วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วิชา ครูทหารผู้นำ

๑๑๓. วิธีการสอนในวิชาทหาร เช่น ในวิชาการฝึกบุคคลท่ามือเปล่าใช้การสอนในลักษณะใด
ก. เชิงบรรยาย ข. เชิงประชุม
ค. เชิงแสดง ง. เชิงวิเคราะห์
๑๑๔. แบบหรือวิธีสอนที่ใช้เป็นหลักในวิชาทหารนั้น มีด้วยกันทั้งหมดกี่แบบ
ก. ๒ แบบ ข. ๓ แบบ
ค. ๔ แบบ ง. ๕ แบบ
๑๑๕. วิธีการสอนในวิชาทหาร ในวิชา ครูทหาร – ผู้นำ ใช้การสอนในลักษณะใดบ้าง
ก. เชิงวิเคราะห์ , เชิงประชุม ข. เชิงแสดง , เชิงประชุม
ค. เชิงวิเคราะห์ , เชิงบรรยาย ง. เชิงบรรยาย , เชิงแสดง
๑๑๖. ข้อใดจัดเป็นข้อเสียของเชิงบรรยาย
ก. ครูรับบทหนักในการสอนแต่เพียงผู้เดียว
ข. การรับรู้ของนักเรียนได้ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร
ค. เวลาจำกัด
ง. เป็นการไม่ส่งเสริมการใช้ความคิดของนักเรียน
๑๑๗. การสอนเชิงบรรยาย ไม่สมควรจะนำมาสอนนักเรียนทหารในระดับใด
ก. นักศึกษาวิชาทหาร ข. พลทหาร
ค. นักเรียนนายสิบ ง. นักเรียนนายร้อย
๑๑๘. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการสอนเชิงประชุม
ก. สามารถแก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียนได้ทันที
ข. นักเรียนจะใช้ความคิดและสนใจต่อบทเรียนตลอดเวลา
ค. ครูจะทราบความรู้และความเข้าใจของนักเรียน
ง. ครูรับภาระในการสอนน้อยลงกว่าการสอนในลักษณะอื่น ๆ
๑๑๙. วิธีการสอนเชิงประชุม เหมาะที่จะใช้กับนักเรียนระดับใดบ้าง
ก. ทุกระดับ ข. ระดับพลทหาร
ค. ระดับนักเรียนยายสิบ ง. ระดับนักเรียนนักเรียน
๑๒๐. การสอนวิธีใดเป็นโอกาสนักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นโดยการถามคำถามแก่นักเรียน
ก. เชิงวิเคราะห์ ข. เชิงประชุม
ค. เชิงแสดง ง. เชิงบรรยาย
๑๒๑. จุดมุ่งหมายในการสอนทหาร มุ่งเน้นไปในจุดใดเป็นหลัก
ก. ขีดความสามรถ ข. กำลัง
ค. ความสามรถในด้านต่าง ๆ ง. การปฏิบัติ
๑๒๒ การสอนเชิงแสดง สามารถแบ่งออกเป็นกี่ปะเภท
ก. ๕ ประเภท ข. ๖ ประเภท
ค. ๘ ประเภท ง. ๑๐ ประเภท
๑๒๓. การปฏิบัติทางยุทธวิธี การที่จะแสดงให้นักเรียนเห็นได้ อาจจำเป็นต้องพึ่งยุทโธปกรณ์ชนิดใดเป็นสำคัญ
ก. โต๊ะทราย ข. เข็มทิศ
ค. โปรเจคเตอร์ ง. คอมพิวเตอร์
๑๒๔. วิธีการใดไม่ใช่วิธีการสอนเชิงแสดง
ก. แสดงยุทโธปกรณ์ ข. แสดงบนเวที
ค. การอธิบาย ง. การแสดงด้วยสื่อ
๑๒๕. ผู้นำทางการทหารที่มักจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมักเกิดจากสิ่งใดเป็นหลักสำคัญ
ก. สถาบันที่จบมา ข. เพื่อนฟ้อง
ค. ความรู้และการศึกษา ง. เทคนิคทางการพูด
๑๒๖. สิ่งที่สามารถข่มความประหม่าในการสอนได้เป็นอย่างดี สิ่งนั้นคืออะไร
ก. รอยยิ้ม ข. ความเป็นระเบียบ
ค. วินัย ง. การวางแผนการสอน
๑๒๗. การเตรียมตัวและวางแผนในการสอน จะต้องมีสิ่งใดอีกที่จะใช้เมื่อความข่อความประหม่าในการสอนแต่ละครั้ง
ก. ความพร้อมในหลักสูตร ข. การสร้างความเชื่อมั่น
ค. แผนการสอน ง. อารมณ์ขัน
๑๒๘. เมื่อเกิดอาการประหม่าขึ้น บุคคลมักจะแสดงอาการใดบ้าง
ก. พูดเร็ว ข. หัวเราะ
ค. พูดไม่ออก ง. ขาสั่น
๑๒๙. ข้อใดบอกถึงลักษณะการวางท่าทางอย่างเหมาะสมในการสอนมากที่สุด
ก. อย่ายืน ณ จุดเดียวตลอด , อย่าเดินไปเดินมาตลอด
ข. ยืนกุมมือใต้เข็มขัด
ค. ยืนล้วงกระเป๋า
ง. ยืนถือไม้ชี้ตลอดเวลา

๑๓๐. การยืนในลักษณะใดที่มีลักษณะยืนพิงผนังและยืนในลักษณะอาการที่ไม่มีเรี่ยวแรง
ก. ยืนกุมใต้เข็มขัด ข. ยืนล้วงกระเป๋า
ค. ยืนโดยใช้ไม้ชี้ ง. ยืนลักษณะคนสิ้นใจ
๑๓๑. มูลเหตุในข้อใดที่จะส่งผลให้ครูเกิดความกระตือรือร้น
ก. มีความรู้เรื่องและประโยชน์ของเรื่องที่จะสอน
ข. พูดจาฉะฉานและมีสื่ออุปกรณ์ที่ดี
ค. ใช้สื่อทันสมัยที่สุด
ง. การใช้ภาษาทันสมัยที่สุด
๑๓๒. ข้อใดเป็นพื้นฐานของการใช้เสียงที่เหมาะสมอันดับแรก
ก. ระดับเสียง ข. จังหวะการพูด
ค. เลือกใช้คำพูด ง. คุณภาพของเสียง
๑๓๓. ข้อใดไม่ใช่หลักในการพัฒนานิสัยการพูดให้มีประสิทธิภาพ
ก. ติชม ข. วิเคราะห์การพูดของตนเอง
ค. ศึกษาจุดด้อยของตนเอง ง. กล่าวแก้ตัว
๑๓๔. ขั้นตอนแรกในการเตรียมการสอน คืออะไร
ก. พิจารณาถึงความมุ่งหมายของบทเรียน
ข. สังเกตพฤติกรรมของบทเรียน
ค. กำหนดแนวทางการศึกษาในห้องเรียน
ง. ตรวจสอบภูมิปัญญาและระดับความรู้ของผู้เรียน
๑๓๕. เมื่อทำการกำหนดจุดมุ่งหมายในเนื้อหาที่สอนแล้ว จะต้องพิจารณาถึงสิ่งใดต่อไป
ก. ทักษะและความรู้ในการที่จะให้ผู้รับการศึกษาปฏิบัติ
ข. หาข้อมูลปลีกย่อยมาประกอบ
ค. หาภาพและสื่อต่าง ๆ มาประกอบหลักสูตร
ง. แนะนำประสบการณ์หรือแนวทางในการปฏิบัติ
๑๓๖. ขั้นตอนแรกในการพิจารณาวิธีดำเนินการสอน คืออะไร
ก. วิธีและเทคนิค ข. แบ่งขั้นตอน
ค. จัดให้นักเรียนมีส่วนร่วม ง. จัดลำดับเรื่องที่จะสอน
๑๓๗. แผนบทเรียนมีประโยชน์ไว้เพื่ออะไร
ก. เป็นหลักฐานในการทำงานของผู้สอน ข. เป็นหัวข้อสำหรับการสอน
ค. ใช้เป็นแนวทางในการสอน ง. ไว้เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
๑๓๘. ชนิดของแผนบทเรียน แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. ชนิด , บทความ , วลี ข. ชนิดประโยค , วลี , บทความ
ค. ย่อหน้า , คำ , ชนิดประโยค ง. บทความ , วลี , องค์ความรู้
๑๓๙. ขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนเพื่อทราบถึงความก้าวหน้าในการสอนของผู้สอน
ก. การประเมินผล ข. การเตรียมแผนบทเรียน
ค. การค้นคว้าหาความรู้ ง. การจัดความมุ่งหมาย
๑๔๐. “ กระบวนการที่ใช้ทุกคำถาม เพื่อรุกให้ผู้ถูกทดสอบแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ หลังจากจบการสอนบทเรียนใดบทเรียนหนึ่ง ผลของการทดสอบมักจะแสดงเป็นตัวเลขมากน้อยแทนคุณลักษณะของผู้ถูกทดสอบ” ตามบทความนี้เป็นคำจำกัดความของการประเมินผลในลักษณะใด
ก. การวัดผล ข. การประเมินผล
ค. การทดสอบ ง. แบบทดสอบ
๑๔๑. “ กระบวนการวัดคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ของบุคคลโดยไม่จำกัดวิธี เช่น สังเกต , สัมภาษณ์” เป็นคำจำกัดความของการประเมินผลในลักษณะใด
ก. การตอบแบบสอบถาม ข. การทำงานวิจัย
ค. การวัดผล ง. การทดสอบ
๑๔๒. “ กระบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่วัดได้จากการวัดว่าเป็นไปตามความประสงค์หรือถูกต้องมากน้อยเพียงไร” ตามบทความนี้คือคำจำกัดความของการประเมินผลในลักษณะใด
ก. การวิจัย ข. การวัดผล
ค. การประเมินผล ง. การทดสอบ
๑๔๓. วัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายของการทดสอบมีด้วยกัน ๔ ประการ ข้อใดไม่เข้าพวก
ก. ปรับปรุงการสอน ข. เร้าใจต่อการเรียน
ค. กำหนดระดับการเรียน ง. กำหนดระดับการสอน
๑๔๔. แบบในการประเมินผล แบ่งได้ ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ข้อใดไม่เข้าพวก
ก. สอบข้อเขียน ข. สอบปฏิบัติ
ค. สอบวัดระดับผู้สอน ง. ประเมินค่าด้วยการสังเกต
๑๔๕. การทดสอบที่นำมาใช้วัดความรู้ทักษะและความสามารถของนักเรียนได้เป็นอย่างดี เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งในระดับนักเรียน อยากทราบว่าเป็นลักษณะการประเมินผลแบบใด
ก. สอบปากเปล่า ข. สอบข้อเขียน
ค. สอบแบบสังเกตการณ์ ง. สอบปฏิบัติ
๑๔๖. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของข้อสอบที่ดี
ก. มีความเที่ยงตรงถูกต้อง ข. มีความเชื่อถือได้
ค. ออกตามที่สอน ง. สามารถทำได้ทุกคน
๑๔๗. ปัจจัยที่เป็นผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการรบ
ก. ขีดความสามารถของทหาร ข. ขีดความสามารถของผู้นำ
ค. ข่าวลือ ง. ภูมิอากาศ
๑๔๘. ข้อใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบคอยสังเกตความผันแปรของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หน่วยทหารอาจมีความรู้สึกว่าวิกฤติ
ก. ผู้บังคับหน่วยทหารขนาดเล็ก ข. ผู้บังคับกองพัน
ค. ผู้บังคับหมู่ ง. ทหารทุกคน
๑๔๙. สิ่งใดเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องมือทำลายความเชื่อมั่นและก่อให้เกิดความไม่แน่ใจในการรบนั้น ๆ
ก. ความกลัว ข. ความตื่นตระหนกตกใจ
ค. ข่าวลือ ง. ความมีน้ำใจ
๑๕๐. ความแตกต่างของความเชื่อมั่น แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ ๆ อะไรบ้าง
ก. ความเชื่อมั่นจริงจัง , ความเชื่อมั่นไม่แน่ใจ
ข. ความเชื่อมั่นแน่นอน และไม่แน่นอน
ค. ความเชื่อมั่นต่อจิตใจ , ความเชื่อมั่นต่อหน่วยงาน
ง. ความเชื่อมั่นในตนเอง และต่อคนรอบข้าง
๑๕๑. ข้อใดไม่ใช่มาตรการในการใช้ควบคุมข่าวลือ
ก. จัดให้มีโครงการแถลงข่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข. จัดให้มีการกระจายข่าวสารและการปฏิบัติการอย่างสมบูรณ์ที่สุด
ค. เสริมสร้างความเชื่อมั่นของตนเองในหน่วยทหาร
ง. แจ้งเรื่องให้ทหารราบเกี่ยวกับรายละเอียดข่าวลือต่าง ๆ
๑๕๒. เมื่อทหารอยู่ในห้วงอารมณ์แห่งความกลัว จะส่งผลกระทบใดมากที่สุด
ก. ระดับความคิดลดน้อยลง ข. ขาดความกล้าหาญ
ค. ระดับความฉลาดลดลง ง. ระดับการใช้เหตุผลลดลง
๑๕๓. วิธีการใดที่สามารถใช้ควบคุมความกลัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ก. ซ่อนความกลัวเอาไว้ ข. แสดงออกเต็มที่
ค. หลบหนี ง. หัวเราะร่วน
๑๕๔. “ การขาดแคลนอาวุธและกระสุน , การมีอาวุธยิงสนับสนุนไม่เพียงพอ , หมอกควัน , ป่า , ความมืด” ถือเป็นสภาวะการณ์ด้านใด
ก. สภาวะการณ์ด้านวัตถุ ข. สภาวะจิตใจ
ค. สภาพขวัญกำลังใจ ง. สภาพทางยุทธวิธี

๑๕๕. “ สิ่งที่เป็นอันตรายหรือคาดว่าเป็นอันตราย , ความไม่ปลอดภัย , ความไม่แน่ใจในสถานการณ์” ถือเป็นสภาวะการณ์ด้านใด
ก. ด้านวัตถุ ข. จิตวิทยา
ค. ขวัญกำลังใจ ง. ยุทธวิธี
๑๕๖. “ ความคิดถึงบ้าน ครอบครัว ความเบื่อหน่าย ข่าวลือ ขาดความเชื่อมั่นและขาดการติดต่อ” ถือเป็นสภาวะการณ์ด้านใด
ก. วัตถุ ข. จิตวิทยา
ค. ขวัญกำลังใจ ง. ยุทธวิธี
๑๕๗. การแตกสลายของหน่วย การสูญเสียจากความพ่ายแพ้ ความขัดแย้งในกาสั่งการ การติดต่อสื่อสารผิดพลาดถือเป็นสภาวะการณ์ด้านใด
ก. ทางยุทธวิธี ข. ขาดความเป็นผู้นำ
ค. ทางวัตถุ ง. ทางจิตวิทยา
๑๕๘. ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บังคับบัญชา หากทหารในหน่วยของท่านเกิดอาการตื่นตระหนกเนื่องจากเสียขวัญจากการรบท่านจะทำเช่นไร
ก. ใจเย็น แสดงทัศนะคติที่กล้าหาญ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเด็ดขาด
ข. ใช้อาวุธบังคับทหาร
ค. ยิงทหารที่เสียขวัญทั้งหมด
ง. รอให้เหตุการณ์สงบ
๑๕๙. สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการพัฒนาความกล้าหาญในหน่วยทหารคืออะไร
ก. ฝึกฝนตนเอง
ข. ฝึกฝนทหารให้มีความช่ำชอง
ค. บำรุงขวัญกำลังใจเสมอ ๆ
ง. แสดงความเป็นผู้นำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็น
๑๖๐. ในภารกิจแต่ละภารกิจ สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ก. การปฏิบัติภารกิจที่สำเร็จลุล่วง ข. ลูกน้องภายในหน่วย
ค. ผู้บังคับบัญชา ง. ยุทโธปกรณ์ในหน่วยงาน
Google