วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วิชา หมู่ปืนเล็กเข้าตี , หมู่ปืนเล็กตั้งรับ - ถอนตัว

๒๘๑. ข้อใดหมายถึงการรบด้วยวิธีรุก
ก. การเคลื่อนที่เข้าปะทะการเข้าตี
ข. เตรียมการ
ค. ปฏิบัติการเข้าตี
ง. การยึดที่หมาย และเสริมสร้างความมั่นคง
๒๘๒. การเข้าตีแบ่งขั้นการเข้าตีเป็นกี่ขั้น
ก. ๑ ขั้น ข. ๒ ขั้น
ค. ๓ ขั้น ง. ๔ ขั้น
๒๘๓. พื้นที่ซึ่งหน่วยทหารที่จะเข้าตีได้มารวมกันอยู่ก่อนที่จะปฏิบัติทางยุทธวิธี คือ
ก. แนวประสานการปฏิบัติขั้นสุดท้าย ข. แนวออกตี
ค. ฐานออกตี ง. ที่รวมพล
๒๘๔. แนวที่ห่างจากที่หมาย ๓๐๐ - ๑,๐๐๐ เมตร คือข้อใด
ก. แนวออกตี ข. ฐานออกตี
ค. ที่รวมพล ง. ทิศทางการเข้าตี
๒๘๕. การตั้งรับมี ๒ แบบคือ
ก. แบบหลัก , แบบรอง ข. แบบตรง , แบบวงกลม
ค. แบบพื้นที่ , แบบเคลื่อนที่ ง. แบบเส้นตรง , แบบสี่เหลี่ยม
๒๘๖. การตั้งรับแบบพื้นที่เป็น ๒ ส่วนคือ ข้อใด
ก. พื้นที่ส่วนระวังป้องกัน , พื้นที่การรบ ข. กองรักษาด่านรบ , กองรักษาด่านทั่วไป
ค. พื้นที่การรบ , พื้นที่กองหนุน ง. พื้นที่ส่วนระวังป้องกัน
๒๘๗. ข้อใดมิใช่ประเภทของการร่นถอย
ก. การถอนตัว ข. การรบหน่วงเวลา
ค. การถอย ง. การเดินเร่งรีบ
๒๘๘. การถอนตัวโดยสมัครใจ โดยจะปฏิบัติเวลาใด
ก. เวลาเที่ยงตรง ข. เวลากลางคืน
ค. เวลาเช้า ง. เวลาใดก็ได้
๒๘๙. ข้อใดคือ ภารกิจของหมู่ปืนเล็กในแนวหน้าตั้งรับ
ก. ขับไล่ข้าศึกด้วยการรบประชิด ข. เพื่อรอโอกาสเป็นฝ่ายรุก
ค. เพื่อทำลาย ง. เพื่อขัดขวางข้าศึกเข้ามาสู่พื้นที่สำคัญ
๒๙๐. พื้นที่การรบแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
ก. พื้นที่ตั้งรับหน้า , พื้นที่กองรักษาด่านรบ
ข. พื้นที่ตั้งรับหน้า , พื้นที่กองรักษาด่านทั่วไป
ค. พื้นที่ตั้งรับหน้า , พื้นที่กองหนุน
ง. พื้นที่กองหนุน , พื้นที่กองรักษาด่าน
๒๙๑. กว้างด้านหน้าของหมู่ปืนเล็ก วางกำลังในการตั้งรับเท่าใด
ก. ๓๐ - ๕๐๐ เมตร ข. ๓๐ - ๖๐๐ เมตร
ค. ๓๐๐ - ๑,๗๐๐ เมตร ง. ๓๐ - ๑๐๐ เมตร
๒๙๒. ส่วนระวังป้องกันเฉพาะตำบลในเวลากลางวันเรียกว่า
ก. ยามฟังการณ์ ข. ยามคอยเหตุ
ค. ยามระวังป้องกัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
๒๙๓. ที่รวมพลอยู่ห่างจากฐานออกตี ในระยะใช้เวลาเดินเท้าไม่เกิน ๑ ชั่วโมง หรือประมาณกี่กิโลเมตร
ก. ๔ กม. ข. ๕ กม.
ค. ๖ กม. ง. ๗ กม.
๒๙๔. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะอันพึงประสงค์ของที่รวมพล
ก. มีการกำบัง และการซ่อนพราง
ข. มีพื้นที่กว้างพอที่จะกระจายกำลัง
ค. ปลอดภัยจากการโจมตีทั้งทางภาคพื้นดิน และทางอากาศ
ง. พื้นที่ที่ข้าศึกสามารถตรวจการณ์ได้ชัดเจน
๒๙๕. เป็นตำบลสุดท้ายที่ให้การปกปิดกำบัง และซ่อนพรางอยู่ใกล้กับแนวออกตี หมู่ต่าง ๆ จัดรูปขบวนเข้าตี และทำการติดต่อประสานงานเป็นครั้งสุดท้าย เราเรียกตำบลนี้ว่าอะไร
ก. ที่รวมพล ข. ฐานออกตี
ค. แนวออกตี ง. ที่หมาย
๒๙๖. ส่วนระวังป้องกันเฉพาะตำบล ในเวลากลางคืนนิยมจัดจำนวนกี่นาย
ก. ๑ นาย ข. ๒ - ๔ นาย
ค. ๖ - ๘ นาย ง. ๑๑ - ๑๒ นาย
๒๙๗. ในขั้นเตรียมการตั้งรับ การขุดคูติดต่อกับหลุมบุคคลสิ่งใดทำก่อน
ก. คูติดต่อ ข. หลุมบุคคล
ค. คูติดต่อไม่ต้องขุด ง. หลุมบุคคลไม่ต้องขุด
๒๙๘. ขอบบนของแผ่นจดระยะของพลปืนเล็กจะมีบรรทัดวัดมุมมีค่าช่องละ ๕ องศา มีไว้เพื่ออะไร
ก. เพื่อบันทึกผลการยิง
ข. เพื่อกะระยะ
ค. เพื่อย้ายการยิง
ง. เพื่อสะดวกในการกำหนดที่หมาย และเขตการยิง
๒๙๙. แนวที่ห่างจากขอบหน้าพื้นที่ทำการรบประมาณ ๒๐๐ เมตร คือแนวใด
ก. แนวยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย ข. แนว ขนพร.
ค. แนว กดร. ง. แนว กดป.
๓๐๐. การถอนตัวนอกความกดดัน ส่วนดำเนินกลยุทธจะเหลือทิ้งไว้ปะทะเท่าใด
ก. ๑ ใน ๒ ข. ๑ ใน ๓
ค. ๑ ใน ๔ ง. ๒ ใน ๓
๓๐๑. การถอนตัวนอกความกดดันของอาวุธประจำหน่วยจะเหลือทิ้งไว้ปะทะเท่าใด
ก. ๑ ใน ๒ ข. ๑ ใน ๓
ค. ๑ ใน ๔ ง. ๒ ใน ๓
๓๐๒. การปฏิบัติการร่นถอยมี ๓ ประเภทคือ
ก. การถอย , การถอนตัว , การรบหน่วงเวลา
ข. การรบหน่วงเวลา , การผละ , การขยายผล
ค. การถอย , การประวิงเวลา , การถอนตัว
ง. การถอนตัว , การรบหน่วงเวลา , การหลีกหนี
๓๐๓. การถอนตัวนอกความกดดันของหมู่ปืนกล จะเหลือทิ้งไว้ปะทะ จำนวนกี่กระบอก
ก. ๑ กระบอก ข. ๒ กระบอก
ค. ๓ กระบอก ง. ๔ กระบอก
๓๐๔. การถอนตัวในความกดดัน ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. การถอนตัวตามเวลากำหนด
ข. หน่วยที่ถูกต้านทานจากข้าศึกมากถอนตัวก่อน
ค. หน่วยที่ถูกต้านทานจากข้าศึกน้อยถอนตัวก่อน
ง. ถูกทุกข้อ
๓๐๕. การถอนตัวนอกความกดดันที่รวมพลของหมู่ปืนเล็กผู้ใดเป็นผู้กำหนด
ก. ผบ.หมู่ ข. ผบ.หมวด
ค. ผบ.ร้อย ง. ผบ.พัน
๓๐๖. ภารกิจสำคัญของหมู่ปืนเล็กในการตั้งรับ คือ
ก. การแจ้งข่าวสาร
ข. ขัดขวางข้าศึก
ค. ตีโต้ตอบ
ง. ยับยั้ง และขับไล่ข้าศึกด้วยการรบประชิด
๓๐๗. การปฏิบัติการเข้าตีของหมู่ปืนเล็ก ทำการเข้าตีโดยกำลังส่วนหนึ่งของหน่วยระดับใด
ก. หมวดปืนเล็ก ข. กองร้อยอาวุธเบา
ค. กองพันทหารราบ ง. ไม่มีข้อใดถูก
๓๐๘. ข้อใดคือ ภารกิจของหมู่ปืนเล็กเข้าตี
ก. ยึดครองภูมิประเทศ ข. ทำลายแหล่งทรัพยากร
ค. ตัดกำลังข้าศึก ง. เข้าประชิดทำลาย , จับข้าศึกเป็นเชลย
๓๐๙. ใครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ผบ.หมู่ เมื่อ ผบ.หมู่ ไม่อยู่
ก. หัวหน้าชุดยิง ก. และ ข. ( ที่อาวุโส ) คนใดคนหนึ่ง
ข. พลยิงเครื่องยิงลูกระเบิด ( เอ็ม ๒๐๓ )
ค. พลยิงปืนเล็กอัตโนมัติ ( ปล.อ. )
ง. พลปืนเล็ก
๓๑๐. เป็นตำบลสุดท้ายที่ให้การปกปิดกำบัง และซ่อนพรางอยู่ใกล้กับแนวออกตี หมู่ต่าง ๆ จัดรูปขบวนเข้าตี และทำการติดต่อประสานงานเป็นครั้งสุดท้าย เราเรียกตำบลนี้ว่า
ก. ที่รวมพล ข. ฐานออกตี
ค. แนวออกตี ง. ที่หมาย
๓๑๑. คำสั่งประกอบด้วยภารกิจ เวลาปฏิบัติการ การแนะนำโดยเฉพาะเจาะจงถ้ามีเวลา และสถานการณ์ที่ออกคำสั่งสมบูรณ์ เราเรียกคำสั่งนี้ว่า
ก. คำสั่งยุทธการณ์ ๕ ข้อ ข. คำสั่งเตรียม
ค. คำสั่งเป็นส่วน ง. คำสั่งผู้บังคับบัญชา
๓๑๒. การปฏิบัติของผู้บังคับหมู่ ขณะรับคำสั่งเข้าตีข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
ก. เลือกที่อยู่ ณ. ที่ที่เหมาะจะรับคำสั่ง และเตรียมการบันทึกไว้ให้พร้อม
ข. ซักซ้อมข้อสงสัยเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ
ค. ต้องเข้าใจภารกิจของหมวด และปฏิบัติภารกิจนั้นให้เป็นผลสำเร็จ
ง. ที่กล่าวมาถูกทุกข้อ
Google