วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วิชา อุดมการณ์ความรักชาติ

๓๖๑. คนไทยตั้งแต่สมับโบราณมีจิตยึดมั่นและพร้อมเสมอที่จะพลีชีวิตและเลือดเนื้อให้แก่สิ่งสำคัญสูงสุด ๔ ชนิด ทั้ง ๔ ชนิดนั้นคือ
ก. ครอบครัว , คนรัก , ยศตำแหน่ง , เงินทอง
ข. ชาติ , ยศตำแหน่ง , เงินทอง , พระมหากษัตริย์
ค. ชาติ , ศาสนา , เงินทอง , พระมหากษัตริย์
ง. ชาติ , ศาสนา , พระมหากษัตริย์ , ประชาชน
๓๖๒. คนไทยที่สืบสายเลือดไทยมาแต่บรรพกาล มีบ้านเกิดเมืองนอนในประเทศไทย พูดภาษาไทยและมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นไทยโดยสมบูรณ์ เป็นลักษณะของคนไทยประเภทใด
ก. ไทยอารยัน ข. ไทยแท้
ค. ไทยโบราณ ง. ไทย

๓๖๓. ข้อใดคือลักษณะของความรู้สึกฝังลึกและผูกพันอย่างแน่นแฟ้นของคนไทย
ก. เบียดเบียน ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน
ข. อุดหนุนและขวนขวายในกิจกรรมของตนเอง
ค. รักใคร่กัน ปรารถดีต่อกันและกัน
ง. บำรุงรักษาสมบัติของชาติ
๓๖๔. “ ชาติไทย” ให้อะไรกับเหล่าคนไทยบ้าง
ก. ชีวิตและความภาคภูมิใจ ข. ชีวิตและเงินทอง
ค. แผ่นดินและที่ทำกิน ง. แผ่นดิน ชีวิตและศาสนา
๓๖๕. เหตุผลในข้อใด บ่งบอกถึงเหตุที่ทุกนต้องรักชาติที่ถูกต้องที่สุด
ก. เพราะเรามีส่วนได้เสีย ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาติหากชาติเจริญเราก็เจริญด้วย
ข. เพราะเรามีประโยชน์สุขจากการอาศัยอยู่ในแผ่นดิน
ค. เพราะเราเป็นเจ้าของประเทศชาติแต่เราเพียงผู้เดียว
ง. เพราะชาติทำให้เรามีชีวิตอยู่ร่ำรวยและมีความสุข
๓๖๖. ส่วนประกอบของชาติข้อใดที่ทำให้ประเทศเป็นเอกราช
ก. ประชาชน ข. ศาสนา
ค. ประเทศ ง. สถาบันการเมือง
๓๖๗. ข้อใดแสดงถึงนิยามของ “ ประเทศไทย” ได้ชัดเจนและแจ่มชัดที่สุด
ก. ดินแดนที่ทำมาหากินและถิ่นฐานของคนไทย
ข. ดินแดนของคนไทยตามที่ปรากฏในแผนที่
ค. ดินแดนในโซนทวีปเอเชีย
ง. ดินแดนอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนขงชาวไทยตามที่ปรากฏในแผนที่
๓๖๘. ข้อใดแสดงออกถึงความผูกพันทางใจที่คนไทยมีต่อบ้านเกิดเมืองนอนของคนได้ชัดเจนมากที่สุด
ก. รักและหวงแหนถิ่นฐานบ้านเมืองและป้องกันรักษาประเทศ
ข. รักและดำเนินธุรกิจกับต่างชาติเพื่อสนับสนุนการค้าของไทย
ค. ส่งภาษีเยอะ ๆ เพื่อจะได้ใช้เป็นงบประมาณประเทศได้
ง. บำรุงให้บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า
๓๖๙. “ ถ้าสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดินก็สิ้นคิด เรามายอมเสียชีวิตดีกว่าอยู่” บทความดังกล่าวนี้เป็นบทประพันธ์ส่งเสริมความรักชาติ ของผู้ใด
ก. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข. พล.ต.หลวง ชาตินักรบ
ค. พล.ต.ประยูร ภมรมนรี ง. พล.ต.หลวงวิจิตวาทภาร


๓๗๐. ข้อใดให้คำจำกัดความของคำว่า “ ศาสนา” ได้อย่างชัดเจนที่สุด
ก. เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของเหล่าประชาชน
ข. สิ่งที่มุ่งเน้นให้กระทำความดี ละเว้นความชั่ว
ค. คำสั่งสอนในทางที่ดีที่ผู้เป็นศาสดาแสดงสั่งสอนบัญญัติไว้ให้ทำดีละความชั่ว
ง. ทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล
๓๗๑. ชนชาติไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติโดยปรากฏหลักฐานเด่นชัด
เมื๋อสมัยใด
ก. สมัยกรุงศรีอยุธยา ข. สมัยรัตนโกสินทร์
ค. สมัยสุโขทัย ง. ก่อนสมัยพุทธศักราช
๓๗๒. หัวหน้าของชนชาติไทย คือผู้ใด
ก. พระมหากษัตริย์ ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๓๗๓. ข้อใดให้คำจำกัดความของ “ พระมหากษัตริย์” ได้ชัดเจนและถูกต้องที่สุด
ก. ผู้ทรงอยู่ในตำแหน่งประมุขและหัวหน้าของชนชาติไทย
ข. ผู้ทรงในตำแหน่งพระประมุขของชนชาติไทย และทรงมีหน้าที่อันที่จะคุ้มครอง
อาณาประชาราษฎร์ให้พ้นทุกข์ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ค. ผู้ทรงอยู่ในฐานะประมุขของชนชาติไทย มีอำนาจและหน้าที่ในการคุ้มครองประชาชน
ให้อยู่ดีกินดีมีความสุข
ง. ผู้ทรงในฐานะประมุขของชาติ มีอำนาจจัดการทุกข์สุขของราษฎรทั้งประเทศให้
อยู่เย็นเป็นสุข
๓๗๔. “ ข้าพเจ้าจะเชิดชูและรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า” บทความดังกล่าวเป็นบทคำกล่าวที่ทหารใช้ในโอกาสใด
ก. รายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา
ข. คำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล
ค. ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ง. คำกล่าวในงานสดุดีโดยทั่วไป
๓๗๕. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ถามว่า “อัครศาสนูปถัมภก” หมายถึงอะไร
ก. หัวหน้าของชนชาติไทย
ข. หัวหน้าของเหล่าศาสนาต่าง ๆ
ค. หัวหน้าของพสกนิกร
ง. หัวหน้าบำรุงรักษาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
๓๗๖. “ ลักษณะดีและเด่นของสังคมไทยที่คนไทยทั้งชาติมีร่วมกันซึ่งสำแดงความเป็นชาติและทำให้ชาติไทยแตกต่างจากสังคมอื่น” ตามบทความนี้คือคำจำกัดความของสิ่งใด
ก. ชนชาติไทย ข. เอกลักษณ์ความเป็นไทย
ค. ความภาคภูมิใจของคนไทย ง. มารยาทคนไทย
๓๗๗. สิ่งที่ทำให้คนไทยมีชีวิตที่มีคุณภาพ มีคุณค่า และมีความสุขอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้
สิ่งนั้นคืออะไร
ก. วัฒนธรรมไทย
ข. ระบบทางเศรษฐกิจที่มั่นคง
ค. ทุนทางวัฒนธรรม
ง. ระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
๓๗๘. สิ่งที่เด่นของคนไทยที่ทำให้คนไทยสามารถรักษาเอกราชอธิปไตยและความเป็นไทยมาได้
โดยตลอดคืออะไร
ก. สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข. สถาบันพระมหากษัตริย์ ตำรวจและทหาร
ค. ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติไทย
ง. กรอบทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาช้านาน
๓๗๙. วัฒนธรรม หมายถึงสิ่งใด
ก. ลักษณะแสดงความนิยมชมชอบในสังคม
ข. ลักษณะถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ค. สิ่งที่สืบเนื่องมาจากบรรพกาลนับถือสอบต่อกันมา
ง. ผลงานสร้างสรรค์อันเป็นมรดกตกทอดกันมาในสังคม
๓๘๐. ในยุคสมัยของรัฐบาลใดได้บังคับใช้กฎหมายในการกำหนดวัฒนธรรม ( กำหนดด้วยกฎหมาย)และคำสั่งทางราชการ
ก. จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ข. จอมพล ถนอม กิตติขจรน์
ค. จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ง. จอมพล ประพาส จารุเสถียร
๓๘๑. ข้อใดไม่ถืออยู่ในลักษณะของวัฒนธรรม
ก. การดำรงชีวิต ข. การแต่งกาย
ค. ความเชื่อทางศาสนา ง. การนอนและพักผ่อน
๓๘๒. วัฒนธรรมย่อยทางศาสนา ( religious subculture ) ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. คนไทยพุทธ เชื่อกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ข. คนไทยคริสต์ เชื่อตามไบเบิ้ล คัมภีร์ต่าง ๆ
ค. คนไทยพุทธ ทำบุญเยอระหวังขึ้นสวรรค์
ง. คนไทยพุทธ ทำบุญโดยไม่สนแก่ฐานะตน
๓๘๓. ข้อใดแสดงถึงวัฒนธรรมย่อยทางอายุ ( age subculture ) ผิด
ก. วัยเด็ก – เล่น
ข. วัยรุ่น – ทำงาน หาครอบครัว ชอบอยู่ลำพัง
ค. วัยหนุ่มสาว – สนุกสนาน ทำงาน หาครอบครัว
ง. วัยชรา – ความสงบ สุขุม มีชีวิตเรียบง่าย
๓๘๔. ประเพณีไทยแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ก. ๒ ประเภท คือประเพณีท้องถิ่น , ประเพณีของสังคม
ข. ๒ ประเภท คือรัฐพิธี , ประเพณีท้องถิ่น
ค. ๔ ประเภท คือขนบธรรมเนียม , จารีตประเพณี , วิถีชีวิตความเป็นอยู่และแบบธรรมเนียม
ง. ๔ ประเภท คือประเพณีเกี่ยวกับครอบครัว,ประเพณีสังคม,ประเพณีท้องถิ่น,
รัฐพิธีและราชพิธี
วิชา การปฐมพยาบาลและเวชกรรมป้องกัน
๓๘๕. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการจัดดินแดนเพื่อแบ่งดินแดนออกเป็นพื้นที่ต่าง ๆ
ก. พื้นที่สำหรับการรบ ข. พื้นที่สนับสนุนการรบ
ค. พื้นที่สำหรับสนับสนุนทางการช่วยรบ ง. พื้นที่สำหรับสนับสนุนทางการแพทย์
๓๘๖. เมื่อมีการประกาศสงคราม พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศคู่สงครามจะกลายเป็นเขตใด
ก. เขตการรบ ข. เขตสงคราม
ค. เขตอันตราย ง. เขตสงบ
๓๘๗. เมื่อมีการประกาศสงครามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศคู่สงครามมีพื้นที่ใดบ้าง
ก. ทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ข. ทางดิน ทางน้ำ ทางฟ้า
ค. ทางดิน ทางทะเล ทางฟ้า ง. ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
๓๘๘. เขตสงครามแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน ตามลักษณะการยุทธ์ ได้แก่อะไรบ้าง
ก. เขตยุทธบริเวณ และเขตภายนอก ข. เขตยุทธบริเวณ และเขตภายใน
ค. เขตหน้าและเขตยุทธบริเวณ ง. เขตหน้าและเขตภายใน
๓๘๙. พื้นที่ที่ใช้สำหรับปฏิบัติการทางทหารตามภารกิจทั้งการรบ การสนับสนุนการรบ และการสนับสนุนการช่วยรบ เรียกว่าเขตใด
ก. เขตหน้า ข. เขตหลัง
ค. เขตยุทธบริเวณ ง. เขตภายใน
๓๙๐. ผู้รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ทางการยุทธ์ คือผู้ใด
ก. ผู้บัญชาการยุทธบริเวณ ข. ผู้บัญชาการทหารบก
ค. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ง. ผู้บัญชาการหน่วยทหารนั้น ๆ
๓๙๑. การปฏิบัติการทางยุทธวิธี ในพื้นที่ของเขตสงคราม ได้แก่การรบด้วยวิธีใดบ้าง
ก. วิธีรุก วิธีรับ
ข. วิธีรุก วิธีรับ และวิธีร่นถอย
ค. วิธีตั้งรับ และวิธีร่นถอย
ง. วิธีรุก วิธีรับ และการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๓๙๒. การจัดเขตยุทธบริเวณ มีลักษณะอย่างไร
ก. มีความแน่นอนตายตัว
ข. เป็นรูปแบบที่มาตราฐาน
ค. เป็นรูปแบบเฉพาะเจาะจง
ง. ไม่มีความแน่นอนตายตัวหรือไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
๓๙๓. ผู้ที่กำหนดพื้นที่ยุทธบริเวณและแต่งตั้งผู้บัญชาการยุทธบริเวณ คือใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ข. ผู้บัญชาการทหารบก
ค. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
๓๙๔. เขตยุทธบริเวณจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ ๒ ส่วน คืออะไร
ก. เขตหน้าและเขตภายใน ข. เขตหน้าและเขตหลัง
ค. เขตภายในและเขตหลัง ง. เขตการยุทธและเขตหลัง
๓๙๕. เขตหน้าเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตการยุทธบริเวณ ประกอบไปด้วยพื้นที่ใดบ้าง
ก. พื้นที่ที่กำลังรบ และควบคุมการบังคับบัญชา
ข. พื้นที่ที่กำลังรบ และพื้นที่สนับสนุนการช่วยรบ
ค. พื้นที่ที่กำลังรบ ควบคุมการบังคับบัญชา และพื้นที่สนับสนุนการช่วยรบ
ง. พื้นที่ที่กำลังรบ และพื้นที่สนับสนุนทางการแพทย์
๓๙๖. พื้นที่ปฏิบัติของเขตหลังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คืออะไร
ก. กองพันสนาม และ กองพล ข. กองพลสนาม และ กองร้อย
ค. กองทัพสนาม และ กองร้อย ง. กองทัพสนาม และ กองพัน

๓๙๗. ผู้บัญชาการยุทธบริเวณเป็นผู้กำหนดเขตใดบ้าง
ก. เส้นหน้าของเขตหน้า ข. เส้นหน้าของเขตหลัง
ค. เส้นหลังของเขตหน้า ง. เส้นหลังของเขตหลัง
๓๙๘. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเขตหลัง
ก. เส้นทางการคมนาคม
ข. สถานที่ตั้งทางการส่งกำลังบำรุง
ค. การส่งกลับทางการแพทย์รวมทั้งหน่วยในเขตหลัง
ง. สถานที่ประกอบอาหาร
๓๙๙. เขตภายในเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตสงครามแต่ไม่ได้กำหนดเป็นเขตยุทธบริเวณ จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับใช้ทำสิ่งใด
ก. แสวงหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ข. แสวงหาทรัพยากรบุคคลและวัตถุ
ค. แสวงหาที่พักอาศัย ง. แสวงหาอาหารการกิน น้ำ
๔๐๐. เขตภายใน ให้การสนับสนุนเขตยุทธบริเวณตามจำนวนที่ต้องการตามเวลาที่กำหนด ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้การได้มากและดีที่สุด ณ ที่ใด
ก. ณ ตำบลที่เหมาะสม ข. ณ สถานที่ที่เหมาะสม
ค. ณ แหล่งที่เหมาะสม ง. ณ เขตที่เหมาะสม
๔๐๑. การเสนารักษ์สนาม คืออะไร
ก. การบริการทางการรบ + ยุทธศาสตร์ ข. การบริการทางการเมือง + ยุทธวิธี
ค. การบริการทางการแพทย์ + ยุทธวิธี ง. การบริการทางเศรษฐกิจ + ยุทธศาสตร์
๔๐๒. ภารกิจของเหล่าทหารแพทย์ คืออะไร
ก. การอนุรักษ์ ( สงวน ) กำลังรบ ข. การพิทักษ์รักษ์กำลังรบ
ค. การอนุรักษ์ ( สงวน ) กำลังทหาร ง. การพิทักษ์รักษ์กำลังทหาร
๔๐๓. การปฏิบัติหน้าที่ในด้านการป้องกันและการดูแลรักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ เป็นหน้าที่ของทหารเหล่าใด
ก. เหล่าทหารการบังคับบัญชา ข. เหล่าทหารเวชกรรมป้องกัน
ค. เหล่าทหารบก ง. เหล่าทหารแพทย์
๔๐๔. ปัจจุบันนี้แม้จะมีอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง ก็ยังต้องอาศัยคนเป็นผู้กำหนดข้อใดไม่ใช่
ก. หลักการ ข. กฎเกณฑ์ควบคุม
ค. การทำงานของเครื่องจักรกล ง. กดปุ่ม ลั่นไก
๔๐๕. เหล่าทหารแพทย์จำเป็นต้องปฏิบัติพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพข้อใดไม่ใช่
ก. การเวชกรรมป้องกัน + การรักษาพยาบาล
ข. การประชาสัมพันธ์ + การส่งกลับทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
ค. การส่งกลับทางการแพทย์ + การส่งกำลังสายแพทย์
ง. การบริการทางการแพทย์อื่น ๆ
๔๐๖. ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของกองทัพ คืออะไร
ก. บุคคลทั่ว ๆ ไป ข. ตำรวจ
ค. กำลังพล ( ทหาร ) ง. วัยรุ่น
๔๐๗. ในสนามรบทหารจะได้รับการรักษาพยาบาลตั้งแต่จุดใดถึงจุดใด
ก. จุดที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้าแล้วทำการรักษาพยาบาลบริเวณนั้น
ข. จุดที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้า แล้วส่งกลับโดย ฮ. มายังหน่วยแพทย์ที่ กทม.
ค. จุดที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้า แล้วส่งกลับคืนโดยรถยนต์ มายังหน่วยแพทย์ใกล้เคียง
ง. จุดที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้า แล้วส่งกลับมายังหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหลัง
๔๐๘. ในทุกขั้นตอน ณ ที่ตั้งของหน่วยแพทย์ เพื่อจัดลำดับความเร่งด่วนให้ผู้ป่วยได้ส่งไปรับการรักษาพยาบาล จะต้องทำการสิ่งใดก่อน
ก. คัดแยกผู้ป่วยเจ็บ ข. จำกัดผู้ป่วยเจ็บ
ค. จัดระเบียบผู้ป่วยเจ็บ ง. ตกแต่งผู้บาดเจ็บ
๔๐๙. ผู้ป่วยหรือบาดเจ็บเล็กน้อย ต้องให้การรักษาพยาบาลให้หายภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุดแล้วทำอย่างไรต่อ
ก. ส่งกลับหน่วยต้นสังกัด ข. รีบส่งคืนให้ปฏิบัติหน้าที่ในสนาม
ค. ส่งกลับไปพักผ่อนที่บ้าน ง. เปลี่ยนสายงานใหม่
๔๑๐. หน่วยแพทย์ที่อยู่ข่างหน้ามากเท่าใด จะมีขีดความสามารถทางการแพทย์จำกัด แต่จะมีสิ่งใดสูง
ก. ความหลุดพ้น ข. ความสุขสบาย
ค. ความคล่องตัวสูง ง. ความรวดเร็ว
๔๑๑. การส่งกลับทางการแพทย์ คือวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากจุดที่บาดเจ็บ ( สนามรบ ) มายังหน่วยแพทย์ที่อยู่ที่ใด
ก. ข้างหลัง ข. ข้างหน้า
ค. ด้านข้าง ง. ด้านนอก
๔๑๒. ข้อใดไม่ใช่วิธีการส่งกลับทางพื้นดิน
ก. การชี้ทางให้ผู้ป่วยเจ็บ ( ที่เดินได้ ) เดินไป
ข. การอุ้มพยุง การแบก การใช้เปลหาม
ค. การลำเลียงด้วยรถยนต์พยาบาล
ง. การเคลื่อนย้ายโดยใช้คนลาก
๔๑๓. การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บในสนามบางพื้นที่และบางสถานการณ์ เลวร้าย ไม่เหมาะสม อาจจำเป็นต้องใช้อะไรดัดแปลงในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บ
ก. สัตว์ต่าง ๆ และรถสายพานลำเลียงพล ข. ม้า และ รถถัง
ค. จัดหาลูกหาบจากท้องถิ่นนั้นมาช่วย ง. รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่
๔๑๔. การส่งกลับด้วยเปล ๑ พวกเปล จะมีพลเปลกี่คน
ก. ๘ คน ข. ๕ คน
ค. ๔ คน ง. ๖ คน
๔๑๕. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่มาจากอุปสรรคต่าง ๆ อันมิอาจหลีกเลี่ยงและก่อให้เกิดความล่าช้าในการส่งกลับ
ก. การกระทำของข้าศึก ข. ระบบการขนส่งที่สะดวกทันเหตุการณ์
ค. ระบบการติดต่อสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพ
ง. สภาพภูมิประเทศ ถนน และลมฟ้าอากาศ
๔๑๖. หน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหน้า จะได้รับสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์ประเภท สป.สิ้นเปลือง อะไรจากหน่วยแพทย์ที่สนับสนุนอยู่ข้างหลัง โดยการร้องขออย่างไม่เป็นทางการขณะปฏิบัติการอยู่ในสถานการณ์รบ
ก. วิทยุติดต่อสื่อสาร ข. เครื่องใช้สอยส่วนตัว
ค. ยารักษาโรค ง. ผ้าพันแผล ผ้าแต่งแผล เลือด ยา
๔๑๗. สิ่งอุปกรณ์ถาวรสายแพทย์ มีหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหน้าต้องจัดเตรียมมาทดแทน ให้ชิ้นต่อชิ้น ติดตัวอยู่กับผู้ป่วยเจ็บ ข้อใดไม่ใช่
ก. เปล ผ้าห่ม ข. เครื่องแต่งกาย
ค. สายรัดห้ามเลือด ง. เผือกโธมัส
๔๑๘. ในสถานการณ์ที่ยังไม่มีการรบ ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของการบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย
ก. เปิดที่ตรวจโรค
ข. ให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาล สุขศาสตร์ส่วนบุคคล
ค. เปิดห้องผ่าตัด
ง. กำกับดูแลในเรื่องเวชกรรมป้องกัน
๔๑๙. บัตรบันทึกการเจ็บป่วยในสนาม ต้องติดตัวไปกับผู้ป่วยเจ็บจนถึงที่ส่งกลับแห่งสุดท้าย จะได้รับการตรวจสอบและเซ็นชื่อกำกับไว้ด้วยเพื่ออะไร
ก. ความรวดเร็วในการขนส่ง ข. ความถูกต้องในการรักษาพยาบาล
ค. รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติ ง. ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย
๔๒๐. ในสถานการณ์รบจะร้องขอ สป.สาย พ. เพิ่มเติมและการแจกจ่ายส่งมาให้จะกระทำโดยทางสายการส่งกลับ ใช้ฝากมากับใคร
ก. เฮลิคอปเตอร์พยาบาล ข. รถยนต์ส่งกำลังบำรุง
ค. รถสายพานลำเลียงพล ง. รถยนต์พยาบาล
๔๒๑. รถยนต์พยาบาลในแนวหน้าแต่ละคันจะทำการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บ จะมีหน้าที่ประจำ 2 นาย คือ
ก. พลขับ และ ช่างเครื่อง ข. พลขับ และ พลทหาร
ค. พลขับ และ นายสิบพยาบาล ง. พลขับ และ แพทย์
๔๒๒. รถยนต์พยาบาลจะทำการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บจากแนวหน้า มายังที่พยาบาลข้างหลัง ซึ่งกระทำได้รวดเร็วและจำนวนมากราย ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่าง ๆ จากสถานการณ์รบ ข้อใดไม่ใช่
ก. ลักษณะภูมิประเทศ
ข. สภาพลมฟ้าอากาศในขณะนั้น
ค. ทหารทุกคนให้ความปลอดภัยจากสถานการณ์รบ
ง. ความสุขสบายในสนามรบ
๔๒๓. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาในการเลือกที่ตั้งพยาบาลกองพัน
ก. ความปลอดภัย ข. ใกล้ถนนและสะพาน
ค. การกำบังและซ่อนพราง ง. พื้นที่ที่คาดว่าจะมีผู้ป่วยเจ็บหนาแน่น
๔๒๔. เปลเป็นเครื่องมือที่ใช้ส่งกลับผู้ป่วยเจ็บในสนามได้ทุกลักษณะภูมิประเทศ
แต่มีขีดจำกัดในเรื่องใด
ก. ระยะทาง ข. ความเร็ว
ค. เวลา ง. น้ำหนัก
๔๒๕. การบริการทางการแพทย์ทางยุทธวิธี ได้แก่ข้อใด
ก. การบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย และระดับกองพล
ข. การบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย ระดับกองพล และกองทัพ
ค. การบริการทางการแพทย์ระดับกองพล และกองทัพ
ง. การบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย และกองทัพ
๔๒๖. การบริการทางการแพทย์เริ่มปฏิบัติขึ้นก่อนคือระดับใด
ก. ระดับกองพล ข. ระดับกองทัพ
ค. ระดับหน่วย ง. ระดับเขตหลังและเขตภายใน
๔๒๗. พื้นที่กำลังรบ ใช้สำหรับปฏิบัติการทางยุทธวิธีคือเขตใด
ก. เขตหน้า ข. เขตหลัง
ค. เขตยุทธบริเวณ ง. เขตภายใน
๔๒๘. พื้นที่ที่ประกอบด้วยเส้นทางคมนาคม สถานที่ตั้งทางการส่งกำลังบำรุง และการส่งกลับทางการแพทย์ คือเขตใด
ก. เขตหน้า ข. เขตหลัง
ค. เขตยุทธบริเวณ ง. เขตภายใน
๔๒๙. พื้นที่ที่ใช้สำหรับแสวงหาทรัพยากรทั้งทางบุคคลและวัตถุที่เหมาะสมอยู่ในสถานที่ปลอดภัยให้ใช้การได้มากและดีที่สุดคือเขตใด
ก. เขตหน้า ข. เขตหลัง
ค. เขตยุทธบริเวณ ง. เขตภายใน
๔๓๐. วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บจากจุดที่บาดเจ็บ ( สนามรบ ) หรือจากหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหน้า มายังหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหลัง เรียกว่าอะไร
ก. การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บ ข. การส่งคืนผู้ป่วยเจ็บ
ค. การจัดส่งผู้ป่วยเจ็บ ง. การจัดเก็บผู้ป่วยเจ็บ
๔๓๑. ในสนามรบของหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหน้าสุด คืออะไร
ก. ที่พยาบาลกองพล ข. ที่พยาบาลกองทัพ
ค. ที่พยาบาลกองพัน ง. ที่พยาบาลผู้ป่วยเจ็บ
๔๓๒. ในการจัดให้กำลังพลในหน่วยของตนได้รับบริการทางการแพทย์อย่างเพียงพออยู่ในความรับผิดชอบ ของใคร
ก. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น
ข. ผู้บังคับบัญชาที่ใหญ่ที่สุดของหน่วยนั้น
ค. ผู้บังคับหน่วยแพทย์หรือนายแพทย์ใหญ่ในสนาม
ง. หัวหน้าหน่วยที่จัดการด้านกำลังพล
๔๓๓. ข้อใดไม่ใช่หลักทั่วไปที่นำมาใช้ในการสนับสนุนทางการแพทย์ตามจุดมุ่งหมายในสนามรบ
ก. หลักของความต่อเนื่อง หลักของการควบคุม ข. หลักความใกล้ชิด หลักความอ่อนตัว
ค. หลักความประชิดตัว หลักการประสานพลัง ง. หลักความคล่องตัว หลักความสอดคล้อง
๔๓๔. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของหลักความใกล้ชิดที่นำมาใช้ในการสนับสนุนทางการแพทย์ในสนาม
ก. เพื่อสะดวกต่อการควบคุมดูแลและแก้ไขต่อหน่วยแพทย์
ข. แจกจ่ายทรัพยากรทางการแพทย์ทุกชนิดให้ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการยุทธ์
ค. ต้องมีความสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติทางยุทธวิธีของหน่วยที่กำลังดำเนินกลยุทธ์
ง. เพื่อลดอันตรายจากความรุนแรงของโรคและการตายให้น้อยลง
๔๓๕. ผู้บังคับหน่วยแพทย์ยิ่งสามารถได้ทราบสถานการณ์ทางยุทธวิธีมากเท่าใด ก็ยิ่งนำสิ่งใดได้เหมาะสมและประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ก. วางนโยบายทุก ๆ ด้าน ข. วางแผนสนับสนุนทางการแพทย์
ค. ให้นโยบายแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ง. วางแผนการรบ
๔๓๖. การบริการทางการแพทย์ในสนาม หมายถึงอะไร
ก. การนำเอาทรัพยากรทางการแพทย์ผสมผสานกับการปฏิบัติการทางยุทธวิธี
ข. การนำเอาเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ผสมผสานกับความสะดวกสบายในสนาม
ค. การนำเอาเครื่องมือทางการแพทย์ผสมผสานยุทโธปกรณ์ทางยุทธวิธี
ง. การนำเอาเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ผสมผสานกับกำลังพลในสนาม
๔๓๗. ประสิทธิภาพของการบริการทางการแพทย์ในสนาม จัดได้จากสิ่งใด
ก. จำนวนเหรียญกล้าหาญที่ได้รับ
ข. คำชมเชยต่าง ๆ จากผู้บังคับบัญชา
ค. การได้รับชัยชนะจากการสู้รบกับข้าศึกในสนาม
ง. จำนวนผู้ป่วยเจ็บที่สามารถช่วยชีวิตหรือป้องกันความพิการได้
๔๓๘. ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มีกลไกในการหายใจอย่างไร
ก. นำออกซิเจนไปยังหัวใจแล้วส่งไปทั่วร่างกาย
ข. นำออกซิเจนเข้าไปยังปอดแล้วส่งไปทั่วร่างกายโดยผ่านไปตามเส้นโลหิต
ค. นำออกซิเจนจากเส้นโลหิตไปยังหัวใจ
ง. นำออกซิเจนจากหัวใจ แล้วส่งไปเฉพาะส่วนที่สำคัญของร่างกาย
๔๓๙. เซลล์ประสาทที่มีความสำคัญต่อชีวิตซึ่งอยู่ในสมองอาจตายได้หลังขาดออกซิเจนเพียงกี่นาทีเท่านั้น
ก. ๑ นาที ข. ๒ นาที
ค. ๓ นาที ง. ๔ นาที
๔๔๐. ข้อใดไม่ใช่อาการฉุกเฉินที่สามารถทำให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในขั้นอันตรายได้
ก. มีบาดแผลที่เกิดการอักเสบ เจ็บปวด บวมแดง
ข. การขาดระยะของการหายใจ หรืออัตราการเต้นของหัวใจ
ค. การสูญเสียโลหิตอย่างหนัก
ง. ภาวะการหมดสติ
๔๔๑. กลวิธีสำหรับการหายใจโดยใช้การผายปอดกระทำเพื่ออะไร
ก. อากาศผ่านไปสู่หัวใจของผู้ป่วยเจ็บที่พอหายใจได้
ข. อากาศผ่านไปสู่ปอดของผู้ป่วยเจ็บที่พอหายใจได้
ค. อากาศผ่านไปสู่หัวใจของผู้ป่วยเจ็บที่กำลังขาดระยะการหายใจ
ง. อากาศผ่านไปสู่ปอดของผู้ป่วยเจ็บที่กำลังที่ขาดระบบการหายใจ
๔๔๒. กลวิธีสำหรับการหมุนเวียนของโลหิต โดยใช้การปั้มหัวใจ กระทำเพื่ออะไร
ก. ใช้แรงกระแทกลงบนหน้าอก ทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิต
ข. ใช้แรงกดลงบนทรวงอกด้านซ้ายทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี
ค. ใช้ฝ่ามือนวดลงบนทรวงอกด้านซ้าย ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี
ง. ใช้หลังมือกระแทกลงบนหน้าอก ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี
๔๔๓. ในการหายใจมีสิ่งใดที่จำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิต
ก. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ข. ก๊าซไนโตรเจน
ค. ออกซิเจน ง. ก๊าซโอโซน
๔๔๔. ข้อใดไม่ได้จัดอยู่ในระยะของการหายใจ
ก. การหายใจเร็ว ข. การหายใจช้า
ค. การหายใจออก ง. จังหวะหยุด
๔๔๕. วิธีการช่วยชีวิตผู้ป่วยเจ็บ ให้บรรลุผลควรอยู่ในท่านอนอย่างไร
ก. นอนคว่ำ ข. นอนหงายราบ
ค. นอนตามสบาย ง. นอนตะแคง
๔๔๖. การตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจชีพจรบริเวณใดที่สามารถยืนยันผลที่เชื่อถือได้
ก. บริเวณข้อมือ ข. บริเวณขมับ
ค. บริเวณข้อพับ ง. บริเวณลำคอด้านข้าง
๔๔๗. ข้อใดไม่ใช่วิธีการห้ามเลือดให้กับผู้บาดเจ็บที่มีเลือดออกมาก
ก. กดบริเวณทรวงอก ข. กดบริเวณบาดแผล
ค. กดบริเวณเส้นเลือดแดง ง. การขันชะเนาะ
๔๔๘. เมื่อมีเลือดออกภายนอกให้ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณบาดแผล แต่ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหล ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ยกส่วนบาดแผลให้สูงขึ้น รีบไปโรงพยาบาล
ข. เอาผ้าพันแผลเดิมออกแล้วพันใหม่
ค. ให้ใช้ผ้าพันแผลพันทับลงไป
ง. ใช้สมุนไพรปิดบาดแผลให้เลือดหยุดไหล
๔๔๙. ในรายที่สงสัยว่ากระดูกคอหรือกระดูกสันหลังหัก ไม่ควรให้ผู้บาดเจ็บปฏิบัติสิ่งใดเป็นอันขาด จะทำให้เกิดอัมพาตได้
ก. นอนราบ ข. หยุดนั่ง
ค. ห้ามเคลื่อนย้าย ง. อยู่นิ่ง ๆ
๔๕๐. วิธีการขันชะเนาะให้ได้ผล ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ควรคลายขันชะเนาะออกเมื่อมีอาการชา
ข. ควรใช้เชือก สายไฟ ลวด หรือด้ายเล็ก ๆ ทำเป็นขันชะเนาะ
ค. รัดพื้นที่ที่อยู่ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ ห่างบาดแผลประมาณ ๒ นิ้ว
ง. ไม่ควรใช้ผ้านุ่ม ๆ รองโดยรอบก่อนการขันชะเนาะ
๔๕๑. ข้อใดไม่ใช่การลำเลียงด้วยมือ
ก. จัดหาเปลไม่ได้
ข. ภูมิประเทศไม่อำนวยให้ลำเลียง
ค. ชุดเคลื่อนย้ายไม่สามารถออกปฏิบัติงานได้ เนื่องจากการปฏิบัติการของฝ่ายข้าศึก
ง. ลำเลียงผู้ป่วยเจ็บไปได้ในระยะไกล ๆ
๔๕๒. ข้อใดไม่ใช่การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยผ้านุ่ม
ก. อุ้มด้วยการใช้เครื่องอำนวยความสะดวก ข. อุ้มเดี่ยว
ค. อุ้มคู่ ง. อุ้มมากกว่า ๒ คน ขึ้นไป
๔๕๓. วิธีการอุ้มแบบใดที่เหมาะกับคนที่หมดสติและง่ายที่สุดสำหรับการอุ้มเพียงคนเดียว
ก. อุ้มพยุง ข. อุ้มแบก
ค. อุ้มลากด้วยเข็มขัดปืนพก ง. อุ้มทาบหลัง
๔๕๔. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยท่าอุ้มคู่
ก. นำผู้ป่วยเจ็บไปได้ในระยะไกล ๆ
ข. ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยกว่าการอุ้มเดี่ยว
ค. เหมาะสำหรับผู้ป่วยเจ็บที่หมดสติ
ง. มีความปลอดภัยน้อยกว่าการอุ้มเดี่ยว
๔๕๕. การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยท่าอุ้มคู่และการใช้เปลสนาม มีความจำเป็นหรือไม่ต้องมีหัวหน้าหรือผู้บอก ยก ลุก นับ แบก – เปล
ก. จำเป็นจะได้เป็นแนวทางเดียวกัน
ข. ไม่จำเป็นต้องมีหัวหน้า
ค. ใครเป็นหัวหน้าหรือผู้บอกก็ได้
ง. ไม่มีการบอกเกี่ยวกับการอุ้มคู่หรือการใช้เปลสนาม

๔๕๖. ข้อใดไม่ใช่ความมุ่งหมายของการจัดแบ่งพวกเปล
ก. เพื่อให้พวกเปลทราบตำแหน่ง
ข. เพื่อให้รู้หน้าที่ของตนเอง
ค. เพื่อให้ความสุขสบายแก่ผู้ป่วยเจ็บ
ง. เพื่อให้พวกเปลมีระเบียบเรียบร้อย มีวินัย รวดเร็ว ถูกต้อง
๔๕๗. การหามผู้ป่วยเจ็บที่นอนอยู่บนเปลเมื่อออกเดินเอาทางใดไปก่อน
ก. ศีรษะ ข. เท้า
ค. ลำตัวข้างซ้าย ง. ลำตัวข้างขวา
๔๕๘. การหามผู้ป่วยเจ็บบนเปลขึ้นภูเขาหรือขึ้นบันใดต้องเอาส่วนใดขึ้นไปก่อน
ก. เท้า ข. ลำตัวข้างซ้าย
ค. ลำตัวข้างขวา ง. ศีรษะ
๔๕๙. การยกบริเวณที่มีบาดแผลให้ขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่ออะไร
ก. ช่วยเพิ่มความดันในเส้นเลือด
ข. ช่วยให้ความรุนแรงของบาดแผลดีขึ้น
ค. ช่วยลดความดันในเส้นเลือดและทำให้เลือดออกน้อยลง
ง. ช่วยให้การอักเสบ บามแดง ลดน้อยลง
๔๖๐. บริเวณที่ขันชะเนาะต้องเปิดไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเห็นและให้ความระมัดระวัง ข้อใดไม่ใช่วิธีการ
ก. ติดป้ายให้เห็นชัดเจนบริเวณที่ขันชะเนาะ ข. เขียนที่ผ้าแล้วโพกไว้บนศีรษะ
ค. บอกเวลาที่ทำการขันชะเนาะ ง. ใช้หมึกเขียนที่หน้าผากผู้ป่วยเจ็บ
๔๖๑. กรมแพทย์ที่ทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสายวิยาการแพทย์ของกองทัพบก ข้อใดไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบ
ก. จัดให้มีการบริการทางการแพทย์ ในยามปกติ
ข. จัดให้มีการบริการทางการแพทย์ ในยามสงคราม
ค. ให้ปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ง. ปฏิบัติการรบเคียงคู่กับทหารรบเพื่อปราบปรามข้าศึก
๔๖๒. พันธกิจของเหล่าทหารแพทย์มีความยากลำบากกว่างานอื่น ๆ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่สุดคืออะไร
ก. การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บ ข. การรักษาพยาบาล
ค. การส่งเสบียงอาหาร ง. การสนับสนุนอุปกรณ์สายแพทย์
๔๖๓. กระสุนและวัตถุระเบิดที่ติดตัวมากับผู้ป่วยเจ็บ จะถูกเก็บไว้ที่ใด
ก. ที่พยาบาลกองพล ข. ที่พยาบาลกองพัน
ค. ที่พยาบาลกองทัพ ง. โรงพยาบาลในเขตหลัง
๔๖๔. ข้อใดไม่ใช่ที่ตั้งทางการแพทย์ในสนามรบ
ก. ให้ใกล้เข้าไปข้างหน้าเท่าที่จะทำได้ ข. ไกลออกไปข้างหลัง
ค. ตั้งอยู่บริเวณที่มีการสู้รบกับข้าศึก ง. ไม่กีดขวางต่อการปฏิบัติการรบ
วิชา การบรรเทาสาธารณภัย
๔๖๕. สาธารณภัย หมายถึง
ก. ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ
ข. ภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
ค. ภัยที่เกิดจากรถเมล์สาธารณะ
ง. ภัยหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์
๔๖๖. ภัยที่เกิดขึ้นจากสงคราม ถือเป็นสาธารณภัยหรือไม่เพราะเหตุใด
ก. เป็น เพราะเป็นภัยที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์
ข. เป็น เพราะเป็นภัยที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิต
ค. ไม่เป็น เพราะเป็นสงคราม
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
๔๖๗. ภัยที่เกิดจากความไม่สงบภายใน ถือเป็นสาธารณภัยหรือไม่เพราะเหตุใด
ก. ไม่เป็น เพราะเกิดจากความไม่สงบภายใน
ข. เป็น เพราะกระทบกระเทือนต่อความสงบสุขของคนในชาติ
ค. ไม่เป็น เพราะไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๖๘. ภัยที่เกิดจากการโจมตีภายนอก ถือเป็นสาธารณภัยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่เป็น เพราะเป็นสงครามภายนอกประเทศ
ข. เป็น เพราะกระทบกระเทือนต่อความสงบสุขของคนในชาติ
ค. ไม่เป็น เพราะไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๖๙. อัคคีภัย คือภัยที่เกิดจากอะไร
ก. น้ำ ข. ไฟ
ค. ลม ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๐. อุทกภัย คือภัยที่เกิดจากอะไร
ก. น้ำ ข. ไฟ
ค. ลม ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๑. วาตภัย คือภัยที่เกิดจากอะไร
ก. น้ำ ข. ไฟ
ค. ลม ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๒. ไฟป่า ถือเป็นภัยชนิดใด
ก. อัคคีภัย ข. วาตภัย
ค. อุทกภัย ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๗๓. ผลกระทบทางตรง ของสาธารณภัยที่มีต่อประชาชนคือ
ก. เสียชีวิตและทรัพย์สิน ข. เสียญาติ พี่น้อง
ค. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๔. ผลกระทบทางอ้อม ของสาธารณภัยที่มีต่อประชาชนคือ
ก. เสียชีวิตและทรัพย์สิน ข. เสียญาติ พี่น้อง
ค. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๕. ส่วนมากคนไทย เมื่อพูดถึงสาธารณภัย จะนึกถึงภัยอะไรมากที่สุด
ก. อัคคีภัย ข. วาตภัย
ค. อุทกภัย ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๖. ลักษณะการบรรเทาสาธารณภัยระยะแรก แบ่งการปฏิบัติออกเป็นกี่ลักษณะ
ก. ๑ ข. ๒
ค. ๓ ง. ๔
๔๗๗. งานบรรเทาสาธารณภัย ในลักษณะใดคือช่วยให้ปลอดภัยให้พ้นภัย
ก. สงเคราะห์ ข. สงสาร
ค. ช่วยเหลือ ง. ช่วยดู
๔๗๘. งานบรรเทาสาธารณภัย ในลักษณะใดคือช่วยให้ผู้ประสบภัยฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนเกิดสาธารณภัย
ก. สงเคราะห์ ข. สงสาร
ค. ช่วยเหลือ ง. ช่วยดู
๔๗๙. ด้านการป้องกัน หมายถึงอะไร
ก. การวางแผนเพื่อไม่ให้สาธารณภัยเกิดขึ้น ข. การช่วยเหลือ
ค. การสงเคราะห์ ง. ถูกทุกข้อ

๔๘๐. การป้องกันไม่ให้เกิดสาธารณภัย ทำไมทำได้ยาก
ก. การสื่อสารไม่ดี ข. ไม่มีงบประมาณ
ค. สาธารณภัยไม่สามารถควบคุมได้ ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๘๑. ความรุนแรง ของสาธารณภัยระยะใดรุนแรงที่สุด
ก. ระยะแรก ข. ระยะสอง
ค. ระยะอิ่มตัว ง. ระยะสุดท้าย
๔๘๒. ภัยที่เกิดที่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เป็นภัยที่เกิดจากอะไร
ก. อัคคีภัย ข. วาตภัย
ค. อุทกภัย ง. ถูกทุกข้อ
๔๘๓. ซึนามิ เป็นภัยที่เกิดจากอะไร
ก. อัคคีภัย ข. วาตภัย
ค. อุทกภัย ง. ถูกทุกข้อ
๔๘๔. ขั้นตอนใดในการบรรเทาสาธารณภัย ที่มีระยะเวลายาวนานที่สุด
ก. การป้องกัน ข. การระวังภัยและช่วยเหลือ
ค. การให้การสงเคราะห์ ง. ถูกทุกข้อ
๔๘๕. หลักการปฏิบัติในการบรรเทาสาธารณภัย เป็นความรับผิดชอบของใครเป้นหลัก
ก. นักการเมือง ข. รัฐบาลส่วนท้องถิ่น
ค. รัฐบาลกลาง ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
๔๘๖. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไทยเริ่มปฏิบัติงานบรรเทาสาธารณภัยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.ใด
ก. พ.ศ. ๒๕๐๖ ข. พ.ศ. ๒๕๐๗
ค. พ.ศ. ๒๕๐๘ ง. พ.ศ. ๒๕๐๙
๔๘๗. กองตำรวจดับเพลิง มีหน้าที่อะไร ในปี พ.ศ. 2503
ก. บรรเทาสาธารณภัย ข. บรรเทาเหตุอัคคีภัย
ค. ตัดสินคดีความ ง. ถูกทุกข้อ
๔๘๘. ได้เปลี่ยนชื่อ “ กองตำรวจดับเพลิง” เป็นชื่ออะไร
ก. กองดับเพลิง ข. กองกำกับการตำรวจดับเพลิง
ค. ตำรวจดับเพลิง ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๘๙. เมื่อกองตำรวจดับเพลิงได้เปลี่ยนชื่อ ได้มีหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างไร
ก. เป็นหน่วยบรรเทาสาธารณภัย มีความรับผิดชอบมากขึ้น และกว้างขวางขึ้น
ข. เป็นหน่วยบรรเทาอัคคีภัยเหมือนเดิม ความรับผิดชอบเท่าเดิม
ค. มีหน้าที่พิจารณาคดีควบคู่กับการบรรเทาสาธารณภัยไปด้วย
ง. ผิดทุกข้อ
๔๙๐. ศูนย์ฝึกอบรม ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในส่วนภูมิภาค มีกี่แห่ง
ก. ๑ ข. ๒
ค. ๓ ง. ๔
๔๙๑. ศูนย์ฝึกอบรม มีหน้าที่หน้าที่หลักกี่ประการ
ก. ๑ ข. ๒
ค. ๓ ง. ๔
๔๙๒. ให้การอบรมแก่เจ้าหน้าที่เทศบาล สุขาภิบาล เจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ เป็นหน้าที่หลักของ “ ศูนย์ฝึกอบรม” หรือไม่ เพราะอะไร
ก. ไม่ เพราะมีหน่วยงานอื่นมารับหน้าที่อบรมแทน
ข. ไม่ เพราะอยู่นอกเหนือหน้าที่หลัก
ค. เป็น เพราะอยู่ในหน้าที่หลัก และเป็นความรับผิดชอบหลัก
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
๔๙๓. การดำเนินงานเกี่ยวกับสาธารณภัย โดยกระบวนการทั้งหมดของสิ่งที่ต้องทำ แบ่งออกเป็นกี่ส่วน
ก. ๑ ส่วน ข. ๒ ส่วน
ค. ๓ ส่วน ง. ๔ ส่วน
๔๙๔. ส่วนที่ ๒ ของการดำเนินงานเกี่ยวกับสาธารณภัย คืออะไร
ก. การระวังป้องกันและการช่วยเหลือ ข. การป้องกัน
ค. การสงเคราะห์ ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๙๕. ขั้นตอนของการดำเนินงานเกี่ยวกับสาธารณภัย ขั้นตอนใดหากมิได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว เกือบถือเป็นงานเดียวกัน
ก. ขั้นแรกกับขั้นที่สอง ข. ขั้นสองกับขั้นสุดท้าย
ค. ขั้นแรกกับขั้นสุดท้าย ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๙๖. ในการช่วยกันป้องกันสาธารณภัย หน้าที่หลักเป็นของใคร
ก. รัฐบาล ข. เอกชน
ค. นักศึกษา ง. ไม่มีข้อใดถูก
Google