วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แบบทดสอบวิชาแบบธรรมเนียมทหาร

1. เหตุที่นับว่าสำคัญต้องรายงานด่วน คือ
ก. เรื่องทหารถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัสเนื่องจากทำลายชีวิตตัวเอง
ข. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร
ค. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง
ง. ถูกทุกข้อ
2. เหตุที่นับว่าสำคัญต้องรายงานตรงต่อ รมว.กห. ได้แก่
ก. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร
ข. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง
ค. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกอง
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
3. เหตุการณ์ที่นับว่าสำคัญที่หน่วยใน ทบ. จะต้องรายงานต่อ ผบ.ทบ. ได้แก่
ก. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร
ข. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง
ค. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกอง
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
4. เมื่อเกิดเหตุซึ่งเกิดจากการทะเลาะวิวาทจนถึงใช้อาวุธทำการต่อสู้กันขึ้นในหมู่ทหารด้วยกันเองหรือบุคคลอื่นจนถึงแก่ความตายจะต้องรายงานตรงต่อ
ก. รมว.กห., ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี
ข. ผบ.สส., ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี
ค. ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี
ง. ถูกทุกข้อ
5. เหตุที่ต้องรายงานต่อ หน.ส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. ได้แก่
ก. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วย
ข. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง
ค. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกอง
ง. ถูกทุกข้อ
6. เมื่อเกิดเรื่องทหารถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัสเนื่องจากทำลายชีวิตตัวเอง ต้องรายงานตรงต่อ
ก. ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี
ข. ปลัดกระทรวงกลาโหม, ผบ.สส. แล้วแต่กรณี
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
ง. ไม่มีข้อถูก
7. เมื่อมีการรายงานด่วนตรงต่อ รมว.กห. แล้วต้องรายงานตรงต่อใคร (แล้วแต่กรณี)
ก. หน.ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ กห. ข. ผบ.สส.
ค. ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร ง. ถูกทุกข้อ
8. เมื่อมีเหตุนับว่าสำคัญเกิดขึ้นแล้วได้รายงานตรงต่อ รมว.กห. แล้วจะต้อง
ก. รีบรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กห., ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี
ข. รายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี
ค. รายงานด้วยวาจาให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
9. หัวข้อการรายงานด่วนที่สุดตามคำชี้แจงกองทัพบก พ.ศ.2495 คือ
ก. เมื่อไร, ใคร, ทำไม, ที่ไหน, อย่างไร
ข. ใคร, อะไร, ที่ไหน, เมื่อไร, อย่างไร
ค. ใคร, ไปไหน, อะไร, เมื่อไร, อย่างไร
ง. ถูกทุกข้อ
10. ข่าวที่เกี่ยวกับทหารที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน หรือรายคาบอันเป็นเรื่องเสื่อมเสียนั้น หากข่าวระบุว่าเป็นทหารหน่วยใด ให้ ผบ.หน่วย รายงานตรงต่อ
ก. รมว.กห. ข. ผบ.สส.
ค. ผบ.ทบ. ง. ถูกทุกข้อ
11. หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกรณีที่ไม่สามารถไปรายงานตนยังหน่วยต้นสังกัดได้ ถ้าข้าราชการผู้นั้นอยู่ในกรุงเทพมหานครด้วยเหตุใดก็ตาม ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ให้ไปรายงานตนยังหน่วยทหารหรือหน่วยราชการที่อยู่ใกล้
ข. ให้ไปรายงานตนที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก หรือกองบัญชาการกองทัพบกส่วนหน้า (ถ้ามี)
ค. ไปรายงานตนที่หน่วยตามข้อ ก. และ ข. หน่วยใดหน่วยหนึ่ง
ง. ไม่มีข้อใดถูก
12. หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกรณีที่ไม่สามารถไปรายงานตนยังหน่วยต้นสังกัดได้ ถ้าข้าราชการผู้นั้นอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครด้วยเหตุใดก็ตาม ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ให้ไปรายงานตนยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่อยู่ใกล้ที่สุด
ข. ให้ไปรายงานตนที่กองบัญชาการกองทัพบกส่วนหน้า
ค. ให้ไปรายงานตนยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่อยู่ใกล้ หรือกองบัญชาการกองทัพบกส่วนหน้า (ถ้ามี)
ง. ไม่มีข้อใดถูก
13. การไปรายงานตนเมื่อมีเหตุฉุกเฉินและไม่สามารถไปรายงานตนเองยังหน่วยต้นสังกัดได้ ถ้าสามารถทำได้ควรไปรายงาน
ก. ไปรายงานยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพใด ๆ ก็ได้ที่อยู่ใกล้
ข. ไปรายงานยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่มีงานเหมาะสมแก่หน้าที่ของผู้ไปรายงาน
ค. ไปรายงานยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่มีงานเหมาะสมแกหน้าที่ของผู้รับรายงาน
ง. ไม่มีข้อถูก
14. การเดินทางไปปฏิบัติราชการที่เดินทางไปปฏิบัติราชการนอกเขตจังหวัดที่ตนรับราชการ กรณีไปราชการนอกเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามระเบียบ
ก. ไปรายงานตัวต่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ตนไปติดต่อราชการ หรือหัวหน้าหน่วยทหารเจ้าของพื้นที่ที่ตนไปติดต่อราชการ
ข. ไปรายงานตัวต่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ตนไปติดต่อราชการ หรือหัวหน้าหน่วยทหารเจ้าของพื้นที่ที่ตนไปติดต่อราชการ
ค. ไปรายงานตัวต่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ตนไปติดต่อราชการ หรือหัวหน้าหน่วยทหารเจ้าของพื้นที่ที่ตนไปติดต่อราชการ โดยลงบันทึกรายงานที่หน่วยนั้น ๆ จัดไว้และถ้ารายงานด้วยวาจาได้ก็จะเป็นการดียิ่ง
ง. ไม่มีข้อใดถูก
15. การลงนามในสมุดรายงานเมื่อไปปฏิบัติราชการนอกจังหวัดที่ตนรับราชการ ให้ไปรายงานเมื่อใด
ก. ให้ไปรายงานในวันแรกที่ไปถึงเสมอ
ข. ให้ไปรายงานในวันแรกที่ถึง แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ก็ให้ไปรายงานในวันรุ่งขึ้น หรือในวันที่เปิดทำการ
ค. ให้ไปรายงานตัวในวันแรกที่ถึง แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ก็ให้ไปรายงานในวันเดินทางกลับ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
16. การแต่งกายเมื่อไปรายงานตัว
ก. แต่งกายเครื่องแบบทหาร หรือเครื่องแบบข้าราชการกลาโหมพลเรือน
ข. แต่งกายสุภาพ
ค. แต่งกายตามข้อ ก. หรือ ข. ก็ได้ตามความเหมาะสม
ง. ไม่มีข้อใดถูก
17. เมื่อย้ายตำแหน่ง ขั้นตอนการรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเดิมซึ่งขาดจากความบังคับบัญชา ปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง
ก. รายงานผู้บังคับบัญชาทุกตำแหน่งตามลำดับชั้นลงมา
ข. รายงานผู้บังคับบัญชาทุกตำแหน่งตามลำดับชั้นขึ้นไป
ค. รายงานผู้บังคับบัญชาทุกตำแหน่งตามลำดับชั้นสูงลงมา
ง. ไม่มีข้อใดถูก
18. การรายงานตนเองตามข้อบังคับทหารจะต้องรายงานอย่างไร
ก. รายงานโดยตรง ยศ นาม และตำแหน่งของตน
ข. รายงานโดยตรง ยศ นาม และตำแหน่งของตน แล้วบอกเรื่องราวที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้รับรายงานทราบ
ค. รายงานโดยตรง ยศ นาม และตำแหน่งของผู้รับรายงาน แล้วบอกเรื่องราวที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้รับรายงานทราบ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
19. ถ้าผู้มีข้อขัดข้องที่จะรายงานด้วยวาจาไม่ได้ สามารถกระทำโดย
ก. ให้รายงานด้วยหนังสือ
ข. เขียนลงสมุดรายงาน
ค. ให้รายงานด้วยหนังสือ หรือเขียนลงในสมุดรายงาน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
20. การรับ-ส่งหน้าที่โดยทั่วไป ปกติให้ผู้เริ่มออกเดินทางไปทำการรับ-ส่งหน้าที่ซึ่งกันและกันภายในกี่วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ก. 3 วัน ข. 7 วัน
ค. 15 วัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
21. หากมีความจำเป็นต้องใช้เวลาในการรับ-ส่งหน้าที่เกินกำหนดมีหลักเกณฑ์ที่จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ก. รายงานขออนุมัติพิเศษต่อผู้สั่งย้ายเป็นราย ๆ ไป
ข. รายงานขออนุมัติพิเศษต่อผู้สั่งย้ายเป็นราย ๆ ไป ถ้าผู้สั่งย้ายมีตำแหน่งสูงกว่า ผบ.ทบ. ให้รายงานขออนุมัติ ผบ.ทบ. เป็นอย่างสูง
ค. รายงานขออนุมัติพิเศษต่อผู้สั่งย้ายเป็นราย ๆ ไป ถ้าผู้สั่งย้ายมีตำแหน่งสูงกว่า ผบ.ทบ. ให้รายงานขออนุมัติ ผบ.ทบ. เป็นอย่างสูง ในรายงานต้องแจ้งให้ชัดเจนว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด
ง. ไม่มีข้อใดถูก
22. การส่งหน้าที่สำหรับผู้ปลดออกจากกองประจำการ ให้ปฏิบัติดังนี้
ก. ผู้ปลดเพราะเกษียณอายุ ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นสั่งให้ผู้ถูกปลดส่งมอบหน้าที่ไว้กับผู้หนึ่งให้แล้วเสร็จก่อนถึงวันครบกำหนดปลด ครั้นมีผู้มารับตำแหน่งแทนจึงให้มอบหน้าที่กันต่อไป
ข. ผู้ปลดเพราะเกษียณอายุให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นไว้กับผู้บังคับบัญชาโดยตรงให้แล้วเสร็จก่อนถึงวันครบกำหนดปลด ครั้นมีผู้มารับแทนจึงให้มอบหน้าที่กันต่อไป
ค. ไม่มีข้อใดถูก ง. ถูกทุกข้อ
23. การรับ-ส่งหน้าที่ของผู้รับการบรรจุเข้ารับราชการใหม่มีหลักเกณฑ์อย่างไร
ก. ให้เป็นไปตามกำหนดที่ระบุไว้ในคำสั่งกระทรวงกลาโหม
ข. ให้เป็นไปตามกำหนดที่ระบุไว้ในคำสั่งกองทัพบก
ค. ให้เป็นไปตามกำหนดที่ระบุไว้ในคำสั่งกระทรวงกลาโหม หรือคำสั่งกองทัพบกแล้วแต่กรณี
ง. ไม่มีข้อใดถูก
24. ลำดับของการรับ-ส่งหน้าที่คือ ผู้ใดจะต้องไปรับส่งหน้าที่จากผู้ใดก่อนนั้น โดยปกติถือเกณฑ์อย่างไร
ก. ให้ถือเกณฑ์ตามลำดับหมายเลขหน้าชื่อที่ปรากฏในคำสั่งนั้น ๆ โดยผู้ที่มีหมายเลขน้อยไปรับหน้าที่จากผู้มีหมายเลขมากในชุดของตน
ข. ให้ถือเกณฑ์ตามลำดับหมายเลขหน้าชื่อที่ปรากฏในคำสั่งนั้น ๆ โดยผู้ที่มีหมายเลขมากไปรับหน้าที่จากผู้มีหมายเลขน้อยในชุดของตน
ค. ให้ถือเกณฑ์ตามลำดับหมายเลขหน้าชื่อซึ่งปรากฏในคำสั่งนั้น ๆ โดยให้ไปรับหน้าที่ตามลำดับหมายเลขในชุดของตน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
25. ในโอกาสที่จัดทหารกองเกียรติยศสำหรับ ผบ.ทหารสูงสุด, ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. ให้จัดเมื่อใด
ก. ไปราชการต่างท้องถิ่นและในท้องถิ่นนั้นมีหน่วยทหารตั้งอยู่
ข. ไปราชการต่างท้องถิ่นและในท้องถิ่นนั้นมีหน่วยทหารในสังกัด
ค. ไปราชการที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่อย่างห่างไกล
ง. ไปปฏิบัติงานธุรการของหน่วย
26. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับศพทหารที่เสียชีวิตในขณะประจำการ ให้จัดเมื่อเวลาเผาหรือฝังตามลัทธิศาสนาของผู้เสียชีวิตแต่ให้งดสำหรับศพทหารซึ่งเสียชีวิตเนื่องจากอะไร
ก. ปฏิบัติหน้าที่ในราชการในท้องถิ่นก่อการร้ายตามคำสั่ง
ข. ป่วยด้วยโรคปัจจุบันทันด่วนโดยไม่มีอาการมาก่อน
ค. ตนเองกระทำความผิดหรือประพฤติชั่ว
ง. ปฏิบัติงานธุรการของหน่วย
27. ตามข้อ 26 การจัดกำลังทหารเกียรติยศสำหรับศพทหาร นายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศ ขึ้นไป ให้จัดกำลังอย่างไร
ก. 2 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน และมีแตรเดี่ยว
ข. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ค. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว หรือขลุ่ยกลอง
ง. 1 หมู่ ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว หรือขลุ่ยกลอง
28. การจัดกำลังทหารเกียรติยศสำหรับนายทหารชั้นประทวนและศพนักเรียนทหาร ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารสัญญาบัตร ให้จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ข. 1 หมู่ ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ค. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว หรือขลุ่ยกลอง
ง. 1 หมู่ ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว หรือขลุ่ยกลอง
29. การจัดกำลังทหารเกียรติยศสำหรับศพทหาร ตามข้อ 26 ถ้ามีศพหลายศพในที่เดียวกันและเวลาเดียวกัน ซึ่งจะต้องทำการเคารพศพพร้อมกันให้จัดกำลังอย่างไร
ก. ตามลำดับของศพที่มียศต่ำสุดที่สูงสุด
ข. จัดแต่เพียงรายเดียวที่มียศสูงสุด
ค. จัดตามอัตราของศพที่มียศสูงแต่เพียงรายเดียว
ง. ตามแต่ทางเจ้าภาพขอร้องให้จัด
30. ในกรณีที่ผู้บังคับกองทหารเกียรติยศไม่ต้องรายงานตัว
ก. เมื่อกองทหารเกียรติยศจัดสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี สมเด็จพระราชชนนี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ข. ในงานราชพิธี หรือรัฐพิธีต่าง ๆ ซึ่งมีหมายกำหนดการของสำนักพระราชวัง
ค. เมื่อผู้บังคับกองทหารเกียรติยศไม่มีโอกาสรายงานตัว
ง. ถูกทุกข้อ
31. กองทหารเกียรติยศสำหรับธงชัยเฉลิมพลให้จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว หรือขลุ่ยกลอง
ข. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว หรือแตรวง
ค. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ง. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรวง หรือขลุ่ยกลอง
32. ผู้ที่จะพิจารณาว่าควรจัดกองทหารเกียรติยศในท้องถิ่นที่อยู่ห่างจากที่ตั้งของหน่วยทหารหรือนั้น คือใคร
ก. ผบ.ทบ. หรือ จก.กพ.ทบ.
ข. ผู้บังคับบัญชาในส่วนกลาง
ค. ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นนั้น
ง. ไม่มีข้อใดถูก
33. การจัดทหารกองเกียรติยศสำหรับศพทหารให้พยายามจัดทหารจากหน่วยหรือเหล่าใด
ก. จัดจากกองพันมณฑลทหารบก หรือจังหวัดทหารบก
ข. จัดจากหน่วยหรือเหล่าเดียวกันกับผู้เสียชีวิตที่เคยบังคับบัญชาหรือเคยประจำมาก่อน
ค. จัดจากเหล่าทหารราบเป็นหลัก ถ้าจัดไม่ได้จัดเหล่าอื่น
ง. ถูกทุกข้อ
34. กองทหารเกียรติยศจัดสำหรับผู้ใด โดยปกติให้ผู้บังคับกองทหารเกียรติยศรายงานตัวต่อผู้นั้นด้วยคำกล่าวตรวจแถวของทหารกองเกียรติยศ มีใจความว่าอย่างไร
ก. ขอเรียนเชิญตรวจแถวทหารกองเกียรติยศต่อไป
ข. ขอเชิญให้เกียรติตรวจแถวทหารกองเกียรติยศต่อไป
ค. ขอเชิญตรวจแถวทหารกองเกียรติยศต่อไป
ง. ขอเชิญตรวจแถวทหารกองเกียรติยศเพื่อเป็นเกียรติต่อไป
35. กำลังของทหารกองเกียรติยศที่จัดสำหรับนายพลต่างประเทศชั้นยศ จอมพล, พลเอก, พลโท ให้จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 กองร้อย มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ข. 1 กองร้อย (3 หมวด) มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ค. 1 กองร้อย (2 หมวด) มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ง. ไม่มีข้อใดถูก
36. กำลังของทหารกองเกียรติยศที่จัดสำหรับนายพลต่างประเทศชั้นยศ พลตรี, พลจัตวา ให้จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 กองร้อย มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ข. 1 กองร้อย (3 หมวด) มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ค. 1 กองร้อย (2 หมวด) มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ง. ไม่มีข้อใดถูก
37. ถ้าไม่มีหมายกำหนดการให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่นแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่ผู้นำตรวจแถวเชิญผู้รับเกียรติตรวจแถวกองทหารเกียรติยศคือใคร
ก. ผู้ควบคุมหรือผู้รายงานยอด ณ ที่นั้น
ข. ผู้ที่มีอาวุโสที่สุดเป็นผู้ต้อนรับ
ค. ผู้บังคับกองทหารเกียรติยศ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
38. การตรวจแถวเมื่อถึงปลายแถวแล้ว ผู้บังคับกองทหารเกียรติยศกลับเข้าที่เดิม และบอกเลิกแสดงความเคารพเมื่อใด
ก. ผู้นำตรวจแถวบอกให้เลิกแสดงความเคารพ
ข. ผู้บังคับทหารกองเกียรติยศ
ค. ผู้นำตรวจแถวผู้รับเกียรติยศไปยืน ณ ที่รับการเคารพเรียบร้อย
ง. ไม่มีข้อถูก
39. ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการจัดทหารกองเกียรติยศ พ.ศ.2428 กำหนดให้กองทหารเกียรติยศจัดสำหรับผู้ใด
ก. นายกรัฐมนตรี ข. ผบ.สส.
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ง. ถูกทุกข้อ
40. ผู้รับเกียรติอาจเดินเข้ามาขอสัมผัสมือผู้บังคับกองทหารเกียรติยศเพื่อแสดงความขอบใจก็ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้บังคับกองทหารเกียรติยศซึ่งอยู่ในท่าแบกอาวุธจะต้องทำอย่างไร
ก. ส่งกระบี่ให้มือซ้ายก่อนสัมผัสมือ ข. สรุตกระบี่แสดงความเคารพก่อน
ค. ส่งมือซ้ายให้สัมผัสมือ ง. ถูกทุกข้อ
41. การแนะนำให้ผู้รับเกียรติยศรู้จักผู้ที่ไปรอรับ จะทำได้ในโอกาสใด
ก. โอกาสแรกที่มาถึงพิธีตรวจ
ข. เมื่อเสร็จพิธีกองทหารเกียรติยศแล้ว
ค. แล้วแต่โอกาสและเป็นครั้งคราวนั้น
ง. ถูกทุกข้อ
42. ผู้บังคับกองทหารเกียรติยศบอกแสดงการเคารพ 2 ครั้ง และบรรเลงเพลงเคารพด้วยทั้ง 2 ครั้ง เป็นการปฏิบัติในขั้นตอนใด
ก. เมื่อผู้รับเกียรติมาถึงและกล่าวให้โอวาทเสร็จ
ข. ผู้รับเกียรติยศตรวจแถวเสร็จกำลังเคลื่อนที่จากไป
ค. ผู้รับเกียรติมาถึง
ง. ไม่มีข้อใดถูก
43. เมื่อผู้นำตรวจแถวนำผู้รับเกียรติยศเข้ายืน ณ ที่รับการเคารพ และตนเองเข้ายืน ณ ที่เคารพ จุดยืนของผู้นำตรวจอยู่อย่างไร
ก. ยืนอยู่ทางซ้ายและเยื้องไปทางหลังของผู้รับเกียรติเล็กน้อย
ข. ยืนอยู่ทางซ้ายแนวเดียวกับผู้รับเกียรติ
ค. ยืนอยู่ด้านหลังของผู้รับเกียรติ
ง. ถูกทุกข้อ
44. กองทหารเกียรติยศได้ออกจากบริเวณที่ตั้งกองทหารเกียรติยศไปแล้ว
ก. เมื่อรับเกียรติลงจากที่แทนรับการเคารพ
ข. เมื่อเสร็จพิธีหรือผู้รับเกียรติยศได้ออกจากบริเวณที่ตั้งกองทหารเกียรติยศไปแล้ว
ค. เมื่อบังคับกองทหารเกียรติยศบอกเลิกแสดงความเคารพ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
45. การจัดทหารเกียรติยศสำหรับพระราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์ผู้ประกอบคุณความดีแก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ให้จัดเมื่อใด
ก. เมื่อประกอบพิธีเปิดหรือจัดพิธีสมโภชเป็นทางการ
ข. เมื่อใดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร
ค. เมื่อมีผู้วางพวงมาลาสักการะเป็นครั้งคราว
ง. ไม่มีข้อใดถูก
46. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม ให้จัดเมื่อใด
ก. เมื่อไปเยี่ยมราษฎรประสพภัยและแจกสิ่งของช่วยเหลือ
ข. เมื่อไปราชการท้องถิ่นและในหน่วยทหารตั้งอยู่
ค. เมื่อไปราชการต่างท้องถิ่นและหน่วยราชการต้อนรับอยู่
ง. เมื่อประชาชนเชิญให้ไปและมีพิธีเปิดงานด้วย
47. คำกล่าวรายงานตัวของผู้บังคับกองเกียรติยศ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายว่าอย่างไร
ก. คำขึ้นต้น = ขอเชิญให้เกียรติตรวจแถวทหาร, คำลงท้าย = ครับ
ข. คำขึ้นต้น = กระผมเป็นผู้บังคับกองทหารเกียรติยศ, คำลงท้าย = ครับกระผม
ค. คำขึ้นต้น = สรรพนามและยศชื่อ, คำลงท้าย = ครับ หรือตามฐานันดรศักดิ์ของผู้รายงาน
ง. ไม่มีข้อใดถูก
48. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับศพทหารและศพนักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารประทวน ให้จัดกำลังอย่างไร
ก. จัดกำลัง 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ข. จัดกำลังกึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ค. จัดกำลัง 1 หมู่ ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ง. ไม่มีข้อใดถูก
49. ท่าเคารพในแถวทหารกองเกียรติยศ เมื่อผู้บังคับกองเกียรติยศบอกแสดงการเคารพ ทหารในแถวจะอยู่อย่างไร
ก. ท่าอาวุธพร้อม ข. ท่าตรง
ค. ท่าวันทยาวุธ (ติดดาบ) ง. ท่าวันทยาวุธ (ไม่ติดดาบ)
50. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี และรัชทายาท ให้จัดเมื่อเสด็จงานใด
ก. งานพระราชพิธี ข. พิธีสมโภช
ค. เมื่อเวลารับหรือส่งธง ง. ถูกทุกข้อ
51. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับธงไชยเฉลิมพล ให้จัดเมื่อใด
ก. งานรัฐพิธี ข. พิธีสมโภช
ค. เมื่อเวลารับหรือส่งธง ง. ถูกทุกข้อ
52. การจัดกองทหารเกียรติยศ ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. สำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์ผู้ประกอบคุณงามความดีแก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ให้จัดเมื่อเปิดหรือจัดพิธีสมโภชเป็นทางการ
ข. ศพทหารซึ่งเสียชีวิตในขณะประจำการ ให้จัดเมื่อเวลาเผาหรือฝังตามลัทธิศาสนาของผู้เสียชีวิตทุกศพ
ค. สำหรับธงไชยเฉลิมพลให้จัดเมื่อเวลารับหรือส่งของ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
53. การจัดกองทหารเกียรติยศหากต้องจัดมากกว่า 1 ราย ในโอกาสเดียวกัน ให้จัดอย่างไร
ก. ไม่ต้องจัดเพื่อตัดปัญหา
ข. จัดแต่ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว
ค. ให้จัดแต่ผู้ซึ่งทรงราชอิสริยศ หรือเกียรติยศสูงกว่าเท่านั้น
ง. ไม่มีข้อใดถูก
54. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับรัชทายาท จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยวและแตรวง (ถ้ามี) และธงไชยเฉลิมพล
ข. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยวและแตรวง (ถ้ามี) และธงไชยเฉลิมพล
ค. 1 กองพัน ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยวและแตรวง (ถ้ามี) และธงไชยเฉลิมพล
ง. ไม่มีข้อถูก
55. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ข. ครึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ค. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ง. ไม่มีข้อถูก
56. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับผู้บัญชาการทหารบก จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ข. 1 กองพัน ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ค. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ง. ไม่มีข้อถูก
57. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับประมุขรัฐต่างประเทศ จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง ธงไชยเฉลิมพล
ข. 1 กองพัน ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง ธงไชยเฉลิมพล
ค. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง ธงไชยเฉลิมพล
ง. ไม่มีข้อใดถูก
58. การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์ จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ข. 1 กองพัน ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี) ธงไชยเฉลิมพล
ค. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ง. ไม่มีข้อใดถูก
59. พ.ต.ชอบ ชมเชย สังกัด ทภ.2 ได้เสียชีวิตในขณะปฏิบัติราชการสนาม ศปก.ทบ. ญาติและผู้บังคับบัญชาได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพที่วัดสุทธจินดา โดยได้จัดกองเกียรติยศด้วย อยากทราบว่าจะต้องจัดกำลังอย่างไร
ก. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ข. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ค. กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ง. ไม่มีข้อใดถูก
60. ร.ท.สุข ก่อเกิด เป็นนายทหารพ้นราชการ สังกัด มทบ.21 รับบำนาญ ได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวขณะอยู่ที่บ้าน ญาติได้จัดงานฌาปนกิจศพและได้รายงานขอกองทหารเกียรติยศ อยากทราบว่าต้องจัดกำลังอย่างไร
ก. ไม่ต้องจัดเพราะเป็นทหารนอกประจำการ
ข. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ค. กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรวง
ง. กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
61. จ.ส.อ.พรชัย เกิดดี สังกัด พัน.ร.มทบ.21 เสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน เป็นนายทหารเวรกองพัน ผู้บังคับบัญชา ญาติได้จัดงานฌาปนกิจศพ ได้จัดกองทหารเกียรติยศอยากทราบว่าต้องจัดกำลังอย่างไร
ก. 1 หมวด ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ข. กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ค. กึ่งกองร้อย ถือปืนลูกซอง มีแตรนอน
ง. กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรวง
62. ส.อ.ธงชาติ กล้าหาญ สังกัด ฉก.ร.23 ขณะออกลาดตระเวนรอบฐาน เกิดเหยียบกับระเบิดของข้าศึกเป็นเหตุให้ตนเองและ ร.ต.บุญรอด ปลอดภัย เสียชีวิตคาที่ หน่วยได้ส่งศพกลับหน่วยเพื่อให้ญาติประกอบพิธีจัดการศพตามประเพณีพร้อมกันโดยได้กองเกียรติยศ อยากทราบว่าต้องจัดกำลังอย่างไร
ก. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ข. กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ค. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ง. กึ่งกองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
63. กองทหารเกียรติยศที่จัดสำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์ ผู้ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง จัดกำลังอย่างไร
ก. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ข. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ค. 2 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
ง. 2 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
64. กองทหารเกียรติยศที่จัดสำหรับ ผบ.เหล่าทัพ ข้อใดถูกต้อง
ก. ไม่ต้องจัดสำหรับ ผบ.เหล่าทัพ หากร่วมไปกับคณะของ รมว.
ข. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
ค. จัดเมื่อไปราชการท้องถิ่นและในท้องถิ่นนั้นมีหน่วยทหาร
ง. 1 กองร้อย ถือปืนเล็กล้วน มีแตรวง
65. การปฏิบัติในกรณีที่ผู้รับเกียรติยศไม่มีโอกาสตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ถ้าไม่มีหมายกำหนดการให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่นแล้วปฏิบัติอย่างไร
ก. บอกแถวแสดงความเคารพ 2 ครั้ง
ข. ครั้งแรกเมื่อผู้รับเกียรติมาถึง แตรวงบรรเลงแสดงการเคารพ
ค. ครั้งที่ 2 เมื่อผู้รับเกียรติยศกำลังเคลื่อนที่จากไป แตรวงบรรเลงเคารพ
ง. ถูกทุกข้อ
66. ผู้มีอำนาจสั่งกองรักษาการณ์ภายในคือผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้นใด
ก. ผู้บังคับกองบินน้อย ข. ผู้บังคับกองพัน
ค. ผู้บังคับการเรือชั้นหนึ่ง ง. ถูกทุกข้อ
67. ทหารที่จะจัดไปกองรักษาการณ์นั้น จะใช้ทหารเหล่าและพรรคใด ให้ใครกำหนด
ก. กองพัน
ข. จังหวัดทหารบกหรือสถานีทหารเรือ
ค. มณฑลทหารบกหรือกองบินน้อยหรือสถานีทหารเรือ
ง. กองทัพ
68. ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของกองรักษาการณ์ภายใน คือ
ก. ผบ.ร้อย ข. ผบ.พัน
ค. ผบ.พล ง. นายทหารที่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ประจำหน่วย
69. การให้ทหารยามหรือผู้ตรวจบรรจุกระสุนเตรียมพร้อมไว้นั้น จะทำต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากใคร
ก. ผบ.กองรักษาการณ์ ข. ผช.ผบ.กองรักษาการณ์
ค. นายทหารเวรของหน่วย ง. ผู้มีอำนาจสั่งจัดกองรักษาการณ์
70. โดยปกติกองรักษาการณ์ให้รักษาการณ์ต่อเนื่องเป็นเวลากี่ชั่วโมง
ก. 2 ช.ม. ข. 4 ช.ม.
ค. 12 ช.ม. ง. 24 ช.ม.
71. โดยปกตินายยามหรือจ่ายาม และนายทหารยาม จัดให้มีกี่ผลัด
ก. 2 ผลัด ข. 3 ผลัด
ค. 4 ผลัด ง. 6 ผลัด
72. บุคคลที่มีอำนาจตรวจระเบียบรักษาการณ์ของกองรักษาการณ์ จทบ.น.ม. คือ
ก. มทภ.2 ข. ฝ่ายเสธ.มทภ.2
ค. นายทหารเวร พล.ร.3 ง. ไม่มีข้อถูก
73. ผู้ที่จะเป็น ผบ.กองรักษาการณ์ มีหน้าที่บังคับบัญชาทหาร ซึ่งจัดเป็นกองรักษาการณ์โดยเด็ดขาด นับตั้งแต่เวลาใด
ก. กองที่จะนำทหารไปทำหน้าที่รักษาการณ์ 2 ช.ม.
ข. กองที่จะนำทหารไปทำหน้าที่รักษาการณ์ 1 ช.ม.
ค. กองที่จะนำทหารไปทำหน้าที่รักษาการณ์ 10 ช.ม.
ง. กองที่จะนำทหารไปทำหน้าที่รักษาการณ์ 3 ช.ม.
74. ผู้บังคับกองรักษาการณ์ จะไปจากที่ตั้งกองรักษาการณ์ไม่ได้ เว้นแต่.......
ก. ไปรับประทานอาหาร ข. ไปปฏิบัติหน้าที่หน่วยต้นสังกัด
ค. ไปในกิจหน้าที่รักษาการณ์ ง. ไปชำระร่างกายในตอนเช้า
75. ถ้ามีการวิวาทต่อสู้กันในที่ใกล้เคียงที่ตั้งกองรักษาการณ์ ผบ.กองรักษาการณ์ จะปฏิบัติอย่างไร
ก. รีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ
ข. ถ้าเห็นเป็นการสมควรให้ห้ามและจับได้
ค. ให้ ผช.ผบ.กองรักษาการณ์ไปดูแล้วแจ้งเหตุการณ์ให้ทราบ
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
76. ถ้ามีตำรวจร้องให้เจ้าหน้าที่กองรักษาการณ์ช่วย เมื่อ ผบ.กองรักษาการณ์เห็นสมควรก็ให้จัดไปช่วยได้ แต่ไม่เกินเท่าใดของจำนวนทหารในกองรักษาการณ์
ก. 2 ใน 3 ข. 1 ใน 3
ค. 1 ใน 2 ง. 1 ใน 4
77. ถ้าทหารที่มารักษาการณ์ป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ผบ.กองรักษาการณ์ จะปฏิบัติอย่างไร
ก. จัดทหารคนอื่นมายืนยามแทน
ข. ส่งกลับไปหน่วยต้นสังกัดแล้วจัดคนอื่นมาแทน
ค. รีบนำส่งโรงพยาบาลแล้วรายงานให้ผู้มีอำนาจสั่งจัดกองรักษาการณ์ทราบ
ง. ให้นอนทุเลาพักผ่อนแล้วจัดทหารคนอื่นมาแทน
78. ถ้าที่ตั้งกองรักษาการณ์ที่ใดมีผู้ต้องขังอยู่ด้วย ผบ.กองรักษาการณ์มีหน้าที่ต่อผู้คุมขังต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวผิด
ก. จัดการควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบ
ข. ระวังไม่ให้ผู้ต้องขังหนีเป็นอันขาด
ค. ผู้ต้องขังหนีไปต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหารทันที
ง. เวลาเปลี่ยนกองรักษาการณ์ต้องตรวจรับผู้ต้องขังพร้อมหลักฐาน
79. เมื่อมีผู้ต้องขังมาส่ง ณ ที่ตั้งกองรักษาการณ์ ผบ.กองรักษาการณ์ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. รายงานผู้มีอำนาจสั่งจัดกองรักษาการณ์ทราบทันที
ข. ตรวจหลักฐานให้ถูกต้องกับตัวจริงโดยแน่นอน
ค. ให้ ผช.ผบ.กองรักษาการณ์รีบนำตัวเข้าที่คุมขังโดยทันที
ง. สอบถาม ยศ – ชื่อ ความผิด แล้วรีบเข้าที่คุมขังโดยเร็ว
80. กองรักษาการณ์ต้องจัดทหารไปเป็นยามรักษากำปั่น หรือหีบที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกองรักษาการณ์ การเปิดกำปั่นต้องปฏิบัติตามระเบียบใด
ก. ระเบียบซึ่งหน่วย ๆ นั้นกำหนดไว้เฉพาะ
ข. ระเบียบซึ่ง ผบ.กองรักษาการณ์ได้กำหนดไว้เอง
ค. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย
ง. ระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงิน
81. ผช.ผบ.กองรักษาการณ์ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของใคร
ก. ผบ.กองรักษาการณ์
ข. ผู้มีอำนาจสั่งจัดกองรักษาการณ์
ค. ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งข้อ ก. และ ข. เพราะมีระบบอยู่แล้ว
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ก.
82. ยามรักษาการณ์ที่นายยามรับผิดชอบนั้น นายยามหรือจ่ายามต้องทราบอะไรบ้าง
ก. จุดยืนยามมีกี่แห่ง ข. จุดยืนยามอยู่ที่ไหน
ค. ยามแต่ละจุดมีหน้าที่อะไร ง. ถูกทุกข้อ
83. นายยามรักษาการณ์หรือจ่ายามต้องไปตรวจทหารยามอย่างไร
ก. ผลัดละ 2 คน ข. ผลัดละ 1 คน
ค. ไปตรวจเสมอ ง. ตามที่ ผบ.กองรักษาการณ์สั่ง
84. ทหารยามยืนเข้าเวรโดยถือปืนติดดาบในท่าใด
ก. ท่าพักตามระเบียบ ข. ท่าพัก
ค. ท่าตรง ง. ท่าเรียบอาวุธ
85. ทหารยามใช้อาวุธได้ตามสมควรแก่เหตุในกรณีใด
ก. เมื่อจำเป็นต้องป้องกันตัว ข. บังคับให้ผู้ต้องขังปฏิบัติตามคำสั่ง
ค. เมื่อผู้ที่ถูกควบคุมขัดขืน ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
86. ตามธรรมดาหน่วยทหารระดับใดจัดนายทหารเวรหรือนายยาม
ก. นายทหารที่มีกำลังตั้งแต่ 1 กองร้อยขึ้นไป
ข. หน่วยทหารที่มีกำลังตั้งแต่ 1 กองพันขึ้นไป
ค. กองเรือน้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
87. ตลอด 24 ช.ม. นายทหารเวรหรือนายเวรประจำหน่วยต้องตรวจสถานที่ต่าง ๆ ภายในเขตเสมออย่างน้อยกลางวันกี่ครั้ง
ก. 1 ครั้ง ข. 2 ครั้ง
ค. 4 ครั้ง ง. 5 ครั้ง
88. ทหารยามที่มีหน้าที่รักษากำปั่นหรือหีบเก็บเงิน ให้ผู้ใดไขกุญแจเบิกกำปั่นหรือหีบนั้นได้เมื่อ...
ก. จ่ากองร้อยมาขอเปิดเพื่อจ่ายเบี้ยเลี้ยง ข. นายทหารการเงินมาขอเปิด
ค. ผบ.กองรักษาการณ์สั่งให้เปิด ง. ถูกทุกข้อ
89. กองรักษาการณ์จะต้องเรียกแสดงการเคารพแสดงวันทยาวุธ แสดงการเคารพผู้บังคับบัญชาตั้งแต่เมื่อใด
ก. ผบ.ร้อย.ของตนเองขึ้นไป ข. ผบ.พัน.ของตนเองขึ้นไป
ค. ผบ.กรม ของตนเองขึ้นไป ง. ผบ.พล ของตนเองขึ้นไป
90. กระสุนประจำกองรักษาการณ์ควรจะมีจำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับ
ก. ระเบียบของกองทัพบกที่กำหนดอัตรากระสุนมูลฐาน
ข. ผบ.กองรักษาการณ์ร้องขอ
ค. ผู้มีอำนาจสั่งจัดกองรักษาการณ์จะเห็นสมควร
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
91. ธงไชยเฉลิมพลมีถุงคุลมอยู่เสมอเว้นแต่โอกาสใด
ก. เมื่อธงประจำกองเกียรติยศ ข. ในเวลาเชิญธงไปพิธีทหาร
ค. ในเวลาตรวจพลสวนสนาม ง. ถูกทุกข้อ
92. เมื่อจะเชิญธงไปที่เก็บรักษาไปยังที่ใด ให้จัดกำลังพลเชิญธงจำนวนเท่าใด
ก. 1 หมู่ ข. 1 หมวด
ค. 1 กองร้อย ง. 1 กองพัน
93. เมื่อเชิญธงไปแล้วให้จัดแถวหน้ากระดานกี่แถว
ก. 2 แถว ข. 3 แถว
ค. 4 แถว ง. 5 แถว
94. การลดธงทำความเคารพให้กระทำต่อท่าใด
ก. ท่าแบกธง ข. ท่าบ่าธง
ค. ท่ายกธง ง. ท่าเฉียงอาวุธ
95. เมื่อกองทหารจะทำการแสดงความเคารพในเวลาเดิน นายทหารรักษาธง ผู้เชิญธง และ ผช.ผู้เชิญธง ไม่ต้องแสดงความเคารพด้วย เว้นในกรณีใด
ก. ผ่านพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข. ผ่าน ผบ.สส.
ค. ผ่าน ผบ.ทบ. ง. ผช.ผู้เชิญธงกับนายทหารรักษาธง
96. เมื่อธงอยู่ในแถวหมู่เชิญธงจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของใคร
ก. นายทหารรักษาธงข้างขวา ข. นายทหารรักษาธงข้างซ้าย
ค. ผู้ควบคุมแถว ง. ผู้เชิญธง
97. นายทหารชั้นสัญญาบัตรจะต้องได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าประทานยศหรือมีคำสั่ง
ก. ทบ. ข. กลาโหม
ค. ผบ.หน่วย ง. การประดับยศ
98. นายทหารประทวนเมื่อได้รับคำสั่งอะไรเสียก่อนถึงจะประดับยศได้
ก. คำสั่งประทวนยศ ข. คำสั่งแต่งตั้งยศ
ค. คำสั่งประดับยศ ง. ไม่มีข้อถูก
99. องค์กรรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนคือหน่วยงานใด
ก. การประมวลข่าวกรอง ข. กรมประมวลข่าวลับ
ค. กรมประมวลข่าวกลาง ง. ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
100. องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายทหารคือหน่วยใด
ก. ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
ข. ศูนย์รักษาความปลอดภัยสำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุดกระทรวงกลาโหม
ค. กอ.รมน.
ง. กรมประมวลข่าวกรอง
101. พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476 มีกี่หมวด
ก. 1 หมวด ข. 2 หมวด
ค. 3 หมวด ง. 4 หมวด
102. พรบ.ว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476 หมวดที่ 2 ชื่ออะไร
ก. ว่าด้วยกฎข้อบังคับ ข. ว่าด้วยระเบียบวินัย
ค. ว่าด้วยวินัย ง. ว่าด้วยวินัยทหาร
103. พรบ.ว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476 หมวด 2 มาตรา 4 กำหนดว่า วินัยทหาร คืออะไร
ก. การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร
ข. การที่ทหารต้องประพฤติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ค. การที่ทหารต้องประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
ง. การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบอย่างของผู้ประพฤติดีในสังคม
104. ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหารใน หมวด 2 ข้อ 1 ว่าอย่างไร
ก. ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย
ข. ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน
ค. ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร
ง. ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร
105. ตามที่กำหนดในตารางเกณฑ์เทียบชั้น ผู้ลงทัณฑ์ และ ผู้รับทัณฑ์ กำหนดให้ ผู้บังคับกองพัน เป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นใด
ก. ชั้น 6 ข. ชั้น 5
ค. ชั้น 7 ง. ชั้น 4
106. ตามที่กำหนดในตารางเกณฑ์เทียบชั้น ผู้ลงทัณฑ์ และ ผู้รับทัณฑ์ กำหนดให้ ผู้บังคับกองร้อย เป็นผู้รับทัณฑ์ชั้นใด
ก. ชั้น 8 ข. ชั้น 7
ค. ชั้น จ ง. ชั้น ง
107. ตามที่กำหนดในตารางเกณฑ์เทียบชั้น ผู้ลงทัณฑ์ และ ผู้รับทัณฑ์ กำหนดให้ ผู้บังคับหมวด เป็นผู้รับทัณฑ์ชั้นใด
ก. ชั้น ซ ข. ชั้น ฉ
ค. ชั้น ช ง. ชั้น ฌ
108. ผู้บังคับกองร้อย มีอำนาจลงทัณฑ์ ขัง ผู้บังคับหมู่ ได้สูงสุดกี่วัน
ก. 5 วัน ข. 7 วัน
ค. 3 วัน ง. 15 วัน
109. ผู้มีอำนาจสั่งลงทัณฑ์ ขัง ผู้บังคับกองร้อย ข้อใดถูกที่สุด
ก. รมว.กห. สั่งขัง 1 เดือน ข. แม่ทัพ สั่งขัง 45 วัน
ค. ผบ.พล สั่งขัง 30 วัน ง. ผบ.กรม สั่งขัง 7 วัน
110. เมื่อท่านเป็น ผู้บังคับหมวด ท่านจะเป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นใด
ก. ชั้น 6 ข. ชั้น 7
ค. ชั้น 8 ง. ชั้น 9
111. คำว่า “ ทัณฑ์ ” หมายความว่าอย่างไร
ก. ทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยแบบธรรมเนียมทหาร
ข. ทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
ค. ทัณฑ์ตามกฎหมายที่กำหนดขึ้น
ง. ถูกทุกข้อ
112. คำว่า “ ขาดราชการ ” หมายความว่าอย่างไร
ก. ขาดไม่ถึง 24 ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู
ข. ขาดไม่ถึง 3 วัน ในเวลาไม่ปกติ
ค. ขาดโดยมิได้รับอนุญาตหรือเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตในเวลาปกติยังไม่ถึง 15 วัน
ง. ถูกทุกข้อ
113. คำว่า “ หนีราชการ ” หมายความว่าอย่างไร
ก. ขาด 24 ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู
ข. ขาด 3 วัน ในเวลาไม่ปกติ
ค. ขาดโดยมิได้รับอนุญาตหรือเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตในเวลาปกติ 15 วัน
114. การคำนวณวันลงทัณฑ์ ถ้ามีเศษของวันให้ทำอย่างไร
ก. ให้นับเศษของวันด้วย ข. ให้ตัดออก
ค. ให้ปัดเป็น 1 ง. ให้นับเป็น 1
115. การขาดราชการไม่ถึง 24 ชั่งโมง ในเวลาปกติ ให้ลงทัณฑ์สถานใด
ก. ทำทัณฑกรรม 3 วัน ข. ทำทัณฑกรรมไม่เกิน 3 วัน
ค. ไม่ต้องลงทัณฑ์ ง. ทำทัณฑกรรม 24 ชั่วโมง
116. การคำนวณวันลงทัณฑ์หนีราชการให้นับครั้งอย่างไร
ก. นับเฉพาะในการหนีราชการ ข. นับเป็นสองเท่า
ค. นับรวมกับครั้งที่ขาดราชการด้วย ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ข้อ ค.
117. ขาดราชการในเวลาปกติแล้วกลับเอง ครั้งที่ 1 ลงทัณฑ์อย่างไร
ก. ทำทัณฑกรรมไม่เกิน 3 วัน
ข. ไม่ต้องลงทัณฑ์
ค. ทำทัณฑกรรมไม่เกิน 7 วัน
ง. ขังกึ่งจำนวนวันที่ขาด
118. หนีราชการในเวลาปกติแล้วกลับเอง ครั้งที่ 1 ลงทัณฑ์อย่างไร
ก. ขัง 1 ใน 4 ของจำนวนวันที่หนี
ข. ขัง 1 ใน 2 ของจำนวนวันที่หนี
ค. จำขัง 1 ใน 4 ของจำนวนวันที่หนี
ง. จำขัง 1 ใน 2 ของจำนวนวันที่หนี
119. ทหารซึ่งหนีราชการในกรณีใด ให้ผู้บังคับบัญชาส่งตัวไปฟ้องศาล
ก. เมื่อคำนวณวันลงทัณฑ์จะต้องรับทัณฑ์ ขัง เกินกว่า 3 เดือน
ข. เมื่อคำนวณวันลงทัณฑ์จะต้องรับทัณฑ์ จำขัง เกินกว่า 3 เดือน
ค. เมื่อคำนวณวันลงทัณฑ์จะต้องรับทัณฑ์ ขัง เกินกว่า 2 เดือน
ง. เมื่อคำนวณวันลงทัณฑ์จะต้องรับทัณฑ์ จำขัง เกินกว่า 6 เดือน
120. ทหารซึ่งหนีราชการจนคดีขาดอายุความสำหรับความผิดฐานหนีราชการ แล้วให้ปลดเป็นทหารกองหนุน ประเภทที่เท่าใด
ก. ประเภทที่ 1 ข. ประเภทที่ 2
ค. ประเภทที่ 3 ง. ประเภทที่ 4
121. ข้าราชการทหารสังกัดกองทัพบก ในปีหนึ่งจะลาป่วยได้ไม่เกินกี่วัน
ก. 60 วัน ข. 45 วัน
ค. 90 วัน ง. 30 วัน
122. ผู้บังคับบัญชาชั้น ผู้บังคับกองร้อย อนุญาตลาป่วยคราวหนึ่งได้ไม่เกินกี่วัน
ก. 3 วัน ข. 7 วัน
ค. 15 วัน ง. 21 วัน
123. ใบลาป่วยของข้าราชการทหารสังกัดกองทัพบก ให้ใช้ตามแบบพิมพ์ ทบ. หมายเลขอะไร
ก. ทบ.100 – 005 ข. ทบ.101 – 007
ค. ทบ.100 – 007 ง. ทบ.100 – 070
124. ข้าราชการทหารสังกัดกองทัพบก มีสิทธิลากิจ รวมทั้งลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อ เนื่องจากการลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน กี่วัน
ก. 30 วัน ข. 30 วันทำการ
ค. 45 วัน ง. 45 วันทำการ
125. ในการลาพักผ่อนประจำปีของข้าราชการทหารสังกัดกองทัพบก ให้ใช้แบบพิมพ์ใบลาขออนุญาตแบบใด
ก. แบบ 6 ข. แบบ 4
ค. แบบ 5 ง. แบบ 3
126. ใบลาพักผ่อนประจำปี กำหนดให้ใช้แบบพิมพ์ ทบ. หมายเลขอะไร
ก. ทบ.100 – 101 ข. ทบ.100 – 016
ค. ทบ.100 – 106 ง. ทบ.100 – 004
127. ข้าราชการทหารสังกัดกองทัพบก จะลาอุปสมบทได้กี่วัน
ก. 120 วัน ข. 120 วันทำการ
ค. ไม่เกิน 120 วัน ง. ไม่เกิน 120 วันทำการ
128. ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทจะต้องอุปสมบทภายในกี่วัน นับตั้งแต่วันเริ่มวันลา
ก. 15 วัน ข. 10 วัน
ค. 7 วัน ง. 5 วัน
129. ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบท ลาสิกขา เมื่อใดต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงทราบและเข้าปฏิบัติราชการภายในกี่วัน
ก. 5 วัน ข. 7 วัน
ค. 10 วัน ง. 15 วัน
130. การลาไปศึกษานอกเวลาราชการ ต้องมีอายุราชการดังนี้
ก. ไม่จำกัดอายุราชการ ข. มีอายุราชการไม่น้อยกว่า 3 ปี
ค. มีอายุราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ง. มีอายุราชการไม่ต่ำกว่า 1 ปี ขึ้นไป
131. โอกาสต่อไปนี้ถ้าไม่มีหมายกำหนดการเป็นอย่างอื่น ให้ทหารแต่งเครื่องแบบปกติขาวคือ
ก. ไปในงานราชพิธี หรือรัฐพิธี ข. ในการรับ – ส่งเสด็จ
ค. ในงานพระราชทานเพลิงศพทหาร ตำรวจ ง. ถูกทุกข้อ
132. ในโอกาสต่อไปนี้ถ้าไม่มีคำสั่งหรือหมายกำหนดการเป็นอย่างอื่น ให้ทหารแต่งเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ คือ
ก. ในการเยี่ยมคำนับเป็นทางการ
ข. เมื่อเป็นตุลาการศาลทหาร เวลาพิจารณาคดี
ค. ไปในงานพิธีของส่วนราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งกำหนดแต่งเครื่องแบบกากีคดตั้ง
ง. ถูกทุกข้อ
133. ในโอกาสต่อไปนี้ถ้าไม่มีคำสั่งหรือหมายกำหนดการเป็นอย่างอื่น ให้ทหารแต่งเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอพับ คือ
ก. ในการปฏิบัติราชการตามปกติ และในการศึกษาหรือดูงาน
ข. ในการเดินทางภายในประเทศ เมื่อต้องแต่งเครื่องแบบ
ค. ไปในงานหรือในสังคมที่ต้องการความเป็นระเบียบ
ง. ถูกทุกข้อ
134. ในโอกาสต่อไปนี้ถ้าไม่มีคำสั่งหรือหมายกำหนดการเป็นอย่างอื่น ให้ทหารแต่งเครื่องแบบ ฝึก
ก. เมื่อทำหน้าที่รักษาการณ์ ข. เมื่อประจำแถว หรือควบคุมแถวทหาร
ค. เมื่อปฏิบัติราชการสนาม ง. ถูกทุกข้อ
135. นายทหารสัญญาบัตรไม่ต้องคาดกระบี่ เมื่อ
ก. ประจำแถวเป็นกองทหารเกียรติยศ
ข. ไปในงานสโมสรสันนิบาต
ค. ประจำแถวรับการตรวจพลสวนสนาม
ง. ไปในงานฌาปนกิจศพทหาร หรือตำรวจ
136. ถุงมือสำหรับใช้ในเวลาแต่งประกอบเครื่องแบบนั้น ให้ใช้ถุงมือสีใด
ก. สีขาว ข. สีนวล
ค. สีน้ำตาล ง. ถูกทุกข้อ
137. ผ้าพันแขนทุกข์ใช้ประกอบเครื่องแบบทหารนั้นมีความกว้างเท่าไร
ก. 7 ซม. ข. 8 ซม.
ค. 10 ซม. ง. ถูกทุกข้อ
138. กรณีต่อไปนี้ ให้งดใช้ผ้าพันแขนทุกข์ คือ
ก. เมื่อแต่งเครื่องแบบสโมสร ข. เมื่อสวมเครื่องแบบที่ใช้เสื้อคอพับ
ค. เมื่ออยู่ในแถว หรือเป็นผู้ควบคุมแถว ง. ถูกทุกข้อ
139. ในโอกาสที่ให้ทหารแต่งเครื่องแบบปกติขาว หรือเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ สำหรับพลทหารให้แต่งเครื่องแบบอะไร
ก. เครื่องแบบปกติ ข. เครื่องแบบฝึก
ค. เครื่องแบบสนาม ง. ถูกทุกข้อ
140. ทหารประจำการ เมื่อออกไปนอกราชอาณาเขต จะแต่งเครื่องแบบอะไร
ก. จะแต่งเครื่องแบบมิได้ เว้นในโอกาสที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข. เครื่องแบบปกติ
ค. เครื่องแบบฝึก
ง. เครื่องแบบอะไรก็ได้

วิชา อุดมการณ์ความรักชาติ

๓๖๑. คนไทยตั้งแต่สมับโบราณมีจิตยึดมั่นและพร้อมเสมอที่จะพลีชีวิตและเลือดเนื้อให้แก่สิ่งสำคัญสูงสุด ๔ ชนิด ทั้ง ๔ ชนิดนั้นคือ
ก. ครอบครัว , คนรัก , ยศตำแหน่ง , เงินทอง
ข. ชาติ , ยศตำแหน่ง , เงินทอง , พระมหากษัตริย์
ค. ชาติ , ศาสนา , เงินทอง , พระมหากษัตริย์
ง. ชาติ , ศาสนา , พระมหากษัตริย์ , ประชาชน
๓๖๒. คนไทยที่สืบสายเลือดไทยมาแต่บรรพกาล มีบ้านเกิดเมืองนอนในประเทศไทย พูดภาษาไทยและมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นไทยโดยสมบูรณ์ เป็นลักษณะของคนไทยประเภทใด
ก. ไทยอารยัน ข. ไทยแท้
ค. ไทยโบราณ ง. ไทย

๓๖๓. ข้อใดคือลักษณะของความรู้สึกฝังลึกและผูกพันอย่างแน่นแฟ้นของคนไทย
ก. เบียดเบียน ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน
ข. อุดหนุนและขวนขวายในกิจกรรมของตนเอง
ค. รักใคร่กัน ปรารถดีต่อกันและกัน
ง. บำรุงรักษาสมบัติของชาติ
๓๖๔. “ ชาติไทย” ให้อะไรกับเหล่าคนไทยบ้าง
ก. ชีวิตและความภาคภูมิใจ ข. ชีวิตและเงินทอง
ค. แผ่นดินและที่ทำกิน ง. แผ่นดิน ชีวิตและศาสนา
๓๖๕. เหตุผลในข้อใด บ่งบอกถึงเหตุที่ทุกนต้องรักชาติที่ถูกต้องที่สุด
ก. เพราะเรามีส่วนได้เสีย ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาติหากชาติเจริญเราก็เจริญด้วย
ข. เพราะเรามีประโยชน์สุขจากการอาศัยอยู่ในแผ่นดิน
ค. เพราะเราเป็นเจ้าของประเทศชาติแต่เราเพียงผู้เดียว
ง. เพราะชาติทำให้เรามีชีวิตอยู่ร่ำรวยและมีความสุข
๓๖๖. ส่วนประกอบของชาติข้อใดที่ทำให้ประเทศเป็นเอกราช
ก. ประชาชน ข. ศาสนา
ค. ประเทศ ง. สถาบันการเมือง
๓๖๗. ข้อใดแสดงถึงนิยามของ “ ประเทศไทย” ได้ชัดเจนและแจ่มชัดที่สุด
ก. ดินแดนที่ทำมาหากินและถิ่นฐานของคนไทย
ข. ดินแดนของคนไทยตามที่ปรากฏในแผนที่
ค. ดินแดนในโซนทวีปเอเชีย
ง. ดินแดนอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนขงชาวไทยตามที่ปรากฏในแผนที่
๓๖๘. ข้อใดแสดงออกถึงความผูกพันทางใจที่คนไทยมีต่อบ้านเกิดเมืองนอนของคนได้ชัดเจนมากที่สุด
ก. รักและหวงแหนถิ่นฐานบ้านเมืองและป้องกันรักษาประเทศ
ข. รักและดำเนินธุรกิจกับต่างชาติเพื่อสนับสนุนการค้าของไทย
ค. ส่งภาษีเยอะ ๆ เพื่อจะได้ใช้เป็นงบประมาณประเทศได้
ง. บำรุงให้บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า
๓๖๙. “ ถ้าสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดินก็สิ้นคิด เรามายอมเสียชีวิตดีกว่าอยู่” บทความดังกล่าวนี้เป็นบทประพันธ์ส่งเสริมความรักชาติ ของผู้ใด
ก. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข. พล.ต.หลวง ชาตินักรบ
ค. พล.ต.ประยูร ภมรมนรี ง. พล.ต.หลวงวิจิตวาทภาร


๓๗๐. ข้อใดให้คำจำกัดความของคำว่า “ ศาสนา” ได้อย่างชัดเจนที่สุด
ก. เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของเหล่าประชาชน
ข. สิ่งที่มุ่งเน้นให้กระทำความดี ละเว้นความชั่ว
ค. คำสั่งสอนในทางที่ดีที่ผู้เป็นศาสดาแสดงสั่งสอนบัญญัติไว้ให้ทำดีละความชั่ว
ง. ทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล
๓๗๑. ชนชาติไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติโดยปรากฏหลักฐานเด่นชัด
เมื๋อสมัยใด
ก. สมัยกรุงศรีอยุธยา ข. สมัยรัตนโกสินทร์
ค. สมัยสุโขทัย ง. ก่อนสมัยพุทธศักราช
๓๗๒. หัวหน้าของชนชาติไทย คือผู้ใด
ก. พระมหากษัตริย์ ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๓๗๓. ข้อใดให้คำจำกัดความของ “ พระมหากษัตริย์” ได้ชัดเจนและถูกต้องที่สุด
ก. ผู้ทรงอยู่ในตำแหน่งประมุขและหัวหน้าของชนชาติไทย
ข. ผู้ทรงในตำแหน่งพระประมุขของชนชาติไทย และทรงมีหน้าที่อันที่จะคุ้มครอง
อาณาประชาราษฎร์ให้พ้นทุกข์ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ค. ผู้ทรงอยู่ในฐานะประมุขของชนชาติไทย มีอำนาจและหน้าที่ในการคุ้มครองประชาชน
ให้อยู่ดีกินดีมีความสุข
ง. ผู้ทรงในฐานะประมุขของชาติ มีอำนาจจัดการทุกข์สุขของราษฎรทั้งประเทศให้
อยู่เย็นเป็นสุข
๓๗๔. “ ข้าพเจ้าจะเชิดชูและรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า” บทความดังกล่าวเป็นบทคำกล่าวที่ทหารใช้ในโอกาสใด
ก. รายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา
ข. คำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล
ค. ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ง. คำกล่าวในงานสดุดีโดยทั่วไป
๓๗๕. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ถามว่า “อัครศาสนูปถัมภก” หมายถึงอะไร
ก. หัวหน้าของชนชาติไทย
ข. หัวหน้าของเหล่าศาสนาต่าง ๆ
ค. หัวหน้าของพสกนิกร
ง. หัวหน้าบำรุงรักษาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
๓๗๖. “ ลักษณะดีและเด่นของสังคมไทยที่คนไทยทั้งชาติมีร่วมกันซึ่งสำแดงความเป็นชาติและทำให้ชาติไทยแตกต่างจากสังคมอื่น” ตามบทความนี้คือคำจำกัดความของสิ่งใด
ก. ชนชาติไทย ข. เอกลักษณ์ความเป็นไทย
ค. ความภาคภูมิใจของคนไทย ง. มารยาทคนไทย
๓๗๗. สิ่งที่ทำให้คนไทยมีชีวิตที่มีคุณภาพ มีคุณค่า และมีความสุขอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้
สิ่งนั้นคืออะไร
ก. วัฒนธรรมไทย
ข. ระบบทางเศรษฐกิจที่มั่นคง
ค. ทุนทางวัฒนธรรม
ง. ระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
๓๗๘. สิ่งที่เด่นของคนไทยที่ทำให้คนไทยสามารถรักษาเอกราชอธิปไตยและความเป็นไทยมาได้
โดยตลอดคืออะไร
ก. สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข. สถาบันพระมหากษัตริย์ ตำรวจและทหาร
ค. ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติไทย
ง. กรอบทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาช้านาน
๓๗๙. วัฒนธรรม หมายถึงสิ่งใด
ก. ลักษณะแสดงความนิยมชมชอบในสังคม
ข. ลักษณะถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ค. สิ่งที่สืบเนื่องมาจากบรรพกาลนับถือสอบต่อกันมา
ง. ผลงานสร้างสรรค์อันเป็นมรดกตกทอดกันมาในสังคม
๓๘๐. ในยุคสมัยของรัฐบาลใดได้บังคับใช้กฎหมายในการกำหนดวัฒนธรรม ( กำหนดด้วยกฎหมาย)และคำสั่งทางราชการ
ก. จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ข. จอมพล ถนอม กิตติขจรน์
ค. จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ง. จอมพล ประพาส จารุเสถียร
๓๘๑. ข้อใดไม่ถืออยู่ในลักษณะของวัฒนธรรม
ก. การดำรงชีวิต ข. การแต่งกาย
ค. ความเชื่อทางศาสนา ง. การนอนและพักผ่อน
๓๘๒. วัฒนธรรมย่อยทางศาสนา ( religious subculture ) ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. คนไทยพุทธ เชื่อกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ข. คนไทยคริสต์ เชื่อตามไบเบิ้ล คัมภีร์ต่าง ๆ
ค. คนไทยพุทธ ทำบุญเยอระหวังขึ้นสวรรค์
ง. คนไทยพุทธ ทำบุญโดยไม่สนแก่ฐานะตน
๓๘๓. ข้อใดแสดงถึงวัฒนธรรมย่อยทางอายุ ( age subculture ) ผิด
ก. วัยเด็ก – เล่น
ข. วัยรุ่น – ทำงาน หาครอบครัว ชอบอยู่ลำพัง
ค. วัยหนุ่มสาว – สนุกสนาน ทำงาน หาครอบครัว
ง. วัยชรา – ความสงบ สุขุม มีชีวิตเรียบง่าย
๓๘๔. ประเพณีไทยแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ก. ๒ ประเภท คือประเพณีท้องถิ่น , ประเพณีของสังคม
ข. ๒ ประเภท คือรัฐพิธี , ประเพณีท้องถิ่น
ค. ๔ ประเภท คือขนบธรรมเนียม , จารีตประเพณี , วิถีชีวิตความเป็นอยู่และแบบธรรมเนียม
ง. ๔ ประเภท คือประเพณีเกี่ยวกับครอบครัว,ประเพณีสังคม,ประเพณีท้องถิ่น,
รัฐพิธีและราชพิธี
วิชา การปฐมพยาบาลและเวชกรรมป้องกัน
๓๘๕. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการจัดดินแดนเพื่อแบ่งดินแดนออกเป็นพื้นที่ต่าง ๆ
ก. พื้นที่สำหรับการรบ ข. พื้นที่สนับสนุนการรบ
ค. พื้นที่สำหรับสนับสนุนทางการช่วยรบ ง. พื้นที่สำหรับสนับสนุนทางการแพทย์
๓๘๖. เมื่อมีการประกาศสงคราม พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศคู่สงครามจะกลายเป็นเขตใด
ก. เขตการรบ ข. เขตสงคราม
ค. เขตอันตราย ง. เขตสงบ
๓๘๗. เมื่อมีการประกาศสงครามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศคู่สงครามมีพื้นที่ใดบ้าง
ก. ทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ข. ทางดิน ทางน้ำ ทางฟ้า
ค. ทางดิน ทางทะเล ทางฟ้า ง. ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
๓๘๘. เขตสงครามแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน ตามลักษณะการยุทธ์ ได้แก่อะไรบ้าง
ก. เขตยุทธบริเวณ และเขตภายนอก ข. เขตยุทธบริเวณ และเขตภายใน
ค. เขตหน้าและเขตยุทธบริเวณ ง. เขตหน้าและเขตภายใน
๓๘๙. พื้นที่ที่ใช้สำหรับปฏิบัติการทางทหารตามภารกิจทั้งการรบ การสนับสนุนการรบ และการสนับสนุนการช่วยรบ เรียกว่าเขตใด
ก. เขตหน้า ข. เขตหลัง
ค. เขตยุทธบริเวณ ง. เขตภายใน
๓๙๐. ผู้รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ทางการยุทธ์ คือผู้ใด
ก. ผู้บัญชาการยุทธบริเวณ ข. ผู้บัญชาการทหารบก
ค. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ง. ผู้บัญชาการหน่วยทหารนั้น ๆ
๓๙๑. การปฏิบัติการทางยุทธวิธี ในพื้นที่ของเขตสงคราม ได้แก่การรบด้วยวิธีใดบ้าง
ก. วิธีรุก วิธีรับ
ข. วิธีรุก วิธีรับ และวิธีร่นถอย
ค. วิธีตั้งรับ และวิธีร่นถอย
ง. วิธีรุก วิธีรับ และการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๓๙๒. การจัดเขตยุทธบริเวณ มีลักษณะอย่างไร
ก. มีความแน่นอนตายตัว
ข. เป็นรูปแบบที่มาตราฐาน
ค. เป็นรูปแบบเฉพาะเจาะจง
ง. ไม่มีความแน่นอนตายตัวหรือไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
๓๙๓. ผู้ที่กำหนดพื้นที่ยุทธบริเวณและแต่งตั้งผู้บัญชาการยุทธบริเวณ คือใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ข. ผู้บัญชาการทหารบก
ค. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
๓๙๔. เขตยุทธบริเวณจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ ๒ ส่วน คืออะไร
ก. เขตหน้าและเขตภายใน ข. เขตหน้าและเขตหลัง
ค. เขตภายในและเขตหลัง ง. เขตการยุทธและเขตหลัง
๓๙๕. เขตหน้าเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตการยุทธบริเวณ ประกอบไปด้วยพื้นที่ใดบ้าง
ก. พื้นที่ที่กำลังรบ และควบคุมการบังคับบัญชา
ข. พื้นที่ที่กำลังรบ และพื้นที่สนับสนุนการช่วยรบ
ค. พื้นที่ที่กำลังรบ ควบคุมการบังคับบัญชา และพื้นที่สนับสนุนการช่วยรบ
ง. พื้นที่ที่กำลังรบ และพื้นที่สนับสนุนทางการแพทย์
๓๙๖. พื้นที่ปฏิบัติของเขตหลังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คืออะไร
ก. กองพันสนาม และ กองพล ข. กองพลสนาม และ กองร้อย
ค. กองทัพสนาม และ กองร้อย ง. กองทัพสนาม และ กองพัน

๓๙๗. ผู้บัญชาการยุทธบริเวณเป็นผู้กำหนดเขตใดบ้าง
ก. เส้นหน้าของเขตหน้า ข. เส้นหน้าของเขตหลัง
ค. เส้นหลังของเขตหน้า ง. เส้นหลังของเขตหลัง
๓๙๘. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเขตหลัง
ก. เส้นทางการคมนาคม
ข. สถานที่ตั้งทางการส่งกำลังบำรุง
ค. การส่งกลับทางการแพทย์รวมทั้งหน่วยในเขตหลัง
ง. สถานที่ประกอบอาหาร
๓๙๙. เขตภายในเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตสงครามแต่ไม่ได้กำหนดเป็นเขตยุทธบริเวณ จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับใช้ทำสิ่งใด
ก. แสวงหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ข. แสวงหาทรัพยากรบุคคลและวัตถุ
ค. แสวงหาที่พักอาศัย ง. แสวงหาอาหารการกิน น้ำ
๔๐๐. เขตภายใน ให้การสนับสนุนเขตยุทธบริเวณตามจำนวนที่ต้องการตามเวลาที่กำหนด ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้การได้มากและดีที่สุด ณ ที่ใด
ก. ณ ตำบลที่เหมาะสม ข. ณ สถานที่ที่เหมาะสม
ค. ณ แหล่งที่เหมาะสม ง. ณ เขตที่เหมาะสม
๔๐๑. การเสนารักษ์สนาม คืออะไร
ก. การบริการทางการรบ + ยุทธศาสตร์ ข. การบริการทางการเมือง + ยุทธวิธี
ค. การบริการทางการแพทย์ + ยุทธวิธี ง. การบริการทางเศรษฐกิจ + ยุทธศาสตร์
๔๐๒. ภารกิจของเหล่าทหารแพทย์ คืออะไร
ก. การอนุรักษ์ ( สงวน ) กำลังรบ ข. การพิทักษ์รักษ์กำลังรบ
ค. การอนุรักษ์ ( สงวน ) กำลังทหาร ง. การพิทักษ์รักษ์กำลังทหาร
๔๐๓. การปฏิบัติหน้าที่ในด้านการป้องกันและการดูแลรักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ เป็นหน้าที่ของทหารเหล่าใด
ก. เหล่าทหารการบังคับบัญชา ข. เหล่าทหารเวชกรรมป้องกัน
ค. เหล่าทหารบก ง. เหล่าทหารแพทย์
๔๐๔. ปัจจุบันนี้แม้จะมีอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง ก็ยังต้องอาศัยคนเป็นผู้กำหนดข้อใดไม่ใช่
ก. หลักการ ข. กฎเกณฑ์ควบคุม
ค. การทำงานของเครื่องจักรกล ง. กดปุ่ม ลั่นไก
๔๐๕. เหล่าทหารแพทย์จำเป็นต้องปฏิบัติพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพข้อใดไม่ใช่
ก. การเวชกรรมป้องกัน + การรักษาพยาบาล
ข. การประชาสัมพันธ์ + การส่งกลับทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
ค. การส่งกลับทางการแพทย์ + การส่งกำลังสายแพทย์
ง. การบริการทางการแพทย์อื่น ๆ
๔๐๖. ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของกองทัพ คืออะไร
ก. บุคคลทั่ว ๆ ไป ข. ตำรวจ
ค. กำลังพล ( ทหาร ) ง. วัยรุ่น
๔๐๗. ในสนามรบทหารจะได้รับการรักษาพยาบาลตั้งแต่จุดใดถึงจุดใด
ก. จุดที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้าแล้วทำการรักษาพยาบาลบริเวณนั้น
ข. จุดที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้า แล้วส่งกลับโดย ฮ. มายังหน่วยแพทย์ที่ กทม.
ค. จุดที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้า แล้วส่งกลับคืนโดยรถยนต์ มายังหน่วยแพทย์ใกล้เคียง
ง. จุดที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้า แล้วส่งกลับมายังหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหลัง
๔๐๘. ในทุกขั้นตอน ณ ที่ตั้งของหน่วยแพทย์ เพื่อจัดลำดับความเร่งด่วนให้ผู้ป่วยได้ส่งไปรับการรักษาพยาบาล จะต้องทำการสิ่งใดก่อน
ก. คัดแยกผู้ป่วยเจ็บ ข. จำกัดผู้ป่วยเจ็บ
ค. จัดระเบียบผู้ป่วยเจ็บ ง. ตกแต่งผู้บาดเจ็บ
๔๐๙. ผู้ป่วยหรือบาดเจ็บเล็กน้อย ต้องให้การรักษาพยาบาลให้หายภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุดแล้วทำอย่างไรต่อ
ก. ส่งกลับหน่วยต้นสังกัด ข. รีบส่งคืนให้ปฏิบัติหน้าที่ในสนาม
ค. ส่งกลับไปพักผ่อนที่บ้าน ง. เปลี่ยนสายงานใหม่
๔๑๐. หน่วยแพทย์ที่อยู่ข่างหน้ามากเท่าใด จะมีขีดความสามารถทางการแพทย์จำกัด แต่จะมีสิ่งใดสูง
ก. ความหลุดพ้น ข. ความสุขสบาย
ค. ความคล่องตัวสูง ง. ความรวดเร็ว
๔๑๑. การส่งกลับทางการแพทย์ คือวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากจุดที่บาดเจ็บ ( สนามรบ ) มายังหน่วยแพทย์ที่อยู่ที่ใด
ก. ข้างหลัง ข. ข้างหน้า
ค. ด้านข้าง ง. ด้านนอก
๔๑๒. ข้อใดไม่ใช่วิธีการส่งกลับทางพื้นดิน
ก. การชี้ทางให้ผู้ป่วยเจ็บ ( ที่เดินได้ ) เดินไป
ข. การอุ้มพยุง การแบก การใช้เปลหาม
ค. การลำเลียงด้วยรถยนต์พยาบาล
ง. การเคลื่อนย้ายโดยใช้คนลาก
๔๑๓. การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บในสนามบางพื้นที่และบางสถานการณ์ เลวร้าย ไม่เหมาะสม อาจจำเป็นต้องใช้อะไรดัดแปลงในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บ
ก. สัตว์ต่าง ๆ และรถสายพานลำเลียงพล ข. ม้า และ รถถัง
ค. จัดหาลูกหาบจากท้องถิ่นนั้นมาช่วย ง. รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่
๔๑๔. การส่งกลับด้วยเปล ๑ พวกเปล จะมีพลเปลกี่คน
ก. ๘ คน ข. ๕ คน
ค. ๔ คน ง. ๖ คน
๔๑๕. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่มาจากอุปสรรคต่าง ๆ อันมิอาจหลีกเลี่ยงและก่อให้เกิดความล่าช้าในการส่งกลับ
ก. การกระทำของข้าศึก ข. ระบบการขนส่งที่สะดวกทันเหตุการณ์
ค. ระบบการติดต่อสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพ
ง. สภาพภูมิประเทศ ถนน และลมฟ้าอากาศ
๔๑๖. หน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหน้า จะได้รับสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์ประเภท สป.สิ้นเปลือง อะไรจากหน่วยแพทย์ที่สนับสนุนอยู่ข้างหลัง โดยการร้องขออย่างไม่เป็นทางการขณะปฏิบัติการอยู่ในสถานการณ์รบ
ก. วิทยุติดต่อสื่อสาร ข. เครื่องใช้สอยส่วนตัว
ค. ยารักษาโรค ง. ผ้าพันแผล ผ้าแต่งแผล เลือด ยา
๔๑๗. สิ่งอุปกรณ์ถาวรสายแพทย์ มีหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหน้าต้องจัดเตรียมมาทดแทน ให้ชิ้นต่อชิ้น ติดตัวอยู่กับผู้ป่วยเจ็บ ข้อใดไม่ใช่
ก. เปล ผ้าห่ม ข. เครื่องแต่งกาย
ค. สายรัดห้ามเลือด ง. เผือกโธมัส
๔๑๘. ในสถานการณ์ที่ยังไม่มีการรบ ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของการบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย
ก. เปิดที่ตรวจโรค
ข. ให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาล สุขศาสตร์ส่วนบุคคล
ค. เปิดห้องผ่าตัด
ง. กำกับดูแลในเรื่องเวชกรรมป้องกัน
๔๑๙. บัตรบันทึกการเจ็บป่วยในสนาม ต้องติดตัวไปกับผู้ป่วยเจ็บจนถึงที่ส่งกลับแห่งสุดท้าย จะได้รับการตรวจสอบและเซ็นชื่อกำกับไว้ด้วยเพื่ออะไร
ก. ความรวดเร็วในการขนส่ง ข. ความถูกต้องในการรักษาพยาบาล
ค. รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติ ง. ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย
๔๒๐. ในสถานการณ์รบจะร้องขอ สป.สาย พ. เพิ่มเติมและการแจกจ่ายส่งมาให้จะกระทำโดยทางสายการส่งกลับ ใช้ฝากมากับใคร
ก. เฮลิคอปเตอร์พยาบาล ข. รถยนต์ส่งกำลังบำรุง
ค. รถสายพานลำเลียงพล ง. รถยนต์พยาบาล
๔๒๑. รถยนต์พยาบาลในแนวหน้าแต่ละคันจะทำการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บ จะมีหน้าที่ประจำ 2 นาย คือ
ก. พลขับ และ ช่างเครื่อง ข. พลขับ และ พลทหาร
ค. พลขับ และ นายสิบพยาบาล ง. พลขับ และ แพทย์
๔๒๒. รถยนต์พยาบาลจะทำการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บจากแนวหน้า มายังที่พยาบาลข้างหลัง ซึ่งกระทำได้รวดเร็วและจำนวนมากราย ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่าง ๆ จากสถานการณ์รบ ข้อใดไม่ใช่
ก. ลักษณะภูมิประเทศ
ข. สภาพลมฟ้าอากาศในขณะนั้น
ค. ทหารทุกคนให้ความปลอดภัยจากสถานการณ์รบ
ง. ความสุขสบายในสนามรบ
๔๒๓. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาในการเลือกที่ตั้งพยาบาลกองพัน
ก. ความปลอดภัย ข. ใกล้ถนนและสะพาน
ค. การกำบังและซ่อนพราง ง. พื้นที่ที่คาดว่าจะมีผู้ป่วยเจ็บหนาแน่น
๔๒๔. เปลเป็นเครื่องมือที่ใช้ส่งกลับผู้ป่วยเจ็บในสนามได้ทุกลักษณะภูมิประเทศ
แต่มีขีดจำกัดในเรื่องใด
ก. ระยะทาง ข. ความเร็ว
ค. เวลา ง. น้ำหนัก
๔๒๕. การบริการทางการแพทย์ทางยุทธวิธี ได้แก่ข้อใด
ก. การบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย และระดับกองพล
ข. การบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย ระดับกองพล และกองทัพ
ค. การบริการทางการแพทย์ระดับกองพล และกองทัพ
ง. การบริการทางการแพทย์ระดับหน่วย และกองทัพ
๔๒๖. การบริการทางการแพทย์เริ่มปฏิบัติขึ้นก่อนคือระดับใด
ก. ระดับกองพล ข. ระดับกองทัพ
ค. ระดับหน่วย ง. ระดับเขตหลังและเขตภายใน
๔๒๗. พื้นที่กำลังรบ ใช้สำหรับปฏิบัติการทางยุทธวิธีคือเขตใด
ก. เขตหน้า ข. เขตหลัง
ค. เขตยุทธบริเวณ ง. เขตภายใน
๔๒๘. พื้นที่ที่ประกอบด้วยเส้นทางคมนาคม สถานที่ตั้งทางการส่งกำลังบำรุง และการส่งกลับทางการแพทย์ คือเขตใด
ก. เขตหน้า ข. เขตหลัง
ค. เขตยุทธบริเวณ ง. เขตภายใน
๔๒๙. พื้นที่ที่ใช้สำหรับแสวงหาทรัพยากรทั้งทางบุคคลและวัตถุที่เหมาะสมอยู่ในสถานที่ปลอดภัยให้ใช้การได้มากและดีที่สุดคือเขตใด
ก. เขตหน้า ข. เขตหลัง
ค. เขตยุทธบริเวณ ง. เขตภายใน
๔๓๐. วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บจากจุดที่บาดเจ็บ ( สนามรบ ) หรือจากหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหน้า มายังหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหลัง เรียกว่าอะไร
ก. การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บ ข. การส่งคืนผู้ป่วยเจ็บ
ค. การจัดส่งผู้ป่วยเจ็บ ง. การจัดเก็บผู้ป่วยเจ็บ
๔๓๑. ในสนามรบของหน่วยแพทย์ที่อยู่ข้างหน้าสุด คืออะไร
ก. ที่พยาบาลกองพล ข. ที่พยาบาลกองทัพ
ค. ที่พยาบาลกองพัน ง. ที่พยาบาลผู้ป่วยเจ็บ
๔๓๒. ในการจัดให้กำลังพลในหน่วยของตนได้รับบริการทางการแพทย์อย่างเพียงพออยู่ในความรับผิดชอบ ของใคร
ก. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น
ข. ผู้บังคับบัญชาที่ใหญ่ที่สุดของหน่วยนั้น
ค. ผู้บังคับหน่วยแพทย์หรือนายแพทย์ใหญ่ในสนาม
ง. หัวหน้าหน่วยที่จัดการด้านกำลังพล
๔๓๓. ข้อใดไม่ใช่หลักทั่วไปที่นำมาใช้ในการสนับสนุนทางการแพทย์ตามจุดมุ่งหมายในสนามรบ
ก. หลักของความต่อเนื่อง หลักของการควบคุม ข. หลักความใกล้ชิด หลักความอ่อนตัว
ค. หลักความประชิดตัว หลักการประสานพลัง ง. หลักความคล่องตัว หลักความสอดคล้อง
๔๓๔. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของหลักความใกล้ชิดที่นำมาใช้ในการสนับสนุนทางการแพทย์ในสนาม
ก. เพื่อสะดวกต่อการควบคุมดูแลและแก้ไขต่อหน่วยแพทย์
ข. แจกจ่ายทรัพยากรทางการแพทย์ทุกชนิดให้ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการยุทธ์
ค. ต้องมีความสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติทางยุทธวิธีของหน่วยที่กำลังดำเนินกลยุทธ์
ง. เพื่อลดอันตรายจากความรุนแรงของโรคและการตายให้น้อยลง
๔๓๕. ผู้บังคับหน่วยแพทย์ยิ่งสามารถได้ทราบสถานการณ์ทางยุทธวิธีมากเท่าใด ก็ยิ่งนำสิ่งใดได้เหมาะสมและประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ก. วางนโยบายทุก ๆ ด้าน ข. วางแผนสนับสนุนทางการแพทย์
ค. ให้นโยบายแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ง. วางแผนการรบ
๔๓๖. การบริการทางการแพทย์ในสนาม หมายถึงอะไร
ก. การนำเอาทรัพยากรทางการแพทย์ผสมผสานกับการปฏิบัติการทางยุทธวิธี
ข. การนำเอาเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ผสมผสานกับความสะดวกสบายในสนาม
ค. การนำเอาเครื่องมือทางการแพทย์ผสมผสานยุทโธปกรณ์ทางยุทธวิธี
ง. การนำเอาเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ผสมผสานกับกำลังพลในสนาม
๔๓๗. ประสิทธิภาพของการบริการทางการแพทย์ในสนาม จัดได้จากสิ่งใด
ก. จำนวนเหรียญกล้าหาญที่ได้รับ
ข. คำชมเชยต่าง ๆ จากผู้บังคับบัญชา
ค. การได้รับชัยชนะจากการสู้รบกับข้าศึกในสนาม
ง. จำนวนผู้ป่วยเจ็บที่สามารถช่วยชีวิตหรือป้องกันความพิการได้
๔๓๘. ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มีกลไกในการหายใจอย่างไร
ก. นำออกซิเจนไปยังหัวใจแล้วส่งไปทั่วร่างกาย
ข. นำออกซิเจนเข้าไปยังปอดแล้วส่งไปทั่วร่างกายโดยผ่านไปตามเส้นโลหิต
ค. นำออกซิเจนจากเส้นโลหิตไปยังหัวใจ
ง. นำออกซิเจนจากหัวใจ แล้วส่งไปเฉพาะส่วนที่สำคัญของร่างกาย
๔๓๙. เซลล์ประสาทที่มีความสำคัญต่อชีวิตซึ่งอยู่ในสมองอาจตายได้หลังขาดออกซิเจนเพียงกี่นาทีเท่านั้น
ก. ๑ นาที ข. ๒ นาที
ค. ๓ นาที ง. ๔ นาที
๔๔๐. ข้อใดไม่ใช่อาการฉุกเฉินที่สามารถทำให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในขั้นอันตรายได้
ก. มีบาดแผลที่เกิดการอักเสบ เจ็บปวด บวมแดง
ข. การขาดระยะของการหายใจ หรืออัตราการเต้นของหัวใจ
ค. การสูญเสียโลหิตอย่างหนัก
ง. ภาวะการหมดสติ
๔๔๑. กลวิธีสำหรับการหายใจโดยใช้การผายปอดกระทำเพื่ออะไร
ก. อากาศผ่านไปสู่หัวใจของผู้ป่วยเจ็บที่พอหายใจได้
ข. อากาศผ่านไปสู่ปอดของผู้ป่วยเจ็บที่พอหายใจได้
ค. อากาศผ่านไปสู่หัวใจของผู้ป่วยเจ็บที่กำลังขาดระยะการหายใจ
ง. อากาศผ่านไปสู่ปอดของผู้ป่วยเจ็บที่กำลังที่ขาดระบบการหายใจ
๔๔๒. กลวิธีสำหรับการหมุนเวียนของโลหิต โดยใช้การปั้มหัวใจ กระทำเพื่ออะไร
ก. ใช้แรงกระแทกลงบนหน้าอก ทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิต
ข. ใช้แรงกดลงบนทรวงอกด้านซ้ายทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี
ค. ใช้ฝ่ามือนวดลงบนทรวงอกด้านซ้าย ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี
ง. ใช้หลังมือกระแทกลงบนหน้าอก ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี
๔๔๓. ในการหายใจมีสิ่งใดที่จำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิต
ก. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ข. ก๊าซไนโตรเจน
ค. ออกซิเจน ง. ก๊าซโอโซน
๔๔๔. ข้อใดไม่ได้จัดอยู่ในระยะของการหายใจ
ก. การหายใจเร็ว ข. การหายใจช้า
ค. การหายใจออก ง. จังหวะหยุด
๔๔๕. วิธีการช่วยชีวิตผู้ป่วยเจ็บ ให้บรรลุผลควรอยู่ในท่านอนอย่างไร
ก. นอนคว่ำ ข. นอนหงายราบ
ค. นอนตามสบาย ง. นอนตะแคง
๔๔๖. การตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจชีพจรบริเวณใดที่สามารถยืนยันผลที่เชื่อถือได้
ก. บริเวณข้อมือ ข. บริเวณขมับ
ค. บริเวณข้อพับ ง. บริเวณลำคอด้านข้าง
๔๔๗. ข้อใดไม่ใช่วิธีการห้ามเลือดให้กับผู้บาดเจ็บที่มีเลือดออกมาก
ก. กดบริเวณทรวงอก ข. กดบริเวณบาดแผล
ค. กดบริเวณเส้นเลือดแดง ง. การขันชะเนาะ
๔๔๘. เมื่อมีเลือดออกภายนอกให้ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณบาดแผล แต่ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหล ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ยกส่วนบาดแผลให้สูงขึ้น รีบไปโรงพยาบาล
ข. เอาผ้าพันแผลเดิมออกแล้วพันใหม่
ค. ให้ใช้ผ้าพันแผลพันทับลงไป
ง. ใช้สมุนไพรปิดบาดแผลให้เลือดหยุดไหล
๔๔๙. ในรายที่สงสัยว่ากระดูกคอหรือกระดูกสันหลังหัก ไม่ควรให้ผู้บาดเจ็บปฏิบัติสิ่งใดเป็นอันขาด จะทำให้เกิดอัมพาตได้
ก. นอนราบ ข. หยุดนั่ง
ค. ห้ามเคลื่อนย้าย ง. อยู่นิ่ง ๆ
๔๕๐. วิธีการขันชะเนาะให้ได้ผล ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ควรคลายขันชะเนาะออกเมื่อมีอาการชา
ข. ควรใช้เชือก สายไฟ ลวด หรือด้ายเล็ก ๆ ทำเป็นขันชะเนาะ
ค. รัดพื้นที่ที่อยู่ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ ห่างบาดแผลประมาณ ๒ นิ้ว
ง. ไม่ควรใช้ผ้านุ่ม ๆ รองโดยรอบก่อนการขันชะเนาะ
๔๕๑. ข้อใดไม่ใช่การลำเลียงด้วยมือ
ก. จัดหาเปลไม่ได้
ข. ภูมิประเทศไม่อำนวยให้ลำเลียง
ค. ชุดเคลื่อนย้ายไม่สามารถออกปฏิบัติงานได้ เนื่องจากการปฏิบัติการของฝ่ายข้าศึก
ง. ลำเลียงผู้ป่วยเจ็บไปได้ในระยะไกล ๆ
๔๕๒. ข้อใดไม่ใช่การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยผ้านุ่ม
ก. อุ้มด้วยการใช้เครื่องอำนวยความสะดวก ข. อุ้มเดี่ยว
ค. อุ้มคู่ ง. อุ้มมากกว่า ๒ คน ขึ้นไป
๔๕๓. วิธีการอุ้มแบบใดที่เหมาะกับคนที่หมดสติและง่ายที่สุดสำหรับการอุ้มเพียงคนเดียว
ก. อุ้มพยุง ข. อุ้มแบก
ค. อุ้มลากด้วยเข็มขัดปืนพก ง. อุ้มทาบหลัง
๔๕๔. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยท่าอุ้มคู่
ก. นำผู้ป่วยเจ็บไปได้ในระยะไกล ๆ
ข. ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยกว่าการอุ้มเดี่ยว
ค. เหมาะสำหรับผู้ป่วยเจ็บที่หมดสติ
ง. มีความปลอดภัยน้อยกว่าการอุ้มเดี่ยว
๔๕๕. การลำเลียงผู้ป่วยเจ็บด้วยท่าอุ้มคู่และการใช้เปลสนาม มีความจำเป็นหรือไม่ต้องมีหัวหน้าหรือผู้บอก ยก ลุก นับ แบก – เปล
ก. จำเป็นจะได้เป็นแนวทางเดียวกัน
ข. ไม่จำเป็นต้องมีหัวหน้า
ค. ใครเป็นหัวหน้าหรือผู้บอกก็ได้
ง. ไม่มีการบอกเกี่ยวกับการอุ้มคู่หรือการใช้เปลสนาม

๔๕๖. ข้อใดไม่ใช่ความมุ่งหมายของการจัดแบ่งพวกเปล
ก. เพื่อให้พวกเปลทราบตำแหน่ง
ข. เพื่อให้รู้หน้าที่ของตนเอง
ค. เพื่อให้ความสุขสบายแก่ผู้ป่วยเจ็บ
ง. เพื่อให้พวกเปลมีระเบียบเรียบร้อย มีวินัย รวดเร็ว ถูกต้อง
๔๕๗. การหามผู้ป่วยเจ็บที่นอนอยู่บนเปลเมื่อออกเดินเอาทางใดไปก่อน
ก. ศีรษะ ข. เท้า
ค. ลำตัวข้างซ้าย ง. ลำตัวข้างขวา
๔๕๘. การหามผู้ป่วยเจ็บบนเปลขึ้นภูเขาหรือขึ้นบันใดต้องเอาส่วนใดขึ้นไปก่อน
ก. เท้า ข. ลำตัวข้างซ้าย
ค. ลำตัวข้างขวา ง. ศีรษะ
๔๕๙. การยกบริเวณที่มีบาดแผลให้ขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่ออะไร
ก. ช่วยเพิ่มความดันในเส้นเลือด
ข. ช่วยให้ความรุนแรงของบาดแผลดีขึ้น
ค. ช่วยลดความดันในเส้นเลือดและทำให้เลือดออกน้อยลง
ง. ช่วยให้การอักเสบ บามแดง ลดน้อยลง
๔๖๐. บริเวณที่ขันชะเนาะต้องเปิดไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเห็นและให้ความระมัดระวัง ข้อใดไม่ใช่วิธีการ
ก. ติดป้ายให้เห็นชัดเจนบริเวณที่ขันชะเนาะ ข. เขียนที่ผ้าแล้วโพกไว้บนศีรษะ
ค. บอกเวลาที่ทำการขันชะเนาะ ง. ใช้หมึกเขียนที่หน้าผากผู้ป่วยเจ็บ
๔๖๑. กรมแพทย์ที่ทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสายวิยาการแพทย์ของกองทัพบก ข้อใดไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบ
ก. จัดให้มีการบริการทางการแพทย์ ในยามปกติ
ข. จัดให้มีการบริการทางการแพทย์ ในยามสงคราม
ค. ให้ปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ง. ปฏิบัติการรบเคียงคู่กับทหารรบเพื่อปราบปรามข้าศึก
๔๖๒. พันธกิจของเหล่าทหารแพทย์มีความยากลำบากกว่างานอื่น ๆ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่สุดคืออะไร
ก. การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บ ข. การรักษาพยาบาล
ค. การส่งเสบียงอาหาร ง. การสนับสนุนอุปกรณ์สายแพทย์
๔๖๓. กระสุนและวัตถุระเบิดที่ติดตัวมากับผู้ป่วยเจ็บ จะถูกเก็บไว้ที่ใด
ก. ที่พยาบาลกองพล ข. ที่พยาบาลกองพัน
ค. ที่พยาบาลกองทัพ ง. โรงพยาบาลในเขตหลัง
๔๖๔. ข้อใดไม่ใช่ที่ตั้งทางการแพทย์ในสนามรบ
ก. ให้ใกล้เข้าไปข้างหน้าเท่าที่จะทำได้ ข. ไกลออกไปข้างหลัง
ค. ตั้งอยู่บริเวณที่มีการสู้รบกับข้าศึก ง. ไม่กีดขวางต่อการปฏิบัติการรบ
วิชา การบรรเทาสาธารณภัย
๔๖๕. สาธารณภัย หมายถึง
ก. ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ
ข. ภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
ค. ภัยที่เกิดจากรถเมล์สาธารณะ
ง. ภัยหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์
๔๖๖. ภัยที่เกิดขึ้นจากสงคราม ถือเป็นสาธารณภัยหรือไม่เพราะเหตุใด
ก. เป็น เพราะเป็นภัยที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์
ข. เป็น เพราะเป็นภัยที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิต
ค. ไม่เป็น เพราะเป็นสงคราม
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
๔๖๗. ภัยที่เกิดจากความไม่สงบภายใน ถือเป็นสาธารณภัยหรือไม่เพราะเหตุใด
ก. ไม่เป็น เพราะเกิดจากความไม่สงบภายใน
ข. เป็น เพราะกระทบกระเทือนต่อความสงบสุขของคนในชาติ
ค. ไม่เป็น เพราะไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๖๘. ภัยที่เกิดจากการโจมตีภายนอก ถือเป็นสาธารณภัยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่เป็น เพราะเป็นสงครามภายนอกประเทศ
ข. เป็น เพราะกระทบกระเทือนต่อความสงบสุขของคนในชาติ
ค. ไม่เป็น เพราะไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๖๙. อัคคีภัย คือภัยที่เกิดจากอะไร
ก. น้ำ ข. ไฟ
ค. ลม ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๐. อุทกภัย คือภัยที่เกิดจากอะไร
ก. น้ำ ข. ไฟ
ค. ลม ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๑. วาตภัย คือภัยที่เกิดจากอะไร
ก. น้ำ ข. ไฟ
ค. ลม ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๒. ไฟป่า ถือเป็นภัยชนิดใด
ก. อัคคีภัย ข. วาตภัย
ค. อุทกภัย ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๗๓. ผลกระทบทางตรง ของสาธารณภัยที่มีต่อประชาชนคือ
ก. เสียชีวิตและทรัพย์สิน ข. เสียญาติ พี่น้อง
ค. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๔. ผลกระทบทางอ้อม ของสาธารณภัยที่มีต่อประชาชนคือ
ก. เสียชีวิตและทรัพย์สิน ข. เสียญาติ พี่น้อง
ค. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๕. ส่วนมากคนไทย เมื่อพูดถึงสาธารณภัย จะนึกถึงภัยอะไรมากที่สุด
ก. อัคคีภัย ข. วาตภัย
ค. อุทกภัย ง. ถูกทุกข้อ
๔๗๖. ลักษณะการบรรเทาสาธารณภัยระยะแรก แบ่งการปฏิบัติออกเป็นกี่ลักษณะ
ก. ๑ ข. ๒
ค. ๓ ง. ๔
๔๗๗. งานบรรเทาสาธารณภัย ในลักษณะใดคือช่วยให้ปลอดภัยให้พ้นภัย
ก. สงเคราะห์ ข. สงสาร
ค. ช่วยเหลือ ง. ช่วยดู
๔๗๘. งานบรรเทาสาธารณภัย ในลักษณะใดคือช่วยให้ผู้ประสบภัยฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนเกิดสาธารณภัย
ก. สงเคราะห์ ข. สงสาร
ค. ช่วยเหลือ ง. ช่วยดู
๔๗๙. ด้านการป้องกัน หมายถึงอะไร
ก. การวางแผนเพื่อไม่ให้สาธารณภัยเกิดขึ้น ข. การช่วยเหลือ
ค. การสงเคราะห์ ง. ถูกทุกข้อ

๔๘๐. การป้องกันไม่ให้เกิดสาธารณภัย ทำไมทำได้ยาก
ก. การสื่อสารไม่ดี ข. ไม่มีงบประมาณ
ค. สาธารณภัยไม่สามารถควบคุมได้ ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๘๑. ความรุนแรง ของสาธารณภัยระยะใดรุนแรงที่สุด
ก. ระยะแรก ข. ระยะสอง
ค. ระยะอิ่มตัว ง. ระยะสุดท้าย
๔๘๒. ภัยที่เกิดที่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เป็นภัยที่เกิดจากอะไร
ก. อัคคีภัย ข. วาตภัย
ค. อุทกภัย ง. ถูกทุกข้อ
๔๘๓. ซึนามิ เป็นภัยที่เกิดจากอะไร
ก. อัคคีภัย ข. วาตภัย
ค. อุทกภัย ง. ถูกทุกข้อ
๔๘๔. ขั้นตอนใดในการบรรเทาสาธารณภัย ที่มีระยะเวลายาวนานที่สุด
ก. การป้องกัน ข. การระวังภัยและช่วยเหลือ
ค. การให้การสงเคราะห์ ง. ถูกทุกข้อ
๔๘๕. หลักการปฏิบัติในการบรรเทาสาธารณภัย เป็นความรับผิดชอบของใครเป้นหลัก
ก. นักการเมือง ข. รัฐบาลส่วนท้องถิ่น
ค. รัฐบาลกลาง ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
๔๘๖. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไทยเริ่มปฏิบัติงานบรรเทาสาธารณภัยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.ใด
ก. พ.ศ. ๒๕๐๖ ข. พ.ศ. ๒๕๐๗
ค. พ.ศ. ๒๕๐๘ ง. พ.ศ. ๒๕๐๙
๔๘๗. กองตำรวจดับเพลิง มีหน้าที่อะไร ในปี พ.ศ. 2503
ก. บรรเทาสาธารณภัย ข. บรรเทาเหตุอัคคีภัย
ค. ตัดสินคดีความ ง. ถูกทุกข้อ
๔๘๘. ได้เปลี่ยนชื่อ “ กองตำรวจดับเพลิง” เป็นชื่ออะไร
ก. กองดับเพลิง ข. กองกำกับการตำรวจดับเพลิง
ค. ตำรวจดับเพลิง ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๘๙. เมื่อกองตำรวจดับเพลิงได้เปลี่ยนชื่อ ได้มีหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างไร
ก. เป็นหน่วยบรรเทาสาธารณภัย มีความรับผิดชอบมากขึ้น และกว้างขวางขึ้น
ข. เป็นหน่วยบรรเทาอัคคีภัยเหมือนเดิม ความรับผิดชอบเท่าเดิม
ค. มีหน้าที่พิจารณาคดีควบคู่กับการบรรเทาสาธารณภัยไปด้วย
ง. ผิดทุกข้อ
๔๙๐. ศูนย์ฝึกอบรม ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในส่วนภูมิภาค มีกี่แห่ง
ก. ๑ ข. ๒
ค. ๓ ง. ๔
๔๙๑. ศูนย์ฝึกอบรม มีหน้าที่หน้าที่หลักกี่ประการ
ก. ๑ ข. ๒
ค. ๓ ง. ๔
๔๙๒. ให้การอบรมแก่เจ้าหน้าที่เทศบาล สุขาภิบาล เจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ เป็นหน้าที่หลักของ “ ศูนย์ฝึกอบรม” หรือไม่ เพราะอะไร
ก. ไม่ เพราะมีหน่วยงานอื่นมารับหน้าที่อบรมแทน
ข. ไม่ เพราะอยู่นอกเหนือหน้าที่หลัก
ค. เป็น เพราะอยู่ในหน้าที่หลัก และเป็นความรับผิดชอบหลัก
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
๔๙๓. การดำเนินงานเกี่ยวกับสาธารณภัย โดยกระบวนการทั้งหมดของสิ่งที่ต้องทำ แบ่งออกเป็นกี่ส่วน
ก. ๑ ส่วน ข. ๒ ส่วน
ค. ๓ ส่วน ง. ๔ ส่วน
๔๙๔. ส่วนที่ ๒ ของการดำเนินงานเกี่ยวกับสาธารณภัย คืออะไร
ก. การระวังป้องกันและการช่วยเหลือ ข. การป้องกัน
ค. การสงเคราะห์ ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๙๕. ขั้นตอนของการดำเนินงานเกี่ยวกับสาธารณภัย ขั้นตอนใดหากมิได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว เกือบถือเป็นงานเดียวกัน
ก. ขั้นแรกกับขั้นที่สอง ข. ขั้นสองกับขั้นสุดท้าย
ค. ขั้นแรกกับขั้นสุดท้าย ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๙๖. ในการช่วยกันป้องกันสาธารณภัย หน้าที่หลักเป็นของใคร
ก. รัฐบาล ข. เอกชน
ค. นักศึกษา ง. ไม่มีข้อใดถูก

วิชาการสงครามพิเศษ

๓๑๓. การก่อความไม่สงบ ใช้วิธีการหลายรูปแบบแต่ฐานการสนับสนุนที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งมาจาก ?
ก. ทหาร ข. กึ่งทหาร
ค. เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ง. ประชาชน
๓๑๔. สาเหตุของการก่อความไม่สงบ ข้อใดกล่าวถูกต้อง ?
ก. ประชาชนที่ล่อแหลม ข. การชี้นำและการชักนำจากภายนอก
ค. มาตรการควบคุมของรัฐที่เข้มแข็ง ง. ปัจจัยข้างต้นผสมผสานกัน
๓๑๕. ยุทธศาสตร์การก่อความไม่สงบกำหนดได้ ๓ รูปแบบ วิธีการสร้างความขัดแย้งต่อรัฐบาลให้ยืดเยื้อยาวนานอยากทราบว่า ใช้ยุทธศาสตร์ใด
ก. ยุทธศาสตร์ขวา ข. ยุทธศาสตร์ซ้าย
ค. ยุทธศาสตร์มวลชน ง. ยุทธศาสตร์การยุทธ
๓๑๖. การจัดตั้งองค์กรสำหรับก่อความไม่สงบ ผู้ที่กำหนดนโยบาย และกำกับดูแลการเคลื่อนไหวในการการก่อความ ไม่สงบรวมทั้งควบคุมองค์กรพลเรือน และส่วนกำลังติดอาวุธ ได้แก่ส่วนใด
ก. พรรคหรือองค์กรการนำ ข. องค์กรมวลชนพลเรือน
ค. ส่วนกำลังติดอาวุธ ง. องค์การด้านการเมือง
๓๑๗. ลักษณะการปฎิบัติการจู่โจมด้วยความรุนแรงใช้ห้วงระยะเวลาสั้นๆ แล้วถอนตัวออกอย่างรวดเร็วเป็นการปฏิบัติ ในรูปแบบใด
ก. การปฏิบัติการจิตวิทยา ข. การปฎิบัติการของกองโจร
ค. พลเรือน, ตำรวจ, ทหาร ง. การปฎิบัติการของก่อการร้าย
๓๑๘. ยุทธศาสตร์ในการ ปปส. ประกอบ ๔ ส่วน อยากทราบว่าการจัดตั้ง และระดมประชาชนให้สนับสนุนฝ่าย รัฐบาลคือ ส่วนใด
ก. การพัฒนาที่สมดุล ข. การรักษาความปลอดภัย
ค. การระดมสรรพกำลัง ง. การทำลายองค์กรการก่อความไม่สงบ
๓๑๙. หลักการ ปปส. ประกอบด้วย ๔ ประการ การหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการที่รุนแรงตอบโต้ ใช้กำลังให้น้อยที่สุด ใช้ทางกฎหมายในการดำเนินการคือ ข้อใด
ก. เอกภาพในการปฏิบัติ ข. ใช้ข่าวกรองให้มากที่สุด
ค. ลดความรุนแรงให้เหลือน้อยที่สุด ง. รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ
๓๒๐. ในการปฏิบัติการตอบโต้ การก่อความไม่สงบนั้น ควรมุ่งการปฏิบัติลักษณะใด
ก. เพิ่มความรุนแรง ให้ฝ่ายตรงข้ามยอมและมอบตัว
ข. เพื่อป้องกันการก่อความไม่สงบ
ค. ไม่ให้ยกระดับความรุนแรงมากขึ้น
ง. ข้อ ข. และข้อ ค. ถูก
๓๒๑. การใช้กำลังใน ปปส. ประกอบด้วย
ก. กำลังทหาร
ข. กำลังกึ่งทหาร
ค. กำลังตำรวจ
ง. กำลังทหาร, กำลังกึ่งทหาร, กำลังตำรวจและกำลังอื่นๆ
๓๒๒. การปฎิบัติการหลักของทหารในการ ปปส. ได้แก่
ก. การข่าวกรอง ข. การปฏิบัติการจิตวิทยา
ค. การปฏิบัติทางยุทธวิธี ง. ถูกทั้งหมด
๓๒๓. ในการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ แบ่งออกเป็นกำหนดการหลัก ๓ ประการ และกำหนดการเสริม ๒ ประการ อยากทราบว่ากำหนดการเสริม คือข้อใด
ก. กรปรับปรุงสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือประชาชน
ข. การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร
ค. การปราบปรามกองกำลังติดอาวุธ
ง. การปฏิบัติการจิตวิทยา
๓๒๔. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการ ปปส. คือ
ก. ใช้กำลังทหาร และจนท.พิเศษ อื่นๆ ให้มากเท่าที่ทำได้
ข. ใช้ความรุนแรงและเด็ดขาด
ค. การที่ได้รับข่าวกรองที่ละเอียด ถูกต้อง ทันเวลา
ง. ให้เสรีในการปฏิบัติให้กับระดับ ผบ.หน่วย อยู่ในพื้นที่
๓๒๕. การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ๓ ประการ ข้อใดไม่ใช่
ก. การตัดการสนับสนุน
ข. การค้นหาและตัดรอนองค์กรการก่อความไม่สงบ
ค. สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อก่อความไม่สงบ
ง. การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
๓๒๖. ความรู้ที่เกี่ยวกับข้าศึก ลมฟ้าอากาศ ภูมิประเทศในพื้นที่ปฏิบัติการ ข่าวสารที่เกี่ยวกับความโน้มเอียง ความผูกพันคุณลักษณะของประชาชน ในพื้นที่ปฏิบัติการของกองโจร เรียกว่าข่าวประเภทใด
ก. การรวบรวมข่าวสาร ข. ข่าวกรองทางยุทธศาสตร์
ค. ข่าวกรองการรบ ง. การต่อต้านข่าวกรอง
๓๒๗. บทบาทในการ ปจว. ในการสนับสนุนการปราบปรามกองกำลังติดอาวุธ กระทำเพื่อ
ก. โจมตีจุดอ่อนของกองโจร ข. ทำลายขวัญและกำลังใจในการต้อสู้
ค. การชักจูงให้ยอมแพ้และมอบตัว ง. ถูกทุกข้อ
๓๒๘. ข้อใดไม่ใช่ภารกิจหลักของหน่วยรบพิเศษ ซึ่งมีเรื่องหลัก ๓ ประการ
ก. การช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำ การวางแผนและฝึกกำลังทหาร, ตำรวจ และกำลังกึ่งทหาร
ข. จัดตั้งกำลังประชาชนเพื่อสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล
ค. การปฏิบัติการยุทธวิธีโดยหน่วยรบพิเศษ
ง. ให้คำแนะนำในการประกอบอาชีพโดยทั่วไป
๓๒๙. หน่วย รพศ. ยังสามารถให้การสนับสนุนภารกิจอื่นๆ ได้อีก นอกจากภารกิจหลัก ได้แก่
ก. ด้านการข่าว ข. การ ปจว.
ค. การช่วยเหลือประชาชนตามขีดความสามารถ ง. ถูกทุกข้อ
๓๓๐. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกำลังประชาชน ปปส.
ก. เพื่อชี้นำให้ประชาชนตื่นตัว
ข. ผนึกกำลังประชาชนเข้ากับฝ่ายปกครอง
ค. ฝึกและใช้กำลังประชาชนทำลายกวาดล้างแทนเจ้าหน้าที่
ง. สร้างและขยายกำลังประชาชนตามแนวชายแดน
๓๓๑. ขั้นตอนในการจัดตั้งกำลังประชาชน ประกอบด้วย ๕ ขั้น คือ
ก. ขั้นเตรียมการ ข. ขั้นการดำเนินการทาง ปจว.
ค. ขั้นการทำลายโครงสร้างขบวนการของฝ่ายตารงข้าม
ง. ถูกทุกข้อ

๓๓๒. การจัดตั้งข่ายการปฏิบัติการด้านการข่าวกรองของหน่วยรบพิเศษ ในพื้นที่ต่างๆ จะเป็นข่าวประเภทใด
ก. ข่าวกรองการรบ ข. ข่าวสารทางทหาร
ค. ข่าวกรองยุทธศาสตร์ ง. ข่าวลับและข่าวเปิด
๓๓๓. เป้าหมายสุดท้ายของการก่อความไม่สงบของกลุ่มที่มีการจัดตั้งในการล้มล้างรัฐบาล ได้แก่
ก. สร้างความขัดแย้ง ข. ทำลายด้านเศรษฐกิจ
ค. การยึดอำนาจ ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
๓๓๔. แบบของการก่อการร้าย เพื่อทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลและทำลายขวัญวิธีที่กองโจรนิยม
ใช้มาก คือ
ก. การวางระเบิดและการลอบสังหาร ข. การค้ายาเสพติด
ค. การค้าอาวุธสงคราม ง. การยุยงให้แตกความสามัคคี
๓๓๕. แหล่งข่าวและเจ้าหน้าที่รวบรวมข่าวสารในการ ปปส. ได้แก่
ก. ประชาชน ข. ผู้ขายข่าว
ค. ผู้กลับใจและผู้มอบตัว ง. ถูกทุกข้อ
๓๓๖. การจัดตั้งกำลังประชาชนในการป้องกัน และปราบปรามการก่อความไม่สงบ , ภารกิจหลักที่มอบให้ประชาชน ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. การช่วยเหลือด้านการข่าว ข. การควบคุมประชาชน
ค. ให้การสนับสนุนฝ่ายตรงข้าม ง. เพื่อสนับสนุนรัฐบาล
๓๓๗. “ การชนะร้อยทั้งร้อย มิใช่วิธีอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลยจึงถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง ” เป็นคำพูดของนักปราชญ์ชาวจีน ชื่อ.........
ก. โจโฉ ข. เข้งเฮ็ก
ค. เหมาเจ๋อตุง ง. ซุนวู
๓๓๘. การใช้โฆษณาชวนเชื่อและการปฏิบัติอื่นๆ เพื่อให้ฝ่ายศัตรูอ่อนแอลงด้วยการยุยงให้แตกแยก แตกความสามัคคีจนพ่ายแพ้ในที่สุด เป็นความหมายของ...........
ก. สงครามนอกแบบ ข. สงครามในแบบ
ค. สงครามจิตวิทยา ง. สงครามเย็น
๓๓๙. การทิ้งใบปลิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ นิยมใช้วิธีใด
ก. วิทยุ ข. โทรทัศน์
ค. เครื่องบิน ง. บอลลูน และปืนใหญ่


๓๔๐. ชาติใดที่ได้ชื่อว่า “ มนุษย์วิเศษ ” เกี่ยวกับการปฏิบัติการจิตวิทยาซึ่งทำลายขวัญข้าศึกของประชาชนที่ ด้อยกว่า
ก. เยอรมัน ข. โปแลนด์
ค. สหรัฐอเมริกา ง. เวียดนาม
๓๔๑. ใครคือนักคิดทางยุทธศาสตร์สงครามกองโจรที่สำคัญ
ก. เคลาส์ เชวิท ข. ซุนวู
ค. เหมาเจ๋อตุง ง. ขงเบ้ง
๓๔๒. ความหมายของการปฏิบัติการจิตวิทยา คือ
ก. กำหนดเป้าหมายหรือกลุ่มเป้าหมาย
ข. เป้าหมายเปลี่ยนแปลงท่าทีและพฤติกรรม
ค. กระทำเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของชาติหรือหน่วยทหาร
ง. ถูกทุกข้อ
๓๔๓. การปฏิบัติการจิตวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของงานใด
ก. การรักษาความมั่นคงภายใน ข. การพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง
ค. ด้านกิจการพลเรือนทางทหาร ง. การปฏิบัติการยุทธ์
๓๔๔. การเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน เป็นวัตถุประสงค์หลักของเรื่องใด
ก. การรักษาความมั่นคงภายใน ข. การรักษาผลประโยชน์ของชาติ
ค. การพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง ง. การประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
๓๔๕. การยุยงให้เกิดการเอาใจออกห่าง ทำให้เกิดความแตกแยกของฝ่ายตรงข้าม
อยู่ในวัตถุประสงค์ข้อใด
ก. วัตถุประสงค์ทางสร้างเสริม ข. วัตถุประสงค์ทางทำลาย
ค. วัตถุประสงค์การโฆษณาชวนเชื่อ ง. วัตถุประสงค์เชิงรับ – เชิงรุก
๓๔๖. การใช้การโฆษณาชวนเชื่อและกิจกรรมต่างๆ เข้าดำเนินการจัดอยู่ในข้อใด
ก. วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการจิตวิทยา
ข. ความสำคัญของการปฏิบัติการจิตวิทยา ค. คุณลักษณะของการปฏิบัติการจิตวิทยา
ง. หัวใจของความสำเร็จในการปฏิบัติการจิตวิทยา
๓๔๗. ข้อใดคือหัวใจของความสำเร็จในการปฏิบัติการจิตวิทยา
ก. การข่าวกรองที่มีรายละเอียดและทันสมัย ข. การใช้ข้อมูลของทุกระดับหน่วย
ค. การวางแผนที่เหมาะสมกับเวลา ง. ถูกทุกข้อ


๓๔๘. การปฏิบัติการจิตวิทยาดดยมุ่งหวังระยะสั้นต้องการให้ทหารฝ่ายตรงข้ามวางอาวุธและมอบตัวเป็นลักษณะการ ปจว. ประเภทใด
ก. การ ปจว.ทางยุทธศาสตร์ ข. การ ปจว.ทางยุทธวิธี
ค. การ ปจว. ในการเสริมความมั่นคง ง. การ ปจว. ในดินแดนฝ่ายตรงข้าม
๓๔๘. การปฏิบัติการจิตวิทยาในการเสริมความมั่นคง เป็นการปฏิบัติการในยุทธบริเวณใด
ก. ฝ่ายเราเข้าไปยึดครองหรือปลดปล่อย ข. เขตพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง
ค. บริเวณพื้นที่ชายแดน ง. พื้นที่เตรียมพร้อม
๓๕๐. การปฎิบัติการจิตวิทยานั้น แบ่งการดำเนินงานโดยทั่วไปออกเป็น ๒ ประเภทคือ
ก. ลับ และปกปิด ข. ลับมาก และลับมากที่สุด
ก. เปิดเผย และปกปิด ง. เปิดเผย และ ลับ
๓๕๑. คณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ ( กจว. ) เป็นคณะกรรมการหนึ่งของ สมช.
มีใครเป็นประธาน
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รองนายกรัฐมนตรี
ค. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ง. ผู้บัญชาการทหารบก
๓๕๒. คณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาทางทหาร ประกอบด้วยระดับใด
ก. ระดับกระทรวงกลาโหม ข. ระดับกองบัญชาการทหารสูงสุด
ค. ระดับเหล่าทัพ ง. ถูกทุกข้อ
๓๕๓. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ มีศูนย์สงครามพิเศษเป็นหน่วยส่วนการศึกษาเกี่ยวกับสงครามพิเศษ มีหน่วยใดเป็นหน่วยปฏิบัติ
ก. กองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา ข. กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา
ค. การปฏิบัติการจิตวิทยา ง. กองสงครามพิเศษ
๓๕๔. กองทัพภาคมีกองกิจการพลเรือนทำหน้าที่ป่วยอำนวยการมีหน่วยใดเป็นหน่วยดำเนินการจิตวิทยา
ก. กองร้อยผลิตสิ่งโฆษณา
ข. กองร้อยรณรงค์ด้านการปฏิบัติการจิตวิทยา
ค. กองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา
ง. กองร้อยสื่อและโฆษณา
๓๕๕. การปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อสนับสนุนการทำสงครามนอกแบบและเพื่อสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบเป็นวัตถุประสงค์ของ
ก. สงครามตามแบบ ข. สงครามการเมือง
ค. สงครามยุทธศาสตร์ ง. สงครามพิเศษ
๓๕๖. การปฏิบัติการจิตวิทยา สงครามนอกแบบ การปฏิบัติมุ่งไปสู่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อชักจูงโน้มน้าวจิตใจให้มาเป็นฝ่ายเราหรือให้เข้าร่วมขบวนการต่อต้านฝ่ายตรงข้ามกระทำในลักษณะปกปิดผู้ปฏิบัติหลักได้แก่
ก. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ข. เจ้าหน้าที่ของหน่วยรบพิเศษ
ค. ขบวนการต่อต้านในท้องถิ่น ง. ข้อ ข. และข้อ ค. ถูก
๓๕๗. การปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อสนับสนุนการดำเนินทำสงครามกองโจรและสนับสนุนในการปลดปล่อยทำลายเป็นหลัก ได้แก่
ก. การปฏิบัติการจิตวิทยาในสงครามนอกแบบ
ข. การปฏิบัติการจิตวิทยาทางยุทธศาสตร์
ค. การปฏิบัติการจิตวิทยาทางยุทธวิธี
ง. การปฏิบัติการจิตวิทยาในการเสริมความมั่นคง
๓๕๘. การปฏิบัติจิตวิทยาที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับ
ก. ข่าวกรองที่มีรายละเอียด ข. มีความถูต้องและทันเวลา
ค. ใช้ได้ทุกระดับหน่วย ง. ถูกทุกข้อ
๓๕๙. ข่าวกรองในการปฏิบัติการจิตวิทยา มุ่งเน้นเป้าหมายทางด้านใด
ก. สงครามจิตวิทยา ข. ทางจิตวิทยาเป็นหลัก
ค. การปฏิบัติเป็นหลัก ง. ทางกิจกรรมจิตวิทยา
๓๖๐. คณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยา ประกอบด้วยข้าราชการจากส่วนต่างๆ จำนวนเท่าใด
ก. ๒๒ คน ข. ๒๓ คน
ค. ๒๔ คน ง. ๒๕ คน
Google