหาความเป็นผู้นำ มีประเภทอะไรบ้าง
ก. ๒ ประเภท คือ วินัยและขวัญ
ข. ๓ ประเภท คือ การรับรู้ปัญหา , ประมาณสถานการณ์ , ปฏิบัติการ
ค. ๓ ประเภท คือ วินัย , ขวัญ , การปฏิบัติการ
ง. ๔ ประเภท คือวินัย , ประมาณการ , ปฏิบัติการ , ประมวลผล

วิชา ฝ่ายอำนวยการ
๒๙. ฝ่ายอำนวยการแบ่งออกกี่ประเภท
ก. ๒ ประเภท ข. ๓ ประเภท ค. ๔ ประเภท ง. ๕ ประเภท
๓๐. หน้าที่หลักของฝ่ายอำนวยการมีอะไรบ้าง
ก. การให้ข่าวสาร , ประมาณการ , เสนอแนะ
ข. วางแผน , ประสานงาน , กำกับดูแล
ค. การให้ข้อเสนอแนะ , กำกับดูแล
ง. การทำแผนและคำสั่ง , กำกับดูแล
๓๑. การจัดระเบียบสำนักงานในหน่วย ( กรม ) เป็นหน้าที่ของฝ่ายอำนวยการใด
ก. ฝอ.๑ ข. ฝอ.๒ ค. ฝอ.๓ ง. ฝอ.๔
๓๒. นายทหารที่มีหน้าที่เสนอแนะผู้บังคับบัญชา เพื่อที่จะให้ผู้บังคับบัญชา ในระดับกองพันและกรม ได้ข้อตกลงใจ
เรียกว่าอะไร
ก. เสนาธิการ ข. ฝ่ายอำนวยการ
ค. ฝ่ายยุทธการ ง. ถูกทุกข้อ
๓๓. ลักษณะพึงประสงค์ของแผนกฝ่ายอำนวยการ เป็นอย่างไร
ก. สามารถทำงานในหน้าที่ได้ทั้งหมด ข. อ่อนตัว
ค. ทำงานได้ ๒๔ ชั่วโมง ง. ถูกทุกข้อ
๓๔. หัวหน้าฝ่ายอำนวยการระดับกองพัน คือ
ก. ผบ.พัน. ข. รอง ผบ.พัน.
ค. ฝอ.๑ ง. ฝอ.๓

วิชา สงครามพิเศษ
๓๕. ภารกิจหลักของหน่วยรบพิเศษมีกี่ประการ
ก. ๕ ประการ ข. ๖ ประการ
ค. ๗ ประการ ง. ๘ ประการ
๓๖. กิจกรรมหลักของการปฏิบัติการพิเศษ
ก. สงครามนอกแบบ ข. การปฏิบัติการจิตวิทยา
ค. การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ ง. ถูกทุกข้อ
๓๗. การกระทำเพื่อมุ่งทำลายความเข้มแข็งทางทหาร เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และการเมืองของชาตินั้น เรียกว่าอะไร
ก. สงครามกองโจร ข. การเล็ดลอดหลบหนี
ค. การบ่อนทำลาย ง. การก่อวินาศกรรม
๓๘. ข้อใดไม่ใช่ ลักษณะของสงครามนอกแบบ
ก. สงครามกองโจร ข. การบ่อนทำลาย
ค. การก่อวินาศกรรม ง. การค้นคว้าและกู้ภัย
๓๙. การกระทำเพื่อทำอันตรายหรือขัดขวางการป้องกันชาติด้วยการก่อให้เกิดความเสียหายสถานที่ตั้ง หรือสิ่งอำนวย
ความสะดวกรวมทั้งทรัพยากรมนุษย์เรียกว่า
ก. การบ่อนทำลาย ข. การก่อวินาศกรรม
ค. สงครามกองโจร ง. การก่อการร้าย
๔๐. กิจกรรมที่ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ทางทหาร และบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายออกจาก
ดินแดนที่ถูกข้าศึกยึดครองไปยังพื้นที่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายเรา เรียกว่า
ก. การเล็ดลอด-หลบหนี ข. การบ่อนทำลาย
ค. การปฏิบัติการลับ ง. ไม่มีข้อถูก
๔๑. การปฏิบัติการโดยตรงเป็นการปฏิบัติงานในระยะสั้นๆ ในเรื่องใดบ้าง
ก. การตีโฉบฉวย, ซุ่มโจมตี ข. การวางทุ่นระเบิด
ค. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๒. ภารกิจของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ คืออะไร
ก. วางแผนอำนวยการ,กำกับการ และปฎิบัติเกี่ยวกับการปฎิบัติการพิเศษ
ข. วางแผนอำนวยการ,ประสานงาน, กำกับการปฎิบัติการเกี่ยวกับการปฎิบัติการพิเศษ
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
ง. ไม่มีข้อถูก
๔๓. กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ( ฉก.๙๐) จัดอยู่ในหน่วยใด
ก. รพศ. ๑ ข. รพศ. ๓
ค. รพศ. ๔ ง. รพศ. ๕
๔๔. ภารกิจของกองพันปฏิบัติการข่าวมีอะไรบ้าง
ก. ปฏิบัติการด้านข่าวกรอง ข. การต่อต้านข่าวกรอง
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๕. สงครามนอกแบบเป็นส่วนหนึ่งของสงครามพิเศษ ซึ่งกระทำในพื้นที่ส่วนหลังของฝ่ายรุกรานเป็นการต่อสู้ที่
กว้างขวางลึกซึ้ง มีลักษณะเป็นการปฏิบัติการลับ การปฎิบัติการปกปิดและเปิดเผยฉะนั้นรูปแบบของสงคราม
จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ก. การรบแบบกองโจร ข. การเล็ดลอดหลบหนี
ค. การบ่อนทำลาย ง. ถูกทุกข้อ
๔๖. ความรับผิดชอบในการดำเนินการสงครามนอกแบบข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก. ผบ.ทบ.เป็นผู้กำหนด
ข. กองทัพบกเป็นผู้ดำเนินการปฏิบัติการสงครามนอกแบบ
ค. ศูนย์สงครามพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบ
ง. ที่กล่าวถูกทุกข้อ
๔๗. เจ้าหน้าที่ของหน่วยรบพิเศษควรจะต้องผ่านหลักสูตรอะไรบ้าง
ก. จู่โจม , ส่งทางอากาศ
ข.การปฏิบัติการทางจิตวิทยา
ค. สงครามนอกแบบ และการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์
ง. ถูกทุกข้อ
๔๘. ผู้เล็ดลอดคือ ใคร
ก. ผู้ที่ถูกตัดขาดอยู่หน้าแนวข้าศึก ข. ผู้ที่ถูกตัดขาดอยู่หลังแนวข้าศึก
ค. ผู้ที่ถูกควบคุมอยู่หลังแนวข้าศึก ง. ผู้ที่ถูกควบคุมอยู่หน้าแนวข้าศึก
๔๙. การจัดระบบการเล็ดลอดหลบหนี ประกอบด้วยส่วนปฏิบัติการกี่ส่วน
ก. ๒ ส่วน ข. ๓ ส่วน
ค. ๔ ส่วน ง. ๕ ส่วน
๕๐. การบ่อนทำลายด้านสังคมมุ่งหมายกระทำสิ่งใด
ก. สถาบันครอบครัว ข. ศาสนา
ค. ขนบธรรมเนียมประเพณี ง. ถูกทุกข้อ
๕๑. การปฏิบัติโดยตรง เป็นการปฏิบัติการในลักษณะใด
ก. เป็นการปฏิบัติการในระยะสั้น ๆ เชิงรุกด้วยกำลังรบขนาดเล็ก
ข. เป็นการปฏิบัติการในระยะสั้น ๆ เชิงรุกด้วยกำลังรบขนาดกลาง
ค. เป็นการปฏิบัติการในระยะสั้น ๆ เชิงรับด้วยกำลังรบขนาดเล็ก
ง. เป็นการปฏิบัติการในระยะสั้น ๆ เชิงรับด้วยกำลังรบขนาดกลาง

๕๒. การปฏิบัติค้นหาและการกู้ภัยทางทหาร มีหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ และใครเป็นผู้มอบภารกิจให้ปฏิบัติ
ก. นสร. , ผบ.นสร. ข. นสศ. , ผบ.ทบ.
ค. ศสร. , ผบ.ศสร. ง. ทร. , ผบ.ทร.
วิชา ปืนพก ๘๖
๕๓.ปืนพก ๘๖ จัดเป็นอาวุธประจำกาย ที่มีน้ำหนักเบา ใช้ง่าย คล่องตัว มีความกว้างปากลำกล้องเท่าไร
ก. ๑๑ มม. ข. ๙ มม. ค. ๖ มม. ง. ๔๕ นิ้ว
๕๔. ปืนพก ๘๖ ทำการยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ เป็นอาวุธประจำกายของพลยิงอาวุธประจำหน่วย ป้อนกระสุนด้วยซอง
กระสุน ซึ่งบรรจุได้กี่นัด
ก. ๑๐ นัด ข. ๙ นัด ค. ๗ นัด ง. ๑๕ นัด
๕๕. ปืนพก ๘๖ เป็นอาวุธที่มีขนาดน้ำหนักเบา สำหรับป้องกันตัวของพลยิงอาวุธประจำหน่วยต่างๆ ปืนพก ๘๖
เป็นอาวุธประจำกายของตำแหน่งอะไร
ก. พลยิง ค. เอ็ม ๒๐๓ ข. พลยิงผู้ช่วย ค.๘๑ ค. พลยิงผู้ช่วย ปก.เอ็ม ๖๐ ง. พลยิง ปก.เอ็ม ๖๐
๕๖. ปืนพก ๘๖ มีระยะยิงหวังผลเท่าไร
ก. ๒๕ เมตร ข. ๕๐ เมตร
ค. ๑๐๐ เมตร ง. ๑,๕๐๐ เมตร

วิชาเหล่าทหารปืนใหญ่
วิชายุทธวิธีทหารปืนใหญ่
๕๗. ข้อใดไม่ใช่การมอบภารกิจทางยุทธวิธีแบบมาตรฐานใดแบบหนึ่งในการระบุความรับผิดชอบใน
การยิงสนับสนุน ๗ ประการให้แก่ หน่วย ป. ที่ได้รับมอบ
ก. การจัดลำดับความเร่งด่วนของภารกิจยิง ข. การจัดผู้ตรวจการณ์
ค. การกำหนดที่ตั้งยิง ง. การกำหนดแผนทางการส่งกำลังบำรุง
๕๘. การติดต่อทหารปืนใหญ่แบ่งออกเป็น ๓ วิธี อยากทราบว่าข้อใดไม่เกี่ยวข้อง
ก.การติดต่อทางการบังคับบัญชา
ข. การติดต่อทางพลนำสาร
ค. การติดต่อด้วยนายทหารติดต่อ และนายทหารการยิงสนับสนุน
ง. การติดต่อฝ่ายอำนวยการ
๕๙. ภารกิจทางยุทธวิธีแบบมาตรฐานของหน่วยทหารปืนใหญ่มีกี่ แบบ อะไรบ้าง
ก. ๓ แบบ คือ ภารกิจช่วยโดยตรง ( ชต.), ภารกิจเพิ่มเติมกำลังยิง ( พย.),ภารกิจช่วยส่วนรวม -
เพิ่มเติมกำลังยิง (ชร. – พย.)
ข. ๓ แบบ คือ ภารกิจช่วยโดยตรง ( ชต.),ภารกิจช่วยโดยตรง – เพิ่มเติมกำลังยิง (ชต. – พย.)
ภารกิจช่วยส่วนรวม ( ชร.)
ค. ๔ แบบ คือ ภารกิจช่วยโดยตรง ( ชต.), ภารกิจเพิ่มเติมกำลังยิง ( พย.),ภารกิจช่วยส่วนรวม –
เพิ่มเติมกำลังยิง (ชร. – พย.),ภารกิจช่วยส่วนรวม ( ชร.)
ง. ๔ แบบ คือ ภารกิจช่วยโดยตรง ( ชต.), ภารกิจเพิ่มเติมกำลังยิง ( พย.),ภารกิจช่วยโดยตรง +
เพิ่มเติมกำลังยิง (ชต. – พย.),ภารกิจช่วยส่วนรวม ( ชร.)

๖๐. ในการวางแผนโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธยิงสนับสนุนของทหารปืนใหญ่สนามนั้นเพื่อต้องการให้กำลังพลและ
ยุทโธปกรณ์ของข้าศึกสูญเสียเกินกว่า ๓๐ % คืออะไร
ก. ยิงข่ม ข. ยิงตัดรอนกำลัง
ค. ยิงรบกวน ง. ยิงทำลาย
๖๑. ข้อใดคือคำจำกัดความของภารกิจ การยิงตัดรอนกำลัง
ก. การกำจัด หรือลดขีดความสามารถของข้าศึกในการปฏิบัติงานลง
ข. การยิงเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เป้าหมายประมาณ ๑๐% ขึ้นไปซึ่งจะทำให้หน่วยนั้นๆไม่อาจรบ
ต่อไปได้จนกว่าจะได้เพิ่มเติมกำลังหรือทดแทนยุทโธปกรณ์
ค. การยิงเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เป้าหมายประมาณ ๑๐% ขึ้นไปซึ่งจะทำให้หน่วยนั้นๆไม่อาจจะ
ใช้รบได้อีกต่อไปเป็นการถาวร
ง. ถูกทุกข้อ
๖๒. ข้อใดไม่ใช่พันธกิจของทหารปืนใหญ่
ก. สนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธด้วยการส่งกำลังบำรุงอย่างใกล้ชิด,ต่อเนื่องและทันเวลา
ข. ทำการยิงต่อต้าน ป.และระบบ คปม.ของ ขศ.
ค. ย้ายยิง รวมอำนาจการยิงได้อย่างรวดเร็ว
ง. เพิ่มความลึกในสนามรบ
๖๓. ภารกิจทางยุทธวิธีใดควบคุมแบบรวมการต่ำที่สุด
ก. ช่วยโดยตรง ข. เพิ่มเติมกำลังยิง
ค. ช่วยส่วนรวม-เพิ่มเติมกำลังยิง ง. ช่วยส่วนรวม
๖๔. คำว่า “ช่องยิงเร็ว” ใช้กับภารกิจใด
ก. ช่วยโดยตรง ข. เพิ่มเติมกำลังยิง
ค. ช่วยส่วนรวม-เพิ่มเติมกำลังยิง ง. ช่วยส่วนรวม
๖๕. พัน.ป. ที่รับภารกิจใดจะได้รับความเร่งด่วนในการเข้าที่ตั้งยิงเป็นลำดับแรก
ก. ชต. ข. พย.
ค. ชร.-พย. ง. ชร.
๖๖. การอำนวยการให้การใช้ ป. เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักนิยมการรบของฝ่ายเรา คือหน้าที่ของระบบใด
ก. การค้นหาเป้าหมาย ข. การอำนวยการยิง
ค. อาวุธ-กระสุน ง. การควบคุมบังคับบัญชา

วิชาส่วนยิง
๖๗. มุมเยื้องประจำคือ มุมทางระดับวัดเวียนตามเข็มนาฬิกาจาก
ก. ทิศเหนือจริง ไปยัง ทิศเหนือเข็มทิศ ข. ทิศเหนือจริง ไปยัง ทิศเหนือตาราง
ค. ทิศเหนือเข็มทิศ ไปยัง ทิศเหนือจริง ง. ทิศเหนือตาราง ไปยัง ทิศเหนือเข็มทิศ
๖๘. แนวแสดงมุมภาคนั้นเป็นแนวที่ใช้เป็นทิศทางอ้างสำหรับการตั้ง ป.ตรงทิศ การตั้ง ป.ตรงทิศ ด้วย วิธีใด
จำเป็นต้องใช้แนวแสดงมุมภาค
ก. มุมทิศ ข. มุมภาคตาราง
ค. มุมตรงทิศ ง. ที่หมายเล็งไกล
๖๙. เมื่อใช้กล้องกองร้อยโดยต้องใช้เข็มทิศภายในกล้อง จะต้องตั้งกล้องให้ห่างจาก ป.กลาง และ ป.หนัก ระยะเท่าไร
ก. ๑๐๕ เมตร ข. ๗๕ เมตร
ค. ๖๐ เมตร ง. ๔๐ เมตร
๗๐. การปรับเส้นเล็ง กระทำเพื่ออะไร
ก. แกนเส้นเล็ง ได้ระดับกับเพลาปืน
ข. แกนเส้นเล็งของกล้องเล็งขนานกับแกนหลอดลำกล้องปืน
ค. แกนเส้นเล็ง และแกนหลอดลำกล้องปืนได้แนวขนานกับมาตรฐานที่กำหนด
ง. ที่กล่าวมาถูกทุกข้อ
๗๑. การปักหลักเล็งคือการสร้างที่หมายเล็งขึ้นเพื่อใช้ในการอ้างทิศทางให้กับปืนโดยปกติแล้วจะปักหลักเล็ง ๒
หลัก อยากทราบว่าหลักเล็งอันไกลจะห่างจากปืนเท่าใด
ก.ห่างเป็นสองเท่าของหลักเล็งอันใกล้ ข. ห่างจากอันใกล้ประมาณ ๑๐๐ เมตร
ค.ประมาณ ๔- ๖ เมตร ง. ประมาณ ๒,๕๐๐ เมตร
๗๒. องค์ประกอบของคำสั่งยิงใช้เพื่อเป็นหลักฐานที่จำเป็นที่จะต้องประกาศให้หมู่ปืนทำการยิงหรือหยุดยิง
อยากทราบว่าองค์ประกอบใดจะประกาศเป็นคำสั่งสุดท้าย
ก. มุมยิง ข. มุมทิศ
ค. กระสุน ง. ส่วนบรรจุ
๗๓. จงอธิบายความหมายของ มุมภาค
ก. มุมที่เกิน ๘๐๐ มิลเลียม
ข. มุมทางระดับวัดเวียนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือไปยังแนวพิจารณา
ค. มุมตั้งแต่ ๖,๔๐๐ มิลเลียม
ง. มุมเกินกว่า ๓,๒๐๐ มิลเลียม
๗๔. ถ้ากองร้อย ป.ขนาด ๑๐๕ มม. ออกทำการฝึกโดยใช้ปืน ๔ หมู่ และได้รับภารกิจยิงเป็นลักษณะของกรวยเปิด
อยากทราบว่าความกว้างของกรวยเปิดที่ยิงไปนั้นจะเป็นเท่าใด
ก. ๙๐ เมตร ข. ๑๐๐ เมตร
ค. ๑๒๐ เมตร ง. ๑๕๐ เมตร
๗๕. มุมภาคทิศทางยิงเท่ากับ ๔,๒๒๐ มิลเลียม ถ้าเป้าหมายเกิดขึ้นในทิศทางกลับกันมุมภาคทิศทางยิงใหม่จะเท่าใด
ก. ๑,๐๒๐ มิลเลียม ข. ๑,๕๐๐ มิลเลียม
ค. ๒,๐๐๐ มิลเลียม ง. ๒,๕๐๐ มิลเลียม
๗๖. ที่หมายเล็งใกล้ที่นิยมใช้มี ๒ ชนิด คือ
ก. หลักเล็งไกล,หลักเล็งใกล้ ข. หลักเล็ง,กล้องกองร้อย
ค. กล้องคอลลิมิเตอร์,หลักเล็ง ง. กล้องคอลลิมิเตอร์,กล้องกองร้อย
๗๗. การตั้งปืนตรงทิศ วิธีใดถูกต้องมากที่สุด
ก. ที่หมายเล็งไกลและตรงทิศ ข. วิธีมุมตรงทิศ
ค. วิธีหมายแนวลำกล้องปืน ง. วิธีการใช้การยิงแตกอากาศสูง
๗๘. กรวยพื้นยิงคือตำบลระเบิดทางข้างของปืนตั้งแต่ ๒ กระบอกขึ้นไป ทำการยิงร่วมกันซึ่งจัดไว้ เพื่อให้ดูรูปแบบ
ของตำบลระเบิดที่ต้องการได้แก่ กรวยขนานคู่ กรวยปิด กรวยเปิด และกรวยพิเศษข้อใดกล่าวถึงกรวยขนานคู่
ก.ตำบลระเบิดต่าง ๆ จะมีระยะเคียงระหว่างนัดเช่นเดียวกับระยะเคียงระหว่างปืน
ข. ตำบลระเบิดต่าง ๆ จะรวมกันที่จุดเดียวกัน
ค. ตำบลระเบิดต่าง ๆ จะมีระยะเคียงระหว่างนัดเช่นเดียวกับรัศมีระเบิดของขนาดกระสุน
ง. ไม่มีข้อถูก
๗๙. อุปกรณ์ใดที่ไม่ใช้ในการตั้งปืนตรงทิศ
ก. กล้องกองร้อย ข. เข็มทิศ M.๒
ค. ที่หมายเด่นที่อยู่ไกล ๆ ง. กล้องคอลลิมิเตอร์

๘๐. ระยะห่างที่เหมาะสมในการตั้งยิงปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มม. คือข้อใด
ก. ๑๐ เมตร ข. ๑๐๐ เมตร
ค. ๓๐ เมตร ง. ๗๕ เมตร
๘๑. ทิศเหนือเป็นทิศหลักที่ใช้อ้างทิศทางในการกำหนดที่อยู่บนพื้นโลกหรือบนแผนที่มีด้วยกัน ๓ ทิศ คือ
ทิศเหนือจริง ทิศเหนือตาราง ทิศเหนือเข็มทิศ อยากทราบว่าทิศเหนือที่ชี้ไปยังทางเหนือของ
เส้นตารางบนแผนที่หรือกระดาษตารางคือทิศเหนืออะไร
ก. ทิศเหนือจริง ข. ทิศเหนือตาราง
ค. ทิศเหนือเข็มทิศ ง. ไม่มีข้อถูก

วิชาการปรับการยิงปืนใหญ่
๘๒. จากการที่ นศท. ได้ศึกษาวิชาปรับการยิงแล้ว ผู้ตรวจการณ์หน้าเปรียบเสมือนอวัยวะใดในร่างกาย
ก. แขน ข. ขา
ค. สมอง ง. ดวงตา
๘๓. ในหมู่ตรวจการณ์หน้า ประกอบด้วยกำลังพล ๔ นาย เมื่อได้รับภารกิจ ป.ชต.ต้องจัดไปประจำที่ใด
ก. ที่ตรวจการณ์ ข. ศูนย์อำนวยการยิง
ค. กองร้อยดำเนินกลยุทธ ง. กรมทหารราบหรือม้า
๘๔. การกรุยโปร์ล่ามีวิธีการดำเนินการคือ
ก. กำหนดจุดที่อยู่บนแผนที่แล้ววัดระยะและมุมภาคตามที่ทราบ
ข. การใช้กฏ กผร.โดยใช้มุมทางข้างคูณด้วยแฟคเตอร์ ตม.
ค. วัดมุมทางข้างแล้วคำนวณหาระยะ
ง. ไม่มีข้อถูก
๘๕. มุมภาคจากผู้ตรวจการณ์ไปเป้าหมาย หมายถึงมุมอะไร
ก. มุมทางระดับที่วัดจากทิศเหนือไปยังเป้าหมาย
ข. ง่ามมุมเล็กระหว่างทิศเหนือผู้ตรวจการณ์กับขั้วโลกเหนือ
ค. มุมกลับที่บวก/ลบ ๓,๒๐๐ เรียบร้อยแล้ว
ง. แนวมุมภาคที่เกิดจากการที่ ผตน.ใช้กล้องส่องสองตาวัดและคำนวณ
๘๖. ในการวัดมุมของ ผตน.โดยใช้มือและนิ้วมืออยากทราบว่า นิ้วชี้มีค่ามุม เท่าไร
ก. ๑๐ มิลเลียม ข. ๒๐ มิลเลียม
ค. ๓๐ มิลเลียม ง. ๖๐ มิลเลียม
๘๗. ทหารปืนใหญ่ ใช้การตรวจการณ์มีความมุ่งหมาย ๔ ประการ คือ การค้นหาเป้าหมาย, ปรับการยิง, ตรวจผลการยิง,
เฝ้าตรวจสนามรบ อยากทราบว่าใน ร้อย.ปบค .ขนาด ๑๐๕ มม. มีการจัดผู้ตรวจการณ์หน้า จำนวนกี่หมู่
ก. ๑ หมู่ ข. ๒ หมู่
ค. ๓ หมู่ ง. ๔ หมู่
๘๘. การยิงหาหลักฐานประณีตนั้นผู้ตรวจการณ์หน้าเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดจุดยิง อยากทราบว่า
จะต้องใช้ปืนกี่กระบอกทำการยิง
ก. ๒ กระบอก ข. ๓ กระบอก
ค. ๑ กระบอก ง. ๖ กระบอก
๘๙. ผู้ตรวจการณ์หน้า เป็น ผปยส. ระดับใด
ก. กรมดำเนินกลยุทธ ข. กรมสนับสนุน
ค. กองพลดำเนินกลยุทธ ง. กองร้อยดำเนินกลยุทธ

๙๐. ผบ.พัน.ป.ชต. เป็น ผปยส. ระดับได
ก. กรมดำเนินกลยุทธ ข. กรมสนับสนุน
ค. กองพลเนินกลยุทธ ง. กองพันเฉพาะกิจ
๙๑. ระบบอาวุธและกระสุน ที่จะให้การสนับสนุนกับหน่วยดำเนินกลยุทธประกอบไปด้วย
ก. ปืนใหญ่สนามทั้ง ป.ลำกล้อง และจรวดต่างๆ ข. เครื่องยิงลูกระเบิด
ค. การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด ง. ถูกทุกข้อ
๙๒. เครื่องช่วยในการตรวจการณ์มีจำนวนมากได้แก่ หลักฐานเพิ่มเติมแผนที่ แผ่นพัดตรวจการณ์
การวัดมุมด้วยมือ แผนผังการเห็น เข็มทิศ ฯลฯ อยากทราบว่า แผ่นพัดตรวจการณ์ใช้สำหรับทำอะไร
ก. วัดมุม วัดระยะ กรุยพิกัด ในแผนที่ ข. วัดมุม วัดระยะ กรุยพิกัดบนภูมิประเทศ
ค. ใช้สำหรับตรวจการณ์ในเวลากลางคืน ง. ใช้สำหรับหาทิศเหนือบนภูมิประเทศ
๙๓. ผู้ทำหน้าที่ประสานการยิงสนับสนุนของระบบอาวุธ ต่าง ๆ ให้เข้ากับแผนดำเนินกลยุทธและเสนอแนะการจัด
แผนการใช้อาวุธยิงสนับสนุนแก่ ผบ. หน่วย กำลังรบระดับกองร้อยดำเนินกลยุทธ คือ
ก. ผบ.พัน.ป.ชต. ข . ผู้ตรวจการณ์หน้า
ค. ฝอ.๓ พัน.ปชต. ง. รอง ผบ.พัน.ป.
๙๔. กล้องส่องสองตาที่ใช้สำหรับการตรวจการณ์ ปรับการยิง ป. วัดมุมทางระดับ ทางดิ่ง จากจุดอ้างกล้องส่องสอง
ตามีประโยชน์อย่างยิ่งในการลาดตระเวน ตรวจการณ์ อยากทราบว่าถ้าวัดมุมทางข้างไปยังที่หมายได้ ๓๐
มิลเลียม ระยะจาก ผู้ตรวจการณ์หน้าไปยังที่หมาย ๒,๐๐๐ เมตร การย้ายทางข้างเป็นจำนวนเท่าใด
ก. ๓๐ คูณ แฟคเตอร์ ตม. ๒ เท่ากับ ๖๐ เมตร
ข. ๓๐ คูณ แฟคเตอร์ ตม. ๑ เท่ากับ ๓๐ เมตร
ค. ๓๐ คูณ ค่า sin แฟคเตอร์ ตม. เท่ากับ ๑๐๐ เมตร
ง. ๓๐ คูณ ค่า cos แฟคเตอร์ ตม. เท่ากับ ๑๖๐ เมตร
๙๕. ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ตรวจการณ์ตรวจพบกำลังทหารฝ่ายเดียวกันอยู่ใกล้กับเป้าหมายที่จะทำการยิงท่านจะต้อง
ระบุในองค์ประกอบคำขอยิงในส่วนของวิธีโจมตีเป้าหมายว่าอย่างไร
ก. อันตรายใกล้ฝ่ายเรา ข. การยิงรบกวน
ค. การยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย ง. ภารกิจอะไรก็ได้
๙๖. การกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย และหลักฐานเริ่มแรกก่อนที่จะยิงนั้นจำเป็นต้องใช้มาตรการที่ถูกต้องที่สุด
ทั้งนี้ก็ เพื่อให้อะไร
ก. ปลอดภัยคือฝ่ายเรา ข. ประหยัดกระสุน
ค. ประหยัดเวลา ,ยิงหาผลเร็ว ง. ถูกทุกข้อ

การติดต่อสื่อสาร
๙๗. การติดต่อสื่อสาร ในระดับกองร้อยทหารปืนใหญ่สนามนั้นความต้องการในการติดต่อสื่อสารภายใน
จัดตั้งเพื่อให้ผู้บังคับบัญชามีความสะดวกในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง
ก. อำนวยการยิง
ข. รับคำสั่งทางธุรการและทางยุทธวิธีจากหน่วยเหนือ
ค. รับข่าวสารแจ้งเตือนภัยแต่เนิ่นจากหน่วยเหนือ
ง. ไม่มีข้อถูก
๙๘. ความต้องการอันดับแรกในการติดต่อสื่อสารภายในของกองพันปืนใหญ่สนามคืออะไร
ก. การอำนวยการยิง ข. แลกเปลี่ยนข่าวสารจากหน่วยเหนือ
ค. รับข่าวแจ้งเตือนภัย ง. ประสานงานแผนที่

๙๙. ลำดับความเร่งด่วนในการวางสายโทรศัพท์เมื่อกองร้อยทหารปืนใหญ่สนามเข้าที่ตั้งเรียบร้อยแล้วได้แก่
ก. วางสายไปยังวงรอบการระวังป้องกันเป็นอันดับแรก
ข. วางไปยังหมู่สูทกรรมกองร้อยเพื่อให้กำลังพลได้รับอาหารตามเวลา
ค. วางสายระหว่างศูนย์อำนวยการยิงกับชุด นยส. หรือผู้ตรวจการณ์หน้า
ง. วางสายไปยังที่บังคับการกองพัน
๑๐๐. ข่ายวิทยุในกองร้อยทหารปืนใหญ่ มี ๒ ชนิด คือข่ายภายในและข่ายภายนอก ข้อใดไม่ใช่ข่ายภายใน
ก. ข่ายบังคับบัญชาและอำนวยการยิงกองพัน FM
ข. ข่ายอำนวยการยิงกองร้อย FM
ค. ข่ายแจ้งเตือนภัยแต่เนิ่น AM
ง. ข่ายแผนที่กองพัน FM
๑๐๑. การติดต่อสื่อสารของกองร้อยทหารปืนใหญ่ภายในจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้บังคับบัญชามีความสะดวกในการ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอะไร
ก. รวบรวมข่าวสาร และกระจายข่าวกรอง
ข. การอำนวยการยิง
ค. การควบคุมกำกับดูแลทางธุรการและทางยุทธวิธี
ง. ถูกทุกข้อ
๑๐๒. การปฏิบัติงานของข่ายวิทยุในกองร้อยทหารปืนใหญ่สนามมี ๒ ข่าย ได้แก่
ก. ข่ายอิสระและข่ายบังคับ ข. สถานีบังคับข่าย
ค. ข่ายสำรองและข่ายบังคับ ง. ข่ายภายในและข่ายภายนอก
๑๐๓. เจ้าหน้าที่สื่อสารในระดับกองร้อยทหารปืนใหญ่นั้นอยู่ในส่วนใดของการจัดร้อย ป.
ก. บก.ร้อย ข. หมู่สูทกรรม
ค. หมู่ปืน ง. หมวดเจ้าหน้าที่กองร้อย
๑๐๔. การติดต่อสื่อสารทางสายในที่รวมพลของกองร้อยทหารปืนใหญ่นิยมวางสายด้วยวงจรต่อเนื่องหมายถึงการวาง
สายเช่นใด
ก. การต่อสายแบบขนาน
ข. ทุกส่วนต้องวางสายมายัง บก.ร้อย
ค. เริ่มวางจาก บก.ร้อย ผ่านไปตามส่วนสำคัญต่าง ๆ แล้วกลับมาที่ บก.ร้อย เป็นวงรอบ
ง. วางระหว่าง ผตน. กับ ศอย.
๑๐๕. ความมุ่งหมายของระบบการติดต่อสื่อสารภายนอก ให้ผู้บังคับบัญชามีความสะดวกในการปฏิบัติ
เกี่ยวกับอะไร
ก. รับคำสั่ง ผู้บังคับบัญชา และคำสั่งภายนอก ข. ติดต่อกับหน่วยข้างเคียง
ค. รับข่าวการยิง ง. รับภารกิจยิงจากหน่วยเหนือ
๑๐๖. ข่ายการติดต่อสื่อสารภายในระดับกองร้อยทหารปืนใหญ่สนามเป็นวิทยุระบบ เอฟเอ็มมีข่ายบังคับบัญชา/
อำนวยการยิงกองพัน, ข่ายอำนวยการยิงกองร้อย,ข่ายแผนที่ ในระหว่างเดินทาง ทางธุรการปกติแล้วจะติดต่อ
ด้วยข่ายอะไร
ก. แผนที่
ข. ข่ายบังคับบัญชา/อำนวยการยิงกองพัน
ค. ข่ายอำนวยการยิงกองร้อย
ง. ข่ายโทรศัพท์มือถือโทรทั่วไทยโปรโมชั่นใหม่ล่าสุด
วิชา ปตอ.
๑๐๗. การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุก เป็นการกระทำโดยตรงต่อการปฏิบัติการทางอากาศของข้าศึกเพื่อทำลายหรือ
ลดประสิทธิผลการโจมตีทางอากาศของข้าศึก ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติเชิงรุก
ก. การซ่อนพราง ปกปิดกำบังที่ตั้ง
ข. ให้ทหารทุกนายหลบเข้าหลุมหลบภัย
ค. เมื่อปลอดภัยแล้วแจ้งเตือนให้ทุกคนทราบ
ง. สั่งให้ทหารทุกนายใช้อาวุธประจำกายยิงไปยังเครื่องบินโจมตีของข้าศึก
๑๐๘. การจัดหน่วย ปตอ.ของ ทบ.ไทยแบ่งเป็น ๒ หน่วยได้แก่ หน่วยในระบบแจ้งเตือนภัยและหน่วยในระบบอาวุธ
อยากทราบว่าข้อใด คือหน่วยในระบบอาวุธ
ก. ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบก
ข. ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศของกองพัน ปตอ.
ค. ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกประจำพื้นที่
ง. กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
๑๐๙. แบบของการป้องกันภัยทางอากาศ มีกี่แบบอะไรบ้าง
ก. ๒ แบบ คือ ๑.การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุก , ๒. การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรับ
ข. ๒ แบบ คือ ๑.การป้องกันภัยทางอากาศเป็นพื้นที่ , ๒. การป้องกันภัยทางอากาศเป็นจุด
ค. ๓ แบบ คือ ๑.การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุก , ๒. การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรับ,๓.การป้องกัน
ภัยทางอากาศเป็นพื้นที่
ง. ๓ แบบ คือ ๑.การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรุก , ๒.การป้องกันภัยทางอากาศเชิงรับ,๓.การป้องกัน
ภัยทางอากาศเป็นจุด
๑๑๐. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบโดยทั่วไปของภัยทางอากาศ
ก. พาหะ ข. ลูกระเบิด
ค. ห้วงอากาศเหนือพื้นที่ ง. สิ่งอำนวยความสะดวกในการควบคุมไปยังเป้าหมาย
๑๑๑. การจัดหน่วย ปตอ.ทบ.ไทย ตามอัตราการจัด และยุทโธปกรณ์ของกองทัพในปัจจุบันมีการจัดเป็นหน่วย
ในระดับที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง
ก. ๓ ส่วน คือ หน่วยในระบบควบคุม ,หน่วยในระบบแจ้งเตือนภัย ,หน่วยในระบบการบังคับบัญชา
ข. ๓ ส่วน คือ หน่วยในระบบควบคุม ,หน่วยในระบบแจ้งเตือนภัย ,หน่วยในระบบการติดต่อสื่อสาร
ค. ๒ ส่วน คือ หน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัย ,หน่วยในระบบอาวุธ
ง. ๒ ส่วน คือ หน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัย ,หน่วยในระบบบังคับบัญชาและการติดต่อ
๑๑๒. ข้อใดคือการแบ่งประเภทอาวุธ ปตอ. ตามลักษณะการเคลื่อนที่ ใน ๔ ประเภท
ก. ลากจูง ข. อัตตาจร
ค. นำพาไปด้วยคน ง. ถูกทุกข้อ
๑๑๓. การค้นหา การพิสูจน์ฝ่าย การสกัดกั้นและทำลายนั้น เป็นพันธกิจของหน่วยป้องกันภัยทางอากาศข้อใด
กล่าวได้ถูกต้องในเรื่องของการค้นหา
ก. เครื่องมือค้นหาเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือเรดาร์
ข. การป้องกันมิให้ทำการยิงอากาศยานฝ่ายเดียวกัน
ค. ภายหลังที่ได้รับข่าวการเข้ามาของอากาศยานข้าศึกแจ้งเตือนไปยัง เครื่องบินสกัดกั้น
ง. การใช้อาวุธ ปตอ.ทำการยิง



๑๑๔. ลำดับความเร่งด่วนในการป้องกันภัยทางอากาศคือที่ตั้งหรือส่วนสำคัญต่าง ๆ ที่ได้เลือกไว้ต้องได้รับการ
ป้องกัน ภัยทางอากาศตามลำดับความเร่งด่วน ได้แก่ความสำคัญ ความล่อแหลม ความฟื้นตัว และภัยคุกคาม
ข้อใดคือ ความหมายของ เกณฑ์ความสำคัญ “ สำคัญที่สุด ”
ก. ถ้าถูกทำลายแล้วจะมีผลทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้เลย
ข. ถ้าถูกทำลายแล้วจะมีผลขัดขวางอย่างรุนแรงในการปฏิบัติตามแผน
ค. ถ้าถูกทำลายแล้วจะมีเหตุให้ขัดขวางอย่างจำกัดแต่ไม่ใช่ในทันทีในการปฏิบัติตามแผน
ง. ถ้าถูกทำลายแล้วจะมีผลขัดขวางอย่างจำกัดในการปฏิบัติตามแผน
๑๑๕. หน่วยที่รับผิดชอบในการวางแผนการต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศของ ทบ. คือ
ก. ศปภอ.ทบ. ข. พล.ปตอ.
ค. กรม ปตอ. ง. นปอ.
๑๑๖. การป้องกันภัยทางอากาศมี ๒ วิธี คือการป้องกันเชิงรุก และการป้องกันเชิงรับ ข้อใดไม่ใช่การป้องกันเชิงรุก
ก. การใช้ บ. เข้าสกัดกั้น ข. การยิงต่อสู้ด้วยอาวุธ ปตอ.
ค. การยิงต่อสู้ด้วยอาวุธประจำกาย ง. การกำบัง , การซ่อนพราง

วิชาอุดมการณ์ความรักชาติ
๑๑๗. การก่อตัวของอุดมการณ์เกิดขึ้นได้ ๒ ทาง คืออะไรบ้าง
ก.เกิดจากการอบรม ถ่ายทอด , ควบคุมการถ่ายทอดตามความเชื่อของสังคม
ข.ปากต่อปากบอกเล่ากันมา , ในตำราทั่วไป
ค.การถ่ายทอดโดยสื่อ , ในตำราโดยทั่วไป
ง. ทางศาสนา และการบอกเล่าต่อกันไป
๑๑๘. ลักษณะนิสัยของคนไทย คือมีเลือดนักสู้ ใฝ่สันติ รักสงบและรักษาเอกราช เครื่องมือ ที่ใช้เสริมกำลังใจใน
การต่อสู้ คืออะไร
ก. จิตใจที่ยึดมั่น ข. ความซาบซึ้งที่มีต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา กษัตริย์
ค. สื่อทุกชนิด ง. ความสามัคคี
๑๑๙. ข้อใดมิใช่ ความหมายของอุดมการณ์
ก. ระบบความคิดที่คนในชาติยึดถือเป็นส่วนรวม
ข. ระบบการพิทักษ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ค. เป็นเป้าหมายซึ่งพัฒนาศักยภาพของตนเอง
ง. การมุ่งพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสังคม
๑๒๐. อุดมการณ์ กับอุดมคติ ต่างกันอย่างไร
ก. อุดมการณ์ มุ่งพัฒนาส่วนรวม , อุดมคติ มุ่งพัฒนาตนเอง
ข. อุดมการณ์ พัฒนาสังคม , อุดมคติ พัฒนาประเทศชาติ
ค. อุดมการณ์ พัฒนาชุมชน , อุดมคติ พัฒนาหน่วยงาน
ง. อุดมการณ์ พัฒนาสถาบัน , อุดมคติ พัฒนาการเมือง
Google