วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วิชา การอ่านแผนที่และการใช้เข็มทิศ

วิชา การอ่านแผนที่และการใช้เข็มทิศ
๑. แผนที่ที่ทางทหารใช้ในการปฏิบัติการทางยุทธวิธีมีมาตราส่วน คือ
ก. ๑ : ๒๕,๐๐๐ ข. ๑ : ๕๐,๐๐๐
ค. ๑ : ๑๐๐,๐๐๐ ง. ๑ : ๒๕๐,๐๐๐
๒. เลขอักษรที่แสดงไว้ในกรอบอ้างค่ากริด เช่น 47 P หมายถึง
ก. เลขอักษรประจำเจตกริด ข. อักษรประจำจัตุรัสแสนเมตร
ค. เลขระวาง ง. เลขลำดับชุด
๓. การแบ่งเขตโซนในระบบยูทีเอ็ม จะแบ่งได้กี่เขตโซน
ก. ๕๐ โซน ข. ๖๐ โซน
ง. ๗๐ โซน ง. ๘๐ โซน
๔. อักษรประจำจัสตุรัสแสนเมตรของ ผท.มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ตัวอย่าง เช่น
ก. PQ ข. ๔๘ N
ค. Z RTSD ง. L ๗๐๑๗
๕. การแบ่งกริดโซนระหว่างลองจิจูดตะวันตกกับตะวันออก คือ
ก. ๙๐ องศาตะวันตก – ๑๘๐ องศาตะวันออก
ข. ๑๘๐ องศาตะวันตก – ๙๐ องศาตะวันออก
ค. ๑๘๐ องศาตะวันตก – ๑๘๐ องศาตะวันออก
ง. ๑๘๐องศาตะวันตก – ๓๖๐ องศาตะวันออก
๖. ความกว้างและความยาวของกริดโซนเป็นองศา คือ
ก. กว้าง ๓ องศา ยาว ๕ องศา ข. กว้าง ๕ องศา ยาว ๑๕ องศา
ค. กว้าง ๖ องศา ยาว ๘ องศา ง. กว้าง ๘ องศา ยาว ๑๐ องศา
๗. การแบ่งกริดโซนของละติจูดใต้และเหนือจะแบ่งที่เส้นกี่องศา
ก. ๖๐ องศาใต้ – ๘๐ องศาเหนือ ข. ๘๐ องศาเหนือ – ๖๐ องศาใต้
ค. ๘๐ องศาใต้ – ๘๔ องศาเหนือ ง. ๘๔ องศาเหนือ – ๘๐ องศาใต้
๘. ทุกจัตุรัสกริดบน ผท.มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ จะมีค่ากี่เมตร
ก. ๑๐,๐๐๐ เมตร ข. ๑,๐๐๐ เมตร
ค. ๑๐๐ เมตร ง. ๑๐ เมตร


๙. การอ่านพิกัดกริดทางทหารในระบบยูทีเอ็มอ่านได้ดังนี้
ก. อ่านไปทางซ้ายแล้วขึ้นบน ข. อ่านไปทางซ้ายแล้งลงล่าง
ค. อ่านไปทางขวาแล้วขึ้นบน ง. อ่านไปทางขวาแล้วลงล่าง
๑๐. การอ่านพิกัดให้ใกล้เคียงระยะ 1000 เมตร จะอ่านเป็นตัวเลขได้กี่ตัว
ก. ๔ ตัว ข. ๖ ตัว
ค. ๘ ตัว ง. ๑๐ ตัว
๑๑. การอ่านพิกัดเป็นตัวเลข 6 ตัว จะอ่านใกล้เคียงระยะกี่เมตร
ก. ๑๐ เมตร ข. ๑๐๐ เมตร
ค. ๑,๐๐๐ เมตร ง. ๑๐,๐๐๐ เมตร
๑๒. การอ่านพิกัดให้ใกล้เคียงระยะ 10 เมตร จะอ่านเป็นตัวเลขได้กี่ตัว
ก. ๑๐ ตัว ข. ๘ ตัว
ค. ๖ ตัว ง. ๔ ตัว
๑๓. เส้นที่ลากรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก คือ เส้น
ก. เส้นละติจูดตะวันออก ข. เส้นลองติจูดเหนือ
ค. เส้นอีเควเตอร์ ง. เส้นเมอร์ริเดียน
๑๔. เส้นที่ลากจากขั้วโลกเหนือมาขั้วโลกใต้ คือเส้น
ก. เส้นลองติจูดเหนือ ข. เส้นลองติจูดใต้
ค. เส้นเมอร์ริเดียน ง. เส้นอีเควเตอร์
๑๕. เส้นเมอร์ริเดียนผ่านกลางลากมาตัดกับเส้นอีเควเตอร์โดยทำมุมฉากกันและกัน จุดตัดนี้เรียกว่า
ก. จุดกำหนดอักษรโซน ข. จุดกำหนดเลขโซน
ค. จุดที่อยู่ของโซน ง. จุดศูนย์กำเนิด
๑๖. เส้นชั้นความสูงที่มีสีน้ำตาลบนแผนที่ ถือระดับความสูงจากระดับใด
ก. จากระดับน้ำทะเลสูงสุด ข. จากระดับน้ำทะเลต่ำสุด
ค. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ง. จากพื้นระดับเริ่มต้นของพื้นดิน
๑๗. เส้นชั้นความสูงมีกี่ประเภท
ก. ๔ ประเภท ข. ๕ ประเภท
ค. ๖ ประเภท ง. ๗ ประเภท
๑๘. เส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นจะห่างกันประมาณกี่เมตร
ก. ๕ เมตร ข. ๑๐ เมตร
ค. ๒๐ เมตร ง. ๒๕ เมตร


๑๙. เส้นชั้นความสูงหลักมีเลขกำกับ ๑๐๐ ๒๐๐ ๓๐๐ มีลักษณะดังนี้
ก. เส้นมีสีน้ำตาลหนาทึบกว่า ข. เส้นมีสีน้ำตาลบางกว่า
ค. เส้นมีสีน้ำตาลเป็นเส้นประ ง. เส้นสีน้ำตาลมีขีดลายขวานสับ
๒๐. เส้นชั้นความสูงที่มาบรรจบกันหลาย ๆ วง วงในที่เล็กที่สุดและมีกากบาทกับตัวเลข เช่น หมายถึง
ก. คอเขา ข. สันเขา
ค. ยอดเขา ง. หุบเขา
๒๑. การบอกถึงพื้นที่ที่มีความต่ำ เช่น แอ่งน้ำ หนอง บึง จะเขียนไว้ด้วยเส้นชั้นประเภทใด
ก. เส้นชั้นความสูงหลัก ข. เส้นชั้นความสูงรอง
ค. เส้นชั้นความสูงแทรก ง. เส้นชั้นความสูงดีเพรสชั่น
๒๒. เข็มทิศเลนเซติกที่ตั้งเรือนในแผ่นลูกศรจะบอกค่าของมุมอยู่ ๒ ชนิด คือ
ก. องศา ลิปดา ข. องศา มิลเลียม
ค. ลิปดา ฟิลิปดา ง. องศา ฟิลิปดา
๒๓. ที่ครอบหน้าปัดเข็มทิศ หากต้องการตั้งเข็มทิศในเวลากลางคืน สามารถหมุมทวนเข็มและตามเข็มนาฬิกาได้ ๑ คลิ๊ก เท่ากับกี่องศา
ก. ๑ องศา ข. ๒ องศา
ค. ๓ องศา ง. ๔ องศา
๒๔. การตั้งเข้มทิศในเวลากลางคืนเมื่อไม่มีแสงสว่างต้องปฏิบัติตั้ง ๓ อย่าง ให้ตรงกัน คือ
ก. ดรรชนีสีดำ ลูกศร เส้นเล็ง ข. ดรรชนีสีดำ ลูกศร ห่วงถือ
ค. ดรรชนีสีดำ ลูกศร ขีดพรายน้ำ ง. ดรรชนีสีดำ ครอบหน้าปัด ลูกศร
๒๕. เข็มทิศควรอยู่ห่างจากหมวกเหล็กหรืออาวุธประจำกาย คือ
ก. ๐.๕ เมตร ข. ๑ เมตร
ค. ๒ เมตร ง. ๓ เมตร
๒๖. การแปลงค่ามุมกลับหรือมุมตรงกันข้ามมีวิธีคิดดังนี้
ก. เอา ๙๐ องศา + หรือ - ข. เอา ๑๘๐ องศา + หรือ -
ค. เอา ๒๗๐ องศา + หรือ - ง. เอา ๓๖๐ องศา + หรือ -
๒๗. การเดินผ่านเครื่องกีดขวางซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสนุษย์สร้างขึ้นมีข้อปฏิบัติดังนี้
ก. หักทางขวา + ๙๐ องศา ข. หักทางขวา + ๑๘๐ องศา
หักทางซ้าย - ๙๐ องศา หักทางซ้าย - ๑๘๐ องศา
ค. หักทางขวา + ๒๗๐ องศา ง. หักทางขวา + ๓๖๐ องศา
หักทางซ้าย - ๒๗๐ องศา หักทางซ้าย - ๓๖๐ องศา


๒๘. ถ้ามุมภาคทิศวัดได้ ๒๓๕ องศา มุมตรงกันข้ามจะเป็นมุม
ก. ๑๕๕ องศา ข. ๒๕๕ องศา
ค. ๓๕๕ องศา ง. ๕๕ องศา
๒๙. การใช้เครื่องมือวัดมุม P – ๖๗ เพื่อทำการช่วยในการวัดมุมภาคที่บริเวณส่วนโค้งจะบอกค่าของมุมอยู่ ๒ ชนิด คือ
ก. วงใน ๑๘๐ องศา – ๓๖๐ องศา ข. วงใน ๐ องศา - ๙๐ องศา
วงนอก ๐ องศา - ๑๘๐ องศา วงนอก ๙๐ องศา - ๑๘๐ องศา
ค. วงใน ๑๘๐ องศา - ๒๗๐ องศา ง. วงใน ๐ องศา - ๑๘๐ องศา
วงนอก ๒๗๐ องศา - ๓๖๐ องศา วงนอก ๑๘๐ องศา - ๓๖๐ องศา
๓๐. สีที่ใช้ในการเขียนเครื่องหมายทางทหารของฝ่ายข้าศึกใช้สีอะไร
ก. สีดำ ข. สีแดง
ค. สีน้ำเงิน ง. สีเขียว
๓๑. เมื่อเขียนหน่วยทหารไม่ระบุเหล่าและขนาดหรืออื่นใด จะเขียนไว้ดังนี้ คือ
ก. ข.
ค. ง.
๓๒. การแสดงขนาดของหน่วย เช่น กองร้อย พัน สามารถเขียนได้จากหน่วยต่ำสุดจนถึงสูงสุด คือ
ก. ระดับหมู่ – กองร้อย ข. ระดับ มว. – กองพล
ค. ระดับกองร้อย – กองทัพ ง. ระดับ หมู่ – กองทัพ
๓๓. จงอธิบายความหมายของเครื่องหมายทางทหารดังต่อไปนี้ คือ ๒
ก. กรมทหารสรรพาวุธที่ ๒ ข. กรมทหารม้าที่ ๒
ค. กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ง. กรมทหารขนส่งที่ ๒
๓๔. ตำบลจ่ายสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ตำบลจ่าย สป. ๓ ของ กองพล จะเขียนได้ดังนี้
ก. ข.
ค. ง.
๓๕. จัเขียนสัญลักษณ์ของหน่วยทหารดังต่อไปนี้ กองร้อยทหารราบที่ ๒ กองพันทหารราบที่ ๓
กรมทหารราบที่ ๙
ก. ๒ ๓ / ๙ ข. ๒ ๓ / ๙
ค. ๒ / ๓ ๙ ง. ๒ / ๓ ๙
๓๖. ที่ตั้งหน่วยทหารในอนาคตมักเขียนได้ดังนี้
ก. ข.
ค. ง.
๓๗. ขนาดของหน่วยทหารที่แสดงไว้ด้านบนของหน่วยทหารหากเป็นระดับ กองทัพจะเขียนได้ดังนี้
ก. x ข. xx
ค. xxx ง. xxxx
๓๘. แผ่นบริวารคือกระดาษที่มีลักษณะค่อนข้างใสใช้กับสิ่งใด
ก. ใช้กับเครื่องวัดมุม p – 67 ข. ใช้กับเข็มทิศเลนเซติก
ค. ใช้กับล้อวัดระยะทาง ง. ใช้กับแผนที่หรือภาพถ่ายทางอากาศ
๓๙. แผ่นบริวารนั้นจะใช้ในฐานะเป็นเอกสารเพื่อประกอบกับอะไร
ก. โต๊ะทราย ข. สนามยุทธวิธี
ค. คำสั่งต่าง ๆ ง. หน่วยทหารราบ
๔๐. การเริ่มทำแผ่นบริวารมีอยู่ ๓ ขั้น คือ
ก. วางกระดาษถูกที่ ข. การกรุยรายละเอียดต่าง ๆ
ค. รายละเอียดขอบระวาง ง. ถูกทุกข้อ
๔๑. การทำเครื่องหมายกากบาทแสดงพิกัดของแผนที่ไว้ใกล้ ๆ มุมทั้งสองข้างเพื่ออะไร
ก. เพื่อให้วางทาบบน ผท.ถูกต้อง ข. เพื่อให้ทราบพิกัดกริด
ค. เพื่อให้รู้การกรุยจุด ง. เพื่อให้ทราบรายละเอียดขอบระวาง
๔๒. การกรุยจุดลงบนแผ่นบริวาร หมายถึง
ก. การเขียนเครื่องหมานต่าง ๆ ข. การกรุยที่ต่ำต่าง ๆ
ค. สัญลักษณ์ทางทหาร ง. ถูกทุกข้อ
๔๓. การเขียนรายละเอียดขอบระวางสำหรับแผ่นบริวารจะบอกถึง
ก. มาตราส่วน ผท. ชื่อระวาง หมายเลขระวาง ข. ที่ตั้ง วัน เวลา เดือน ปี
ค. ยศ ชื่อ ตำแหน่ง ผู้จัดทำ ง. ถูกทุกข้อ
๔๔. เครื่องหาพิกัดด้วยสัญญาณดาวเทียม SILVA เมื่อเปิดการใช้งานครั้งแรกของแต่ละวัน
จะใช้เวลาประมาณ
ก. ๒ – ๓ นาที ข. ๕ – ๑๐ นาที
ค. ๑๕ – ๒๐ นาที ง. แสดงพิกัดทันที
๔๕. เครื่อง GPS ( SILVA ) สามารถใช้ในอุณหภูมิต่ำสุดกี่องศา
ก. – ๐ องศา ข. – ๕ องศา
ค. - ๑๕ องศา ง. - ๒๕ องศา

๔๖. เครื่อง GPS ( SILVA ) สามารถใช้ในอุณหภูมิสูงสุดกี่องศา
ก. + ๒๕ องศา ข. + ๕๐ องศา
ค. + ๗๐ องศา ง. + ๗๕ องศา
๔๗. เครื่อง GPS ( SILVA ) สามารถพยากรณ์อากาศได้ล่วงหน้ากี่ชั่วโมง
ก. ๕ ชม. ข. ๑๐ ชม.
ค. ๑๒ ชม. ง. ๑๕ ชม.
๔๘. หน้าจอ GPS ( SILVA ) ทำงานเวลาสามารถบอก เวลา วัน วันที่ เดือน ปี และ
ยังบอกอื่น ๆ ได้อีก เช่น
ก. เวลาตกปลาดี ไม่ดี ข. พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก
ค. พระจันทร์ขึ้น พระจันทร์ตก ง. น้ำทะเลขึ้น น้ำทะเลลง
วิชา แบบธรรมเนียมทหาร
๔๙. การจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เริ่มใช้ใน พ.ศ.ใด
ก. พ.ศ. ๒๕๐๓ ข. พ.ศ. ๒๕๔๐
ค. พ.ศ. ๒๕๐๒ ง. พ.ศ. ๒๕๐๔
๕๐. กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องใด
ก. ป้องกันสถาบันพระมหากษัตริย์
ข. รักษาความมั่นคงทั้งภายในและภายนอก
ค. ป้องกันและรักษาความมั่นคงของอาณาจักร
ง. ถูกทุกข้อ
๕๑. กระทรวงกลาโหม มีใครเป็นผู้บังคับบัญชา
ก. ผู้ว่าราชการ ข. รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ง. องคมนตรี
๕๒. กระทรวงกลาโหมแบ่งส่วนราชการอยู่เป็นกี่ส่วน
ก. ๔ ส่วน ข. ๕ ส่วน
ค. ๖ ส่วน ง. ๗ ส่วน
๕๓. ประธานสภากลาโหม คือ
ก. พระมหากษัตริย์ ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ค. นายกรัฐมนตรี ง. ไม่มีข้อใดถูก
๕๔. ธงชาติ เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นเอกราชของประเทศ เป็นสิ่งเชิดชูในความสง่าแก่ชาติและเป็นสิ่งที่ต้องเคารพ ปัจจุบัน เราใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ถามว่า ธงไตรรงค์ เริ่มใช้ในรัชกาลใด
ก. รัชกาลที่ ๔ ข. รัชกาลที่ ๕
ค. รัชกาลที่ ๖ ง. รัชกาลที่ ๗
๕๕. ธงชัยเฉลิมพล ถือเป็นธงของหน่วยทหารใด
ก. ทหารบก ข. ทหารเรือ
ค. ทหารอากาศ ง. ตำรวจ
๕๖. ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติธง และวางระเบียบการชักธงชาติไว้ในปี พ.ศ.ใด
ก. พ.ศ. ๒๕๐๖ ข. พ.ศ. ๒๕๐๓
ค. พ.ศ. ๒๕๒๐ ง. พ.ศ. ๒๕๒๒
๕๗. ในทุก ๆ ปี ทหารจะมีสิ่งสำคัญ คือพิธีสาบานธงต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล ในวันใดของทุกปี
ก. วันที่ ๑๕ ม.ค. ของทุกปี ข. วันที่ ๑๕ ธ.ค. ของทุกปี
ค. วันที่ ๒๕ ม.ค. ของทุกปี ง. วันที่ ๒๕ ธ.ค. ของทุกปี
๕๘. เมื่อมีการออกกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับใด ๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือบรมให้บุคคลต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. ผู้บัญชาการทหารบก ข. ปลัดกระทรวงกลาโหม
ค. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ง. เลขานุการรัฐมนตรี
๕๙. ข้อใดไม่ใช่สมาชิกในสภากลาโหม
ก. เสนาธิการทหาร ข. นายกรัฐมนตรี
ค. สมุราชองครักษ์ ง. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
๖๐. การใช้คำสั่งในข้อใดที่กระทรวงกลาโหมจะต้องกำหนดโดยมีความเห็นชองของคณะรัฐมนตรี
ควบคู่ไปด้วย
ก. ปราบปรามกบฏ ข. การสงคราม
ค. ปกป้องสถาบันกษัตริย์ ง. ปราบปรามการจราจล
๖๑. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง รมต.กลาโหมหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ สามารถให้ใครเป็นผู้ว่าราชการแทนได้
ก. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ข. เลขานุการรัฐมนตรี
ค. เสนาธิการทหารบก
ง. ผบ.ทบ.
๖๒. องค์ประชุมสภากลาโหมแต่ละครั้งจะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อบกว่าเท่าใด
ก. ครึ่งหนึ่ง ข. ๒ ใน ๓
ค. ๑ ใน ๔ ง. ถูกข้อ ก. และ ข.
๖๓. การแบ่งส่วนราชการสำนักเลขานุการรัฐมนตรีแบ่งเป็นกี่ส่วน
ก. ๒ ส่วน ข. ๓ ส่วน
ค. ๔ ส่วน ง. ๕ ส่วน
๖๔. ในส่วนของการสารบรรณการเงินการพลาธิการ ของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีมีใครเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
ก. หัวหน้าแผนกการเมือง
ข. หัวหน้าแผนกการเงิน
ค. หัวหน้าแผนกตรวจสอบเรื่องราวและความเห็น
ง. หัวหน้าแผนกสารบรรณ
๖๕. ข้อใดไม่อยู่ในการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง
ก. กรมเสมียนตรา ข. กรมแบ่งเงินกลาโหม
ค. กรมพระธรรมนูญ ง. กรมยุทธศึกษา
๖๖. ส่วนใดมีหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การประชาสัมพันธ์ การวิจัยและพัฒนาการทางทหาร
ก. สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ข. สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม
ค. กรมเสมียนตรา ง. สำนักตรวจบัญชีกลาโหม
๖๗. ส่วนใดมีหน้าที่เกี่ยวกับการสารบรรณ การกำลังพลและการสัสดี
ก. กรมการเงินกลาโหม ข. ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ค. กรมพระธรรมนูญ ง. กรมเสมียนตรา
๖๘. ส่วนใดมีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการบัญชี เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ
ก. กรมพระธรรมนูญ ข. กรมเสมียนตรา
ค. กรมการเงินกลาโหม ง. สำนักนโยบายและแผนกลาโหม
๖๙. ส่วนใดมีหน้าที่เกี่ยวกับศาลทหาร อัยการทหาร
ก. สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ข. กรมพระธรรมนูญ
ค. สำนักนโยบายและแผน ง. กรมเสมียนตรา
๗๐. ส่วนใดมีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็น อำนวยการ ประสานงานและดำเนินการ เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์
ก. สำนักงานนโยบายและแผนกลาโหม ข. กรมพระธรรมนูญ
ค. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ง. กรมเสมียนตรา
๗๑. ส่วนใดมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในให้แก่ส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง
ก. สำนักตรวจบัญชีกลาโหม ข. สำนักวางแผนและนโยบาย
ค. สำนักงานอำนวยการ ง. สำนักงานการยุทธวิธี
๗๒. ธงรูปช้างเผือกสีขาวอยู่ในวงจักรขาวกลางธงแดงใช้เป็นธงอะไร
ก. ธงชาติ ข. ธงประจำเรือกำปั่นหลวง
ค. ธงประจำหน่วย ง. ธงไชยเฉลิมพล
๗๓. ข้อใดกล่าวเรื่องธงชาติถูกต้อง
ก. ธงชาติเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นอิสระภาพของชาติ
ข. ธงชาติเป็นสิ่งเตือนใจให้ระลึกถึงคุณความดีของวีรชน
ค. ธงเป็นศูนย์รวมจิตใจคนในชาติ
ง. ถูกทุกข้อ
๗๔. ธงชาติรูปช้างเผือกอยู่กลางธงแดง เริ่มใช้ตั้งแต่
ก. ร.๒ ข. ร.๓
ค. ร.๔ ง. ร.๕
๗๕. สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติต่อธงชาติ
ก. ประดับธงชาติสีสดใส ข. ยืนเคารพธงชาติเวลาขึ้น – ลง
ค. ประดับธงชาติในงานพิธีต่างๆ ง. ชักธงชาติต่างประเทศไม่มีธงชาติไทยเลย
๗๖. ธงหมายพระอิสสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า
ก. ธงมหาราชใหญ่ ข. ธงบรมราชวงศ์ใหญ่
ค. ธงมหาราชน้อย ง. ข้อ ก. และ ข้อ ค. ถูก
๗๗. กลางผืนธงชัยเฉลิมพลของทหารเรือเป็นรูป
ก. จักรแปดแฉก ข. ช้างเผือกทรงเครื่อง
ค. ดาวกลมสีฟ้า ง. ตราหน้าหมวก
๗๘. ธงสีแดงสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปดาวสีเหลือง ๒ ดวง อยู่กลางผืนธงคืออะไร
ก. ธงแสดงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล ข. ธงแสดงยศพลอากาศตรี
ค. ธงแสดงยศพลตรี ง. ธงแสดงยศพลโท
๗๙. กลางผืนธงแสดงตำแหน่ง ผบ.ทบ.เป็นรูปอะไร
ก. รูปช้างเผือก ข. รูปจักร ๘ แฉก
ค. รูปเครื่องหมายกองทัพบก ง. รูปปืนนก
๘๐. ธงที่มีรูปราชสีห์กับคชสีห์ยืนในท่าเผ่นหันหน้าเข้าหากันเป็นธงแสดงตำแหน่งของใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ข. นายกรัฐมนตรีค. ผู้บัญชาการทหารบก ง. ผู้บัญชาการทหารอากาศ
Google