วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

วินัยทหาร และการลงทัณฑ์

มาตรา ๔ วินัยทหารนั้นคือ การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหารมาตรา ๕ วินัยเป็นหลักสำคัญที่สุดสำหรับทหาร เพราะฉะนั้นทหารทุกคนจักต้องรักษา โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนท่านให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหาร มีดังต่อไปนี้
๑.) ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เหนือตน
๒.) ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย
๓.) ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทหาร
๔.) ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร
๕.) เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ
๖.) กล่าวคำเท็จ
๗.) ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร
๘.) ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำความผิดตามโทษานุโทษ
๙.) เสพเครื่องดองของเมาจนเสียกิริยา
มาตรา ๖ ผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่จัดการระวังรักษาวินัยทหารที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่นั้น โดยการกวดขัน ถ้าหากว่าในการรักษาวินัยทหารนั้น จำเป็นต้องใช้อาวุธ เพื่อทำการปราบปรามทหารผู้ก่อการกำเริบก็ดี หรือเพื่อบังคับทหารผู้ละทิ้งหน้าที่ให้กลับทำหน้าที่ของตนก็ดี ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่ช่วยเหลือในการนั้นจะไม่ต้องรับโทษ ในการที่ตนได้กระทำไป โดยความจำเป็นนั้นเลย แต่เมื่อมีเหตุดั่งกล่าวนี้ ผู้บังคับบัญชา จักต้องรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตน และรายงานต่อไปตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมโดยเร็ว มาตรา ๗ ทหารใดกระทำผิดต่อวินัยทหารจักต้องรับทัณฑ์ตามวิธีที่ปรากฎในหมวด อำนาจลงทัณฑ์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และอาจต้องถูกปลดจากประจำการ หรือถูกถอดจากยศทหาร

อำนาจการลงทัณฑ์

มาตรา ๘ ทัณฑ์ที่จะลงโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดต่อวินัยทหาร นั้น ให้มีกำหนดเป็น ๕ สถาน คือ
๑.) ภาคทัณฑ์
๒.) ทัณฑกรรม
๓.) กัก
๔.) ขัง
๕.) จำขัง
มาตรา ๙ ภาคทัณฑ์ คือ ผู้กระทำผิดมีความผิดอันควรต้องรับทัณฑ์สถานหนึ่งสถานใดดั่งกล่าวมาแล้ว แต่มีเหตุอันควรปรานี จึงเป็นแต่แสดงความผิดของผู้นั้นให้ปรากฎหรือให้ทำทัณฑ์บนไว้ ทัณฑกรรมนั้นให้กระทำการสุขา การโยธา ฯลฯ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจำ กัก คือ กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนด ขัง คือ ขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือรวมกันหลายคน แล้วแต่จะได้มีคำสั่ง จำขัง คือ ขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมของเรือนจำทหารนอกจากทัณฑ์ที่กล่าวไว้นี้ ห้ามมิให้คิดขึ้นใหม่ หรือใช้วิธีลงทัณฑ์อย่างอื่นเป็นอันขาด
มาตรา ๑๐ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาซึ่งลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดได้นั้น คือ
(๑) ผู้บังคับบัญชา หรือ
(๒) ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้บังคับบัญชาตามที่กระทรวงกลาโหม ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพ-อากาศกำหนด
Google