วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การฝึกบุคคลท่ามือเปล่า

ท่าพัก
ท่าพักตามปกติ
๑. คำบอก “พัก” (คำบอกรวด)
๒. การปฏิบัติ ท่านี้มีตอนเดียว แต่ให้ปฏิบัติไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
ในขั้นแรกเมื่อได้ยินคำบอก “พัก” ให้หย่อนเข่าขวาลงเล็กน้อย โดยพยายามไม่ให้ส่วนอื่นๆ
ของร่างกายมีการไหวติงไปด้วยอย่างกระทันหัน
สำหรับในขั้นต่อไปนั้น ท่านี้อนุญาตให้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายและเปลี่ยนเข่าพัก
ได้ตามสมควรและเท่าที่จำเป็น
ท่านี้ห้ามขยับเขยื้อนหรือเปลี่ยนที่ยืนของเท้าทั้งสองข้าง และห้ามพูดคุยกันโดยเด็ดขาด
เมื่อได้ยินคำบอก “แถว –“ ให้ยืดตัวขึ้นพร้อมกับสูดลมหายใจเข้าปอดจนเต็มที่ และจัด
ทุกส่วนของร่างกายให้อยู่ในลักษณะของท่าตรง เว้นเข่าขวายังหย่อนอยู่เล็กน้อย
เมื่อได้ยินคำบอก “ตรง” ให้กระตุกเข่าขวากลับไปอยู่ในลักษณะของท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง

....................................................................
หัวข้อการฝึกบุคคลท่ามือเปล่า
ท่าตรง
๑. คำบอก “แถว - ตรง” (คำบอกแบ่ง)
๒. การปฏิบัติ ท่านี้มีจังหวะเดียว
ลักษณะของท่าตรงมีดังนี้คือ จะต้องยืนให้ส้นเท้าทั้งสองชิดและอยู่ในแนวเดียวกัน
ปลายเท้าทั้งสองแยกออกไปทางข้างจนปลายเท้าห่างกันประมาณ ๑ คืบ หรือให้ความยาวของเท้าเฉียง
เป็นมุมประมาณ ๔๕ องศา เข่าทั้งสองตึงและบีบเข้าหากัน แขนทั้งสองข้างห้อยอยู่ข้างลำตัวและพลิก
ข้อศอกไปทางข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ทั้งสองข้างตึงและเสมอกัน นิ้วมือทั้งห้าเหยียดตรงและให้เรียงชิด
ติดกัน ฝ่ามือแบนราบและให้เอานิ้วกลางแตะไว้ที่กึ่งกลางขาท่อนบนประมาณแนวตะเข็บกางเกง เปิด
ฝ่ามือออกทางด้านนิ้วก้อยเล็กน้อย ลำคอตั้งตรงไม่ยื่นคาง สายตามองตรงไปทางข้างหน้าในแนวระดับ
วางน้ำหนักตัวให้อยู่บนเท้าทั้งสองข้างเท่าๆ กันและนิ่ง
เมื่อได้ยินคำบอก “แถว –“ จะต้องจัดส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ยืนอยู่ในลักษณะท่าตรง
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ยกเว้นเข่าขวาหย่อนเล็กน้อย พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าปอดให้เต็มที่ และยกอก
ให้ผึ่งผาย
เมื่อได้ยินคำบอก “ตรง” ให้กระตุกเข่าขวาเข้ามาอย่างรวดเร็วและแข็งแรงจนตึง
ในลักษณะที่ให้บีบเข่าทั้งสองเข้าหากันแล้วนิ่ง
ท่าตรงเป็นท่าพื้นฐานของทุกท่า ก่อนจะปฏิบัติท่าใดก็ตามจะต้องเริ่มต้นจากท่าตรงเสมอ และใช้เป็นท่าแสดงการเคารพได้ท่าหนึ่ง



..................................................................
ท่าพักตามระเบียบ
๑. คำบอก “ตามระเบียบ, พัก” (คำบอกเป็นคำๆ)
๒. การปฏิบัติ ท่านี้มีตอนเดียว แต่ให้ปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
เมื่อได้ยินคำบอก “ตามระเบียบ, พัก” ให้แยกเท้าซ้ายออกไปทางด้านซ้ายประมาณ
๓๐ ซม. หรือประมาณครึ่งก้าวอย่างแข็งแรงและผึ่งผาย โดยให้เท้าทั้งสองข้างอยู่ระดับหัวไปไหล่
ในขณะเดียวกันให้นำมือทั้งสองข้างไปจับกันไว้ทางด้านหลังในลักษณะหันหลังมือทั้งสองข้างเข้าหา
ลำตัว ใช้มือซ้ายจับมือขวาโดยให้มือขวาอยู่ทางด้านนอก วางนิ้วหัวแม่มือขวาให้ทับและจับนิ้วหัวแม่มือ
ซ้ายไว้ นิ้วมือทั้งสี่ (เว้นนิ้วหัวแม่มือ) ของมือขวาเหยียดตึงและเรียงชิดติดกัน โดยให้เฉียงลงไปทาง
เบื้องล่างทางซ้าย วางหลังมือซ้ายแตะไว้ตรงก้นกบประมาณใต้แนวเข็มขัดและแบะข้อศอกทั้งสองข้าง
ไปข้างหน้าเล็กน้อยแต่พอสบาย ลักษณะของการยืนจะต้องให้ขาทั้งสองข้างตึง น้ำหนักตัวอยู่บนเท้า
ทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ยกอกให้สง่าผ่าเผย จัดไหล่ทั้งสองข้างให้เสมอกัน ลำคอตั้งตรง สายตามองตรง
ไปข้างหน้าในแนวระดับและนิ่ง
เมื่อได้ยินคำบอกต่อไปว่า “แถว –“ ให้กดเท้าทั้งสองข้างพร้อมที่จะตรง
เมื่อได้ยินคำบอกต่อไปว่า “ตรง” ให้ชักเท้าซ้ายกลับมาชิดกับเท้าขวาในลักษณะที่
ให้ส้นเท้าทั้งสองชิดและอยู่ในแนวเดียวกัน ปลายเท้าทั้งสองแยกออกไปทางข้างห่างกันประมาณ ๑ คืบ
พร้อมกันนั้นให้ลดมือทั้งสองข้างลงมาอยู่ในลักษณะของท่าตรงอย่างแข็งแรงแล้วนิ่ง
.....................................................
ท่าหันอยู่กับที่
ท่าขวาหัน
๑. คำบอก “ขวา – หัน” (คำบอกแบ่ง)
๒. การปฏิบัติ ท่านี้แบ่งออกเป็นสองจังหวะดังต่อไปนี้ คือ
จังหวะหนึ่ง เมื่อได้ยินคำบอก “ขวา – หัน” ให้เปิดปลายเท้าขวาให้สูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย
โดยพยายามกดส้นเท้าให้ตรึงอยู่กับที่ แล้วหมุนตัวไปทางขวาจนได้ ๙๐ องศา ด้วยการใช้ส้นเท้าขวา
เป็นจุดหมุน ในขณะเดียวกันนั้นให้ใช้ปลายเท้าซ้ายกดแน่นไว้กับพื้นเพื่อช่วยให้มีการทรงตัวที่ดีในระหว่าง
หมุนตัว แล้วเปิดส้นเท้าหมุนตามไปด้วย โดยพยายามกดปลายเท้าไว้ ณ ที่เดิมในลักษณะให้ขาเหยียดตึง
ในขณะที่หมุนตัวไปนั้นจะต้องพยายามรักษาทรวดทรงของลำตัว และการวางมือทั้งสองให้อยู่ในลักษณะ
ของท่าตรงตลอดเวลาด้วย เมื่อหมุนตัวไปได้ที่แล้วจะต้องอยู่ในท่ายืนที่วางน้ำหนักตัวทั้งหมดไว้บนเท้าขวา
ขาซ้ายเหยียดตึงไปทางด้านหลังทางซ้ายส้นเท้าเปิดและบิดออกไปทางด้านนอกของลำตัว
จังหวะสอง ชักเท้าซ้ายมาชิดกับเท้าขวา เพื่อยืนในลักษณะของท่าตรงอย่างรวดเร็ว
และแข็งแรง
..............................................................
Google